ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ประธาน สพศท. ออกมาหนุน รมว. สธ.  เผยตำนาน P4P มีมากว่า 10 ปีผ่าน 3 ปลัดกระทรวงเหน็บโรงพยาบาลชุมชน งานเบาเงินดีมีที่ไหนิ โวยยิ่งใหญ่มาจากไหนประทัวงกดดันด่าผู้บริหารอย่างกับไม่ใช่หมอ

พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปแห่งประเทศไทย. (สพศท.) กล่าวว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่าตอบแทนตามภาระงาน (P4P) นั้นกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการทดลองทำมาร่วมสิบปี โดยการเสนอแนะของกระทรวงการคลัง เพื่อให้ถูกต้องตามระเบียบการเงินและชัดเจนว่ามีภาระงานมากเกินจริงๆ

"เนื่องจาก เมื่อ 3-4 ปีก่อน กลุ่มแพทย์ชนบทได้เรียกร้องขอค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเฉพาะแพทย์ที่อยู่รพ.ชุมชน(ฉ.4)ด้วย อัตรา น่าขนลุก จนพยาบาลและสหวิชาชีพได้มาประท้วงและร้องขอค่าตอบแทนนี้ด้วยเช่นกัน(ฉ.6)ตามมาด้วย)แพทย์ จากรพ.ศูนย์และรพ.ทั่วไปมาเรียกร้องขอความเป็นธรรมเรื่องนี้(ฉ.7) ผลคือ ทุกฝ่ายได้ถูกดูแลแบบซื้อเวลาในช่วงของปลัดกระทรวงในยุคนั้นเพราะท่านกำลังจะเกษียณ  ทิ้งปัญหานี้ให้เกิดการแตกแยกระหว่างแพทย์ในรพ. ต่างขนาดกันและระหว่างวิชาชีพในโรงพยาบาลเดียวกัน

โดยดำเนินมาเรื่อยๆ จนมีคำพูดเหน็บแนมกันว่า งานเบาเงินดีมีที่ไหน  อ๋อ ก็ รพ. ชุมชนไงความกินใจนี้ได้ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาอีกมากมายถึง 3 ปิ พญ.ประชุมพร กล่าวและว่า ในยุคของปลัดกระทรวงท่านถัดมาซึ่งเกือบจะออก ระเบียบP4P มาแล้วแต่ไม่กล้า

จนกระทั่งในยุคท่านปลัดกระทรวงคนปัจจุบันที่กล้าหาญทำให้เกิดมีการจ่ายค่าตอบแทนP4P ขึ้นมาจริง โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลผ่านรัฐมนตรีว่าการนายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ในค่าตอบแทนใหม่นี้ ได้มีการตัดเอาเงินบางส่วนประมาณ 25% รพ.ชุมชนที่อายุงานเกิน 3 ปี มารวมทำเป็นค่าตอบแทนตามภาระงานให้กับวิชาชีพอื่นในโรงพยาบาลตัวเอง

"แต่ท่านแพทย์ชนบทลุกฮือมาประท้วงไม่ยอมด่าประณามรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงสาดเสียเทเสีย  โดยข้อมูลที่ไม่จริงบิดเบือน ป้ายสีแถมพ่วงเรื่องของ สปสช. และองค์การเภสัชกรรม ที่ไม่จริงมาด้วยอีก เรียกว่าใช้วิชามารสารพัดเพื่อดึงเงินค่าตอบแทนที่เหลื่อมล้ำมหาศาลนั้นเข้ากลับกระเป๋าตัวเองคืน  จนไปใช้การเมืองระดับข่มขู่นายกรัฐมนตรีให้ต้องนำเรื่องไปคุยกันที่ทำเนียบให้เห็นว่าเขายิ่งใหญ่แค่ไหน ไม่เห็นหัวรัฐมนตรีด้วยซ้ำ แค่เงินกลุ่มเขาไม่กี่คนต้องดำเนินการโดยเลขานายกรัฐมนตรี"

พญ.ประชุมพร  กล่าวต่อว่าเมื่อครม.มีมติให้ดำเนินการหาทางออกร่วมกันโดยทุกวิชาชีพมาช่วยกันคิด และให้คนนอกกระทรวงคือ ดร.คณิศ   แสงสุพรรณ  ที่ปรึกษาด้านการเงินการคลังของครม.เป็นประธานการประชุม ได้ดำเนินการ จนได้ข้อสรุปแล้วว่ารพ.ชุมชน ใช้ ฉ.8 ที่เป็นเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายแบบปรับปรุงให้ลดความเหลื่อมล้ำในวิชาชีพอื่นๆที่ไม่ใช่แพทย์ให้สูงขึ้นโดยไม่ได้ดึงของแพทย์ให้ต่ำลงเลยและใช้ ฉ.9 (P4P)แบบเลือกวิธีเองยากง่ายตามบริบทของตัวเอง  และรพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไปใช้ ฉ.9เป็น P4P เต็ม รูปแบบ แต่ไม่มีใครเลือก ฉ. 10 คือ ฉ.4 บวก ฉ. 6 นั่นเองเท่ากับดึงพยาบาลและสหสาขากลับไป

 "กลุ่มแพทย์ชนบทกลุ่มเล็กๆไม่กี่คนนี้ก็สวมบทขู่กรรโชกทรัพย์เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2556นี้ ได้ต่อรองกับรมต.และปลัดกระทรวงว่า ขอพวกเขา(แพทย์ที่อายุงานมากกว่า20ปี)ก่อน คนอื่นช่างมัน  เห็นแก่ตัว จนเพื่อนร่วมงานไม่เอากลุ่มนี้แล้วจึงต้องไปหาแนวร่วมในม็อบอื่น  เพื่อเงินกระเป๋าตัวเองแท้ๆ กล้าไปตีหน้าเศร้าเล่าความเท็จหน้าไม่อายเลยจริงๆ" พญ.ประชุมพร กล่าวในตอนท้าย

ที่มา: หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย วันที่ 17 ธันวาคม 2556