ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

น.พ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ปรึกษาโครงการอาหารปลอดภัยปลอดโรคในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก กล่าวว่า โรคอาหารเป็นพิษของ จ.นนทบุรี ระหว่าง 1 ม.ค.-30 มิ.ย.56 มียอดผู้ป่วยสะสมรวม 964 ราย กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ 0-4 ปี และ 5-9 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 55-64 ปี, 10-14 ปี, 15-24 ปี, 25-34 ปี, 65 ปีขึ้นไป, 35-44 ปี และ 45-54 ปี ตามลำดับ ถึงแม้จะพบว่ากลุ่มเด็กเล็กเป็นกลุ่มที่มีปัญหาการเกิดโรคอาหารเป็นพิษสูงมากกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ แต่จากรายงานทางระบาดวิทยากลับไม่พบผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนทั้งในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก แนวโน้มการเกิดโรคอุจจาระร่วงของจังหวัดนนทบุรีปี 56 นี้ มีจำนวนผู้ป่วยน้อยกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา เมื่อได้พิจารณาจากแผนการดำเนินงานอาหารปลอดภัยของจังหวัดนนทบุรีแล้ว พบว่าจุดเด่นของจังหวัดคือการมีแผนงานที่ชัดเจน และมีการทำงานบูรณการร่วมกันอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นรูปแบบการทำงานที่มีผลต่อการช่วยลดปัญหาการเกิดโรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วงได้เป็นอย่างมาก

ด้าน น.พ.ชัยพร สุชาติสุนทร รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี กล่าวว่า จ.นนทบุรี ได้เริ่มโครงการอาหารปลอดภัยปลอดโรคในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก มาตั้งแต่เดือนตรวจสอบเฝ้าระวัง และตรวจประเมินจุดเสี่ยงความไม่ปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนควบคุมจุดวิกฤติ และทำการตรวจประเมินผลการดำเนินงานตามแผนควบคุมจุดวิกฤติและแผนพัฒนาระบบ โดยจะมีทีมที่ปรึกษาที่จะร่วมกันจัดทำเป็นแผนพัฒนาระบบเพื่อกำจัดความเสี่ยง หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการประเมินผลซ้ำอีกครั้ง หากผ่านเกณฑ์ก็จะเอาวิธีของกลุ่มที่ผ่านมาถอดบทเรียนเขียนเป็นแผนหรือสร้างโมเดลเพื่อนำไปใช้กับกลุ่มที่ยังไม่ผ่านหรือกลุ่มใหม่ต่อไป

ในขณะที่ นางจงกลนี วิทยารุ่งเรืองศรี ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย (สสอป.) ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินงานอาหารปลอดภัยปลอดโรคของจังหวัดนนทบุรี ว่า นอกจากการมีแผนงานที่ชัดเจนและมีการทำงานบูรณการร่วมกันอย่างเป็นระบบแล้ว จังหวัดนนทบุรียังมีกลยุทธ์สำคัญคือมีการประเมินจุดมิถุนายน 2556 เพื่อพัฒนาเรื่องของอาหารในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กให้เกิดความปลอดภัยทั้งระบบ ลดการเกิดโรคอาหารเป็นพิษและอุจจาระร่วง โดยมีการทำเป็นปฏิทินกิจกรรมต่างๆ ทั้งการประชุมคณะทำงานอาหารปลอดภัยในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กระดับจังหวัด/อำเภอ การส่งทีมรถโมบายลงพื้นที่เพื่อทำการสุ่มเสี่ยงความไม่ปลอดภัยของอาหาร โดยจะมีการวิเคราะห์ว่าความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของอาหารในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กว่าอยู่ในจุดไหน อยู่ในวัตถุดิบ กระบวนการผลิต หรือผู้สัมผัสอาหาร เมื่อพบปัญหาก็จะมีคณะที่ปรึกษาซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ผู้บริหารโรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก ครูผู้รับผิดชอบ ผู้สัมผัสอาหาร ที่พร้อมให้การสนับสนุน ส่งเสริมการดำเนินงานในทุกๆ ด้านพร้อมทั้งคอยให้คำปรึกษา แนะแนวทางในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาเพื่อกำจัดความเสี่ยง

จากรายงานการตรวจประเมินผลการดำเนินงานโครงการอาหารปลอดภัยปลอดโรคในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของ จ.นนทบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.55-28 มิ.ย.56 พบว่าโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กรวม 18 แห่ง ทั้ง ร.ร.อนุบาล ร.ร.ประถมและ ร.ร.มัธยม มีการบริหารจัดการเพื่อลดโรคอาหารเป็นพิษและอุจจาระร่วงได้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100 การดำเนินงานอาหารปลอดภัยปลอดโรคในศูนย์เด็กเล็กพบว่าทั้ง 5 แห่ง ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100 ส่วนมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารกรมอนามัย พบว่ามี ร.ร.ประถมผ่านเกณฑ์เพียงร้อยละ 50

โดยพบว่าข้อที่โรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ประเมิน ได้แก่ ภาชนะใส่เครื่องปรุงไม่ค่อยสะอาด ถังขยะไม่มีฝาปิด ท่อระบายน้ำสภาพไม่ดีแตกร้าว บ่อดักเศษอาหารและไขมันไม่สะอาดอยู่ในสภาพไม่ดี ผู้ปรุงผู้เสิร์ฟอาหารไม่ได้ตรวจสุขภาพประจำปี และศูนย์เด็กส่วนใหญ่ที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินมีข้อที่พบคือ ไม่มีตารางกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันควบคุมโรคติดต่อสำหรับเด็ก เด็กยังล้างมือด้วยน้ำและสบู่ไม่ถูกต้อง อ่างล้างมือ/สถานที่ล้างมือไม่สะอาด ห้องน้ำ ห้องส้วมใช้รวมกันโดยไม่แยก มีจุดล้างมือไม่เพียงพอกับจำนวนเด็ก

ทั้งนี้ เชื่อว่าการนำ "โครงการอาหารปลอดภัยปลอดโรคในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก" ที่ทาง สสอป.ได้รับมอบหมายจากกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นเจ้าภาพหลักบูรณาการ มาดำเนินงานร่วมกับโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็กใน จ.นนทบุรี ผ่านการขับเคลื่อนโดยทีมสาธารณสุขจังหวัดและภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ จะช่วยส่งผลให้งานด้านอาหารปลอดภัยในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้รับการเติมเต็มและสำเร็จลุล่วงได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง  วันที่ 25 สิงหาคม 2556