ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

7 เรื่องต้องรู้ ก่อนขอเยียวยาผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่รัฐจัดให้ 
ถ้าคุณมีอาการข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 สงสัยไหมว่า ต้องทำอย่างไรดี? 
สปสช.ขอสรุปมาง่ายๆ ให้เข้าใจ 7 ประเด็น 
1.หากมีอาการไม่พึงประสงค์ให้รีบพบแพทย์
2.รักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
3.ยื่นคำร้องขอให้มีการเยียวยา หากได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19
4.การเยียวยาแบบไม่พิสูจน์ถูกผิด
5.แบ่งเกณฑ์เยียวยาออกเป็น 3 ระดับ 
ระดับ 1 กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร จ่ายไม่เกิน 4 แสนบาท 
ระดับ 2 เกิดความเสียหายถึงขั้นสูญเสียอวัยวะหรือพิการจนมีผลต่อการดำรงชีวิต จ่ายไม่เกิน 2.4 แสนบาท 
และระดับ 3 มีอาการป่วยต้องรักษาต่อเนื่อง จ่ายไม่เกิน 1 แสนบาท
6.พิจารณาด้วยคณะอนุกรรมการที่เชี่ยวชาญโดยยุติธรรม
7.พิจารณาเยียวยