ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

ภายหลังจากที่ นางสาวเอราวัณ กันนุฬา อายุ 23 ปี บ้านเลขที่ 99 หมู่ที่ 9 ตำบลหนอง ขวาว อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ได้นำลูกสาว คือเด็กหญิงกัญญาวีร์ อายุ 6 ปี เข้ารักษาตัวซึ่งป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ที่อาคาร 10 ตึกกุมารเวช ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2555 จนมา ถึงวันที่ 1 มกราคม 2556 เด็กต้องเสียชีวิตลงบนเตียง จนมีเสียงสะท้อนออกมาจากผู้ที่มาใช้บริการของโรงพยาบาลชั้นนำของจังหวัดสุรินทร์ ว่าเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ควรจะเกิด จนล่าสุด ผู้ปกครองได้ติดต่อทนายความเพื่อที่จะหาแนวทางในการฟ้องร้องกับเจ้าหน้าที่ของ โรงพยาบาล ที่ทำให้ลูกสาวของตนเองเสียชีวิตลง โดยไม่ยอมบอกสาเหตุและปล่อยปละละเลยจนกระทั่งเด็กได้นอนเสียชีวิตบนเตียงดังนั้นปัญหาดังกล่าว

จึงได้มีการนำเรื่องของ "สิทธิผู้ป่วยกับการคุ้มครองทางกฎหมาย" มาพูดคุยกันในวันนี้ในอดีต แพทย์ และบุคลากรสาธารณสุขจำนวนมากพึงพอใจ กับขบวนการเยียวยาตามมาตรา 41 ที่ให้กับผู้ป่วยที่ใช้บัตรทอง เพราะหลังจากที่มาตรา 41 ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพประกาศใช้มากว่า 6 ปี แพทย์ที่ทำการรักษาคนไข้บัตรทอง สามารถวางใจได้ว่า หากเกิดความผิดพลาดเสียหาย คนป่วยจะได้รับการชดเชยเยียวยาอย่าง ทันท่วงที ในขณะที่ตัวแพทย์และบุคลากรการแพทย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ใน ขบวนการหาคนผิดมาลงโทษ หรือเสี่ยงต่อการถูกสอบสวนดำเนินคดี แต่ที่ผ่านมาเป็นเฉพาะกรณีผู้ป่วยที่ใช้บัตรทองเท่านั้น หากเป็นผู้ป่วยที่ อยู่นอกระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยังไม่มีกลไกเยียวยาใดๆ อย่างเป็นระบบแต่กฎหมายฉบับนี้จะ ทำให้มีผู้ฉวยโอกาสมาขอเงินชดเชยเยียวยามากมาย ขณะที่สถานบริการสาธารณสุขต้องหาเงินมาเข้ากองทุน เพราะความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้คือผู้เสียหายต้องเอาชีวิตของ ตนเอง ความพิการและการเป็นโรคที่ไม่ต้องมาแลกกับเงินชดเชย

การฉวยโอกาสนั้นเป็นไปไม่ได้แม้ประสบการณ์ในต่างประเทศที่มีการนำ No Fauit Liability iaw มาใช้จะพบว่า มีผู้มาขอรับการเยียวยาชดใช้จริง แต่ก็เป็นกรณีที่มีความเสียหายจริงๆ การชดเชย เยียวยาจึงเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ต่อผู้เสียหายโดยไม่ต้องไปฟ้องร้องเอาที่ศาล ไม่สร้างความร้าวฉานในความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ส่วนประสบการณ์ของโรงพยาบาลเองการใช้มาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกัน สุขภาพ พบว่า มีผู้ที่ได้รับเยียวยาชดเชยเพียงไม่กี่พันคน และกองทุนนี้นอกจากจะไม่ล้มละลายแล้วยังมีเงินเหลือสะสมมากกว่าที่คาดเอาไว้อีก

