ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

แถลงการณ์เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ถึงนายกรัฐมนตรี ขอบคุณให้ความใส่ใจทุกข์สุขประชาชน เสนอ 3 มาตรการเพิ่มเติม ห้าม รพ.เอกชนเรียกเก็บเงินผู้ป่วยกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินใน 72 ชั่วโมง ไม่ให้ผู้ป่วย/ญาติ ต้องมาเซ็นรับสภาพหนี้ หากหาเตียงใน รพ.ตามสิทธิรับกลับไม่ได้ 3 กองทุนต้นสังกัดต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ผลักดันกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหาย ใช้ ม.44 ยุบบอร์ดแพทยสภา แล้วเลือกคนกลางที่ไม่มีผลประโยชน์มาแทน เร่งยกระดับ รพ.รัฐ เพิ่มค่าตอบแทนบุคลกรการแพทย์ใน รพ.รัฐ แก้ไข พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม ให้คนนอกเป็นกรรมการ 50 : 50

นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2558 เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ นำโดย นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายฯ มีแถลงการณ์ ถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เสนอ 3 มาตรการคุมค่ารักษา รพ.เอกชน ดังนี้

มาตรการระยะสั้น ภายใน 1 เดือน กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน

1. กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมง ห้าม รพ.เอกชนเรียกเก็บค่ามัดจำ หรือให้คนไข้หรือญาติเซ็นรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล

2. กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินเมื่อพ้น 72 ชั่วโมง ให้ รพ.เอกชนส่งตัวคนไข้ไป รพ.ตามสิทธิ โดยห้ามให้คนไข้หรือญาติสำรองจ่าย หรือเซ็นรับสภาพหนี้

3. ในกรณีที่ รพ.ตามสิทธิเตียงเต็ม ให้หน่วยงานต้นสังกัด 3 กองทุนคือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สำนักงานประกันสังคม และกรมบัญชีกลาง ดำเนินการหาเตียงให้กับคนไข้ หากหาเตียงไม่ได้จำเป็นต้องอยู่ รพ.เอกชนต่อไป ให้ทั้ง 3 กองทุนรับผิดชอบค่าใช้จ่าย  

4. ให้มีบทลงโทษหากมีการไม่ปฏิบัติตามข้อ 1 และ 2

5. ให้ประกาศรูปแบบใบยินยอมให้รักษา ของทุกโรงพยาบาลให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งประเทศ ให้แยกใบยินยอมให้รักษา กับใบรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ออกจากกัน

มาตรการระยะกลาง

1. ให้ใช้ ม.44 ยุบบอร์ดแพทยสภาที่มาจากการเลือกตั้งชุดปัจจุบัน แล้วเลือกคนกลางที่ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเข้าไปเป็นกรรมการ โดยคงคณะกรรมการโดยตำแหน่งเอาไว้

2. ให้ปกป้องสวัสดิภาพของบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน ด้วยการผลักดันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ให้มีผลบังคับใช้ในเร็ววัน เพื่อลดปัญหาการฟ้องร้องระหว่างหมอกับคนไข้

มาตรการระยะยาว

1. ให้เร่งยกระดับมาตรฐาน รพ.รัฐบาล ให้มีเตียงและอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างเพียงพอ

2. เพิ่มความมั่นคงให้กับบุคลากรทางการแพทย์ รพ.รัฐบาล ทั้งค่าตอบแทนและการให้ทุนเรียนต่อเฉพาะทางอย่างเพียงพอ เพื่อรักษาบุคลากรเอาไว้ในระบบ

3. ให้แก้ไข พ.รบ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ให้คนนอกเข้าไปเป็นกรรมการแพทยสภาใน สัดส่วน 50 : 50 เพื่อความเป็นธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้และเป็นธรรมต่อประชาชน

ทั้งนี้ รายละเอียดทั้งหมดของแถลงการณ์มีดังนี้

“17 พฤษภาคม 2558 แถลงการณ์ เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์

กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี สืบเนื่องจากเครือข่ายฯ ได้ยื่น 3.3 หมื่นชื่อของประชาชนที่สนับสนุนให้ตั้ง “คณะกรรมการควบคุมราคา รพ.เอกชน” ต่อท่านโดยผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ไปเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2558 ที่ผ่านมา เครือข่ายฯ ขอขอบพระคุณที่ท่านได้ให้ความสำคัญและใส่ใจทุกข์สุขของประชาชน ด้วยการสั่งการไปยังทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งแก้ไขปัญหา จนนำไปสู่การออก 3 มาตรการ ระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ของกระทรวงสาธารณสุขแล้วนั้น

จาก 3 มาตรการดังกล่าว เครือข่ายฯ ขอเสนอเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

มาตรการระยะสั้น ภายใน 1 เดือน กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน

1. กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมง ห้าม รพ.เอกชนเรียกเก็บค่ามัดจำ หรือให้คนไข้หรือญาติเซ็นรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล

2. กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินเมื่อพ้น 72 ชั่วโมง ให้ รพ.เอกชนส่งตัวคนไข้ไป รพ.ตามสิทธิ โดยห้ามให้คนไข้หรือญาติสำรองจ่าย หรือเซ็นรับสภาพหนี้

3. ในกรณีที่ รพ.ตามสิทธิเตียงเต็ม ให้หน่วยงานต้นสังกัด 3 กองทุนคือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สำนักงานประกันสังคม และกรมบัญชีกลาง ดำเนินการหาเตียงให้กับคนไข้ หากหาเตียงไม่ได้จำเป็นต้องอยู่ รพ.เอกชนต่อไป ให้ทั้ง 3 กองทุนรับผิดชอบค่าใช้จ่าย  

4. ให้มีบทลงโทษหากมีการไม่ปฏิบัติตามข้อ 1 และ 2

5. ให้ประกาศรูปแบบใบยินยอมให้รักษา ของทุกโรงพยาบาลให้เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งประเทศ ให้แยกใบยินยอมให้รักษา กับใบรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ออกจากกัน

มาตรการระยะกลาง

1. ให้ใช้ ม.44 ยุบบอร์ดแพทยสภาที่มาจากการเลือกตั้งชุดปัจจุบัน แล้วเลือกคนกลางที่ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนเข้าไปเป็นกรรมการ โดยคงคณะกรรมการโดยตำแหน่งเอาไว้

2. ให้ปกป้องสวัสดิภาพของบุคลากรทางการแพทย์และประชาชน ด้วยการผลักดันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ให้มีผลบังคับใช้ในเร็ววัน เพื่อลดปัญหาการฟ้องร้องระหว่างหมอกับคนไข้

มาตรการระยะยาว

1. ให้เร่งยกระดับมาตรฐาน รพ.รัฐบาล ให้มีเตียงและอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างเพียงพอ

2. เพิ่มความมั่นคงให้กับบุคลากรทางการแพทย์ รพ.รัฐบาล ทั้งค่าตอบแทนและการให้ทุนเรียนต่อเฉพาะทางอย่างเพียงพอ เพื่อรักษาบุคลากรเอาไว้ในระบบ

3. ให้แก้ไข พ.รบ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 ให้คนนอกเข้าไปเป็นกรรมการแพทยสภาใน สัดส่วน 50 : 50 เพื่อความเป็นธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้และเป็นธรรมต่อประชาชน

ขอท่านได้โปรดพิจารณา นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์”