ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สธ. และ สมาคมแพทย์เฉพาะทาง ยืนยันการให้ภูมิคุ้มกันสําเร็จรูป มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูง มีประโยชน์ป้องกันสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทย พร้อมชี้แนวทางการส่งเสริมสุขภาพทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคม 

กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค และกรมการแพทย์ ร่วมกับสมาคมแพทย์เฉพาะทาง ได้แถลงข่าว เรื่องการให้ภูมิคุ้มกันสําเร็จรูปสําหรับการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อและการรักษาโควิด 19 เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับ ประชาชนในการเข้ารับภูมิคุ้มกันสําเร็จรูป ณ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก สมาคมแพทย์เฉพาะทางเข้าร่วม ได้แก่ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย สมาคมปลูกถ่ายอวัยวะแห่งประเทศไทย และสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย

การใช้ภูมิคุ้มกันสําเร็จรูป LAAB

วันที่ 22 มีนาคม 2566 นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงการใช้ภูมิคุ้มกันสําเร็จรูปว่าที่ผ่านมา ได้นํามาฉีดเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อในกลุ่มผู้มีภูมิคุ้มกันต่ําและร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได จากการฉีดวัคซีน รวมถึงนํามาใช้สําหรับการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 พบว่ามีความปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง โดย ในวันที่ 16 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา กรมควบคุมโรค กรมการแพทย์ ร่วมกับคณะผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมแพทย์เฉพาะทาง ได้มีการจัดประชุมแนวทางการให้ภูมิคุ้มกันสําเร็จรูป

ซึ่งยังคงแนะนําให้กลุ่มเสี่ยง 607 และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำรับภูมิคุ้มกันสําเร็จรูป สําหรับการป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อ และยังคงแนะนําให้ภูมิคุ้มกันสําเร็จรูปเป็นหนึ่งในยาหลักในการรักษาผู้ป่วย ทั้งนี้ กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโควิด19 ที่เข้าเกณฑ์สามารถเข้ารับการฉีดภูมิคุ้มกันสําเร็จรูป ได้ที่โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป สังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สถานพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ ทุกแห่งทั่วประเทศ สถาบันบําราศนราดูร และสถานพยาบาลโรงเรียนแพทย์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

กลุ่มเป้าหมายการฉีดภูมิคุ้มกันสําเร็จรูป

ศ.พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ กล่าวเพิ่มเติม ถึงกลุ่มเป้าหมายที่แนะนําให้เข้ารับการฉีดภูมิคุ้มกันสําเร็จรูปเพื่อป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อ ได้แก่ ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะหรือ ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยาหรือมะเร็งอวัยวะที่กําลังได้รับการ รักษาหรือเพิ่งหยุดการรักษาภายใน 6 เดือน ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีภูมิคุ้มกันต่ํา ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ผู้ป่วยโรคข้อ และ รูมาติสซั่ม หรือโรคอื่น ๆ ที่กําลังได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

รวมถึงผู้ที่แพทย์พิจารณาแล้วว่ามีภูมิคุ้มกันบกพร่องซึ่ง ควรได้รับภูมิคุ้มกันสําเร็จรูป นอกจากนี้ ยังแนะนําให้เพิ่มขนาดการให้ภูมิคุ้มกันสําเร็จรูปสําหรับการป้องกันก่อนการ สัมผัสเชื้อ เป็น 600 มิลลิกรัม (Tixagevimab 300 มิลลิกรัม และ Cilgavimab 300 มิลลิกรัม) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพก ทั้ง 2 ข้างแยกกันตามลําดับ โดยจะป้องกันโรคได้นานประมาณ 6 เดือน ต่อการฉีด 1 ครั้ง

ทั้งนี้ ยืนยันว่า ภูมิคุ้มกัน สําเร็จรูปที่ยังมีอยู่ขณะนี้ ยังใช้ได้ดีกับสายพันธุ์ BA 2.75 และ BN.1 ซึ่งเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่า ภูมิคุ้มกันสําเร็จรูปมีประสิทธิภาพดีและมีความปลอดภัยสูง

การฉีดภูมิคุ้มกันสําเร็จรูปเพื่อรักษา

พญ ปิยะธิดา หาญสมบูรณ์ ที่ปรึกษากรมการแพทย์ ได้กล่าวถึง การฉีดภูมิคุ้มกันสําเร็จรูปเพื่อรักษา โดย แนะนําให้ฉีดภูมิคุ้มกันสําเร็จรูปในผู้ป่วยโควิด 19 กลุ่มผู้ใหญ่และสําหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป และน้ําหนัก 40 กิโลกรัมขึ้นไป ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรครุนแรง หรือ มีโรคร่วมสําคัญ หรือ ผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงแต่มีปอดอักเสบ เล็กน้อยถึงปานกลาง โดยใช้ขนาด 600 มิลลิกรัม ด้วยการฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพกทั้ง 2 ข้างแยกกันตามลําดับ จํานวน ครั้ง และควรรับให้เร็วที่สุดหรือภายใน 7 วัน หลังจากเริ่มมีอาการ  (ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ได้แก่ อายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังรวมโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ โรคไตเรื้อรัง (ระยะ 3 ขึ้นไป) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรค หลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง (ไม่รวมมะเร็งที่รักษาหายแล้ว) เบาหวาน ภาวะอ้วน ตับแข็ง ภาวะภูมิคุ้มกันต่ํา ผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มี CD4 cell count น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม.)

ทั้งนี้ กลุ่มเสี่ยงสามารถติดต่อขอรับภูมิคุ้มกันสําเร็จรูป ได้ที่สถานพยาบาลสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สถานพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ โรงเรียนแพทย์ ทุกแห่งทั่วประเทศ และสถาบันบําราศนราดูร โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

 

 

*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org