ดังนั้น ผู้ป่วยที่เกิดความเสียหายจากการรับบริการทางการแพทย์ ส่วนใหญ่จะไม่ต้องฟ้องแพทย์หากมีกระบวนการเยียวยาที่ น่าพึงพอใจ กรณีตัวอย่างที่เห็นได้ขัดว่ากระบวนการเยียวยาชดเชยต่อความเสียหายในการรับบริการทางการแพทย์ สร้างความพึงพอใจให้แก่ ผู้เสียหาย คือ เหตุการณ์ที่ผู้เข้ารับการรักษาโรคไข้เลือดออกที่ผ่านมา ที่บุคลากรทางการแพทย์ไม่ดูแลเท่าที่ควรจนกระทั่งปล่อยให้เด็กเสียชีวิตบนเตียงคนไข้ จนทำให้ผู้เสียหายคิดจะฟ้องร้องแพทย์และโรงพยาบาลตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องและท้ายที่สุดก็ยังคงรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อแพทย์และโรงพยาบาลที่เข้าทำการรักษา

นางธิดา จันทิมาธร อนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์เผยว่า กฎหมายนี้กำหนดให้มีกองทุนขึ้นมา ดูแลแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะทำให้กองทุนนี้สร้างความเป็นธรรมในสังคมให้มากขึ้น เพราะอุบัติการณ์ความผิดพลาดทางการแพทย์เป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ว่า เกิดขึ้นได้แม้แพทย์จะพยายามรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถก็ตามและ เมื่อเกิดความเสียหายได้รับการเยียวยาทุกคนก็ได้รับการเยียวยา ด้วยการ ชดเชยเพราะกองทุนนี้จะดูแลประชาชนทั้ง 65 ล้านคนทั่วประเทศ แต่หากไม่มีกองทุนจากกฎหมายนี้ จะมีคนกว่าอีก 20 ล้านคน ไม่ได้รับการดูแลเพราะไม่ได้อยู่ในระบบบัตรทอง ส่วนงบประมาณของกองทุนได้มานั้นมาจากกองทุนในมาตรา 41 และเงินสมทบจากสถานพยาบาลเอกชนเป็นเบี้ยสมทบเป็นหลักการเดียวกับการประกันความเสี่ยงดีกว่าการจ่าย ความเสียหายเป็นรายกรณีไป ส่วนโรงพยาบาลของรัฐ กองทุนจะขอเงินสมทบต่อปี ซึ่งปีนี้ทางรัฐบาลได้จัดสรรเงินงบประมาณลงมาในปี 2556 ให้กับโรงพยาบาลทุกแห่งจำนวน 98,200 ล้านบาท เลยทีเดียว

ส่วนข้อวิตกกังวลว่า คนไข้จะได้เงินสองต่อโดยไม่ต้องพิสูจน์ว่าเกิดจากความเสียหายทางการแพทย์หรือเนื่องจากว่าโรค ที่เป็นอยู่ นั้น คงไม่จริงเพราะคนไข้ที่จะได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นนั้น ต้องเป็นคนไข้ที่ได้รับความเสียหายจากการบริการทางการแพทย์เท่านั้น การช่วยเหลือเบื้องต้นเป็นไปเพื่อการบรรเทาความเดือดร้อนและลดความขัดแย้งโดยเร็ว ที่อาจนำไปสู่การฟ้องร้องซึ่งการชดเชยเพิ่มเติมจะมีได้ก็ต่อเมื่อมีการพิจารณาถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น

