ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

รมว.สาธารณสุข แถลงนโยบาย“ความปลอดภัยของผู้ป่วย และบุคลากรสาธารณสุข (Patient and Personnel Safety: 2P Safety) ให้กับสหสาขาวิชาชีพและองค์กรต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบริการสุขภาพ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติและพัฒนาระบบให้สอดคล้องกับการประเมินเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยระดับประเทศ ด้วยเครื่องมือที่ได้รับการพัฒนาจากองค์การอนามัยโลกภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2559 นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อผลการประเมินความปลอดภัยของผู้ป่วยระดับประเทศ และแถลงนโยบายในการขับเคลื่อน เรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุขหรือ Patient and Personnel Safety: 2P Safety เพื่อให้หน่วยงาน บุคลากรสาธารณสุข และผู้รับบริการได้ทราบและแสดงเจตนารมณ์ในการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรสาธารณสุขร่วมกัน

โดยกำหนดให้มีเป้าหมายความปลอดภัยเป็น National Patient and Personnel Safety Goals และวางยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคคลากรสาธารณสุข จากความร่วมมือของทุกภาคส่วน การสนับสนุนให้มี National incidents Reporting and Learning System ที่เกิดจากความร่วมมือของบุคลากรและหน่วยงานตั้งแต่ระดับพื้นที่  ส่วนภูมิภาค ส่วนกลาง และระดับประเทศ เพื่อเกิดการพัฒนาเชิงระบบ และการส่งเสริมให้ผู้ป่วยและประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเพื่อความปลอดภัยในระบบบริการสาธารณสุขอย่างสร้างสรรค์

สำหรับโครงการประเมินเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยระดับประเทศนี้ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.) ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้มีการประเมินเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยในประเทศ (Country Self-Assessment of Patient Safety Situation) ตามแบบประเมินความปลอดภัยของผู้ป่วยขององค์การอนามัยโลกภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (WHO SEARO) เพื่อให้มีข้อมูลมาวิเคราะห์และวางแผนการขับเคลื่อนเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยในประเทศไทยต่อไป   

ทั้งนี้การทำ Country Self-Assessment for Patient Safety Situation เป็นหนึ่งในเครื่องมือการประเมินเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยที่องค์การอนามัยโลกระดับภูมิภาคพัฒนาขึ้น ต่อเนื่องจากการมีมติให้ประเทศสมาชิกร่วมกันขับเคลื่อนเรื่อง “Patient safety contributing to sustainable universal health coverage” จากการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมัยที่ 68 เพื่อให้แต่ละประเทศได้เห็นประเด็นต่างๆ ที่เป็นโอกาสในการพัฒนาและเป็นข้อมูลในการวางแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนของประเทศ และส่งผลให้เกิดความปลอดภัยของผู้ป่วยอย่างเป็นระบบและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนรวมถึงภาคประชาชน รวมถึงมีการขับเคลื่อนประเด็น Patient Safety ในทุกภูมิภาคของโลกและประเทศไทยร่วมเป็นหนึ่ง Global Patient Safety Network

ซึ่งการทำการประเมินเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยระดับประเทศตามยุทธศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก ทั้ง 6 ข้อ ได้แก่

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างและระบบ อันจะนำไปสู่การส่งเสริมคุณภาพและประสิทธิภาพของการดูแลสุขภาพ และ ยกระดับความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นแกนหลักในการดำเนินงานสาธารณสุขทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับสถานพยาบาล

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ประเมินลักษณะและระดับของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นในการให้บริการสาธารณสุข และสร้างระบบรายงานและเรียนรู้เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์

ยุทธศาสตร์ที่ 3 เพื่อให้แน่ใจว่าเจ้าหน้าที่มีความสามารถและตระหนักถึงความสำคัญด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยยุทธศาสตร์ที่ 4 เพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล 

ยุทธศาสตร์ที่ 5 ปรับปรุงการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยทั่วโลกและเสริมสร้างความแกร่งของความปลอดภัยของผู้ป่วยในโปรแกรมสุขภาพทั้งหมด

ยุทธศาสตร์ที่ 6 เสริมสร้างศักยภาพด้านวิจัยและส่งเสริมงานวิจัยที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วย