ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยผลตรวจเชื้อโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้ยังพบในพื้นที่เดิม ตากใบ และ พบการติดเชื้อสายพันธุ์อังกฤษ 7 ตัวอย่าง เป็นการตรวจหาเชื้อในจ.ปัตตานี  พร้อมเน้นขยายการตรวจรอบพื้นที่ที่พบการติดเชื้อ 

 

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข  กล่าวถึงการตรวจหาเชื้อโควิด -19 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ ว่าไม่ได้มีความยากง่ายกว่าการตรวจสายพันธุ์อื่น หรือต้องใช้เลือดตรวจ ยังคงสามารถตรวจได้จากสารคัดหลั่ง เพียงแต่วิธีการตรวจ จะใช้การตรวจหาเชื้อไวรัสแบบทั้งตัว หรือ ที่เรียกว่า จีโนมซีเควสซิ่ง เป็นการตรวจหาเชื้อไวรัสแบบนี้จะช่วยให้ สามารถถึงต้นตอที่มาของสายพันธุ์ว่ามาจากแหล่งใด เป็นการตรวจที่ละเอียดใช้เวลา 4-5 วัน  และ มีค่าใช้จ่ายในการตรวจเพิ่มมากขึ้นสูงถึง หลัก3 หมื่นบาท เนื่องจากเป็นเชื้อใหม่  โดยยังไม่สามารถตรวจหาด้วยวิธี RT-PCR  แบบแยกเชื้อไดเ เพราะยังไม่น้ำยาแยกเชื้อกลายพันธุ์ ที่ปัจจุบันพัฒนาครอบคลุม สายพันธุ์อังกฤษ  อย่างไรก็ตามการตรวจหาเชื้อในส่วนสายพันธุ์แอฟริกาใต้ จะเน้นทำขยายพื้นที่โดยรอบของพื้นที่ที่พบการติดเชื้อ ในอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส โดยขณะนี้ตรวจไปถึงปัตตานี 

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า การตรวจเชื้อโควิดสายพันธุ์แอฟริกาใต้  เดิมผู้ที่ตรวจค้นพบที่แรก คือศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี  เนื่องจากในพื้นที่ส่งตัวอย่างมา 18 อย่าง สามารถใช้ตรวจได้จริง 15  ตัวอย่างพบ 3 อย่างที่ติดเชื้อแอฟริกาใต้ จากนั้นจึงรายงานผลต่อศบค. ทั้งนี้กรมวิทย์จึงมีการขยายผลการตรวจหาเชื้อเพิ่ม จาก 15 ตัวอย่าง พบการติดเชื้อสายพันธุ์แอฟริกาใต้ 8 ตัวอย่าง ยังพบในพื้นที่เดิม ตากใบ และ พบการติดเชื้อสายพันธุ์อังกฤษ 7 ตัวอย่าง เป็นการตรวจหาเชื้อในจ.ปัตตานี  ทั้งนี้ยังต้องมีการสุ่มตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสถานการณ์การระบาดอย่างหนักในประเทศมาเลเซีย เพื่อดูว่าที่มาของเชื้อมีการผิดไปจากเดิมหรือไม่ 

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ส่วนความกังวลเรื่องประสิทธิภาพวัคซีนต่อสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ต้องยอมรับว่า ลดทอนลงบ้างแต่ในส่วนของสายพันธุ์อังกฤษและอินเดีย วัคซีนยัวคงต่อสนองได้ดีอยู่  แต่ต้องยอมรับว่าการกลายพันธุ์ของไวรัสทั้ง 4 สายพันธุ์ อังกฤษ  อินเดีย บราซิล และ แอฟริกาใต้ แพร่ได้เร็ว  ส่วนการตรวจค้นหาเชื้อในแคมป์คนงาน ก่อสร้าง ที่หลักสี่ ยังพบเป็นสายพันธุ์อินเดีย และอังกฤษ ยังไม่มีเชื้ออื่นเพิ่ม และ เตรียมตรวจค้นหาเชื้อไวรัสแบบจีโนมฯในชุมชนย่านสะพานขาว และ คลองเตย ว่ามีสายพันธุ์อื่นหรือไม่ ทั้งนี้การตรวจหาสายพันธุ์ จะทำการตรวจค้นในผู้ติดเชื้อกลุ่มใหม่ๆ แต่เมื่อพบการติดเชื้อจำนวนมากระยะหนึ่งก็ไม่จำเป็นต้องตรวจค้นหาสายพันธุ์อีกแต่จะเน้นการรักษา ทั้งนี้การตรวจหาสายพันธุ์ยังครอบคลุมไปถึง กลุ่มผู้เสียชีวิตเพื่อดูแนวโน้มและอัตราการเสียชีวิตในแต่ละสายพันธุ์