ส่วน หมอที่ทำงานหนักเพื่อรักษาประชาชน จะไม่ได้รับความเป็นธรรมจากกฎหมายนี้ คงจะไม่จริงตามข้อวิตกเพราะ พ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ไม่มีการหาคนผิดหรือการกล่าวโทษ แต่เป็น กฎหมายที่ยมรับว่าความผิดพลาดทางการบริการทางการแพทย์เกิดขึ้น ได้โดยไม่มีเจตนาแต่เมื่อมีความผิดพลาดก็ควรมีการเยียวยาต่อผู้เสียหาย โดยให้รัฐ กับสถานพยาบาลมาช่วยกันเฉลี่ยความรับผิดชอบต่อ ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อไหร่ ก็ได้แพทย์หรือบุคลากรที่ทำการรักษาไม่ต้องรับผิดกับความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือต่อวิชาชีพจึงสามารถดูแลคนอื่นได้อีกต่อๆ ไปอย่างเต็มความสามารถโดยไม่ต้องกังวลกับการฟ้องร้องหรือกรณีหาเงินมาชดเชยกับผู้เสียหายที่สำคัญ คือมาตรา 45 มีการกำหนดให้อำนาจศาลพิจารณาละเว้นโทษให้แก่แพทย์หรือบุคลากรการแพทย์ หากมีการนำเรื่องไปฟ้องอาญาซึ่งการละเว้นโทษขนาดนี้ไม่ค่อยมีปรากฏในกฎหมายอื่นๆ ซึ่งถือว่าเป็นการปกป้องและให้ประโยชน์แก่แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ ที่ทำงานเพื่อการผลักดันพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ นี้นั้น ต้องยอมรับความจริง ว่าที่ผ่านมานั้น ล้มเหลวในระบบการให้ความเป็นธรรมในการให้บริการสาธารณสุข

ไม่ว่าจะเป็นการฟ้องร้องคดีตามกฎหมายแพ่ง หรือการใช้พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่พ.ศ.2539 ผู้เสียหายต้องประสบกับอุปสรรคมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิสูจน์ความผิดพลาดในการบริการสาธารณสุขทำให้คดีที่ผู้ร้องความเสียหายในศาลแทบไม่เคยได้รับความเป็นธรรมเลย ถึงแม้ปัจจุบันจะมีพ.ร.บ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2550 ช่วยให้การฟ้องร้องคดีได้ง่ายขึ้น เช่น ไม่ต้องใช้ทนาย ไม่ต้องจ่ายค่าวางศาล ผู้เสียหายไม่ต้องพิสูจน์ตัวเอง แต่ก็มีผลต่อความสัมพันธ์แพทย์กับผู้ป่วย หากผู้เสียหายได้รับการเยียวยา จะทำให้การฟ้องร้องลดน้อยลง

พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการ หรือมาตรา 41 ที่ผู้เสียหายที่ได้รับการเยียวยาจากพ.ร.บ.ดังกล่าว ที่ต่างคนต่างที่ อยากจะได้สิทธิของตนเองที่ควรจะได้รับจากการบริการของบุคลากร ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลนั้นๆ แต่หากว่าวงการแพทย์ก็ต้องมา เผชิญหน้ากับปัญหาการฟ้องร้องที่สร้างความทุกข์ต่อผู้ปฏิบัติงานแล้วยังมีการเรียกร้องมูลค่าเงินชดเชยที่สูงขึ้นแต่หากการปฏิบัติงานของพยาบาลหรือแพทย์มีการเอาใจใส่ ตลอดจนการดูแลคนไข้ดั่งญาติของตนเองแล้วจะไปกลัวอะไรกับการฟ้องร้อง เพราะที่ผ่านมาถือว่าไม่ใช่การฟ้องร้องต่อศาลแต่เป็นการฟ้องให้สาธารณชนได้รับรู้ว่า การบริการของโรงพยาบาลคงจะต้องมีการเข้มงวดในด้านการบริการ ให้ดีกว่านี้ และต้องไม่ปล่อยปละละเลยจนถึงขนาดให้คนไข้นอนตายบนเตียงเพราะความรู้สึกและเจ็บปวดของญาติผู้ที่เสียชีวิตต้องมา มีความกังวลกับแพทย์ พยาบาลกับการฟ้องร้อง และเรียกร้องค่าเสียหาย เพราะจำนวนประชากรของประเทศไทยจำนวน 61 ล้านคน ไม่มีผู้ป่วย คนไหนที่อยากจะได้สิทธิตรงนี้แต่อยากจะได้สิทธิที่ต้องให้แพทย์พยาบาล ได้เข้ารับการดูแลรักษาคนไข้ให้ดีเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว

ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ 10 มกราคม 2556

เรื่องที่เกี่ยวข้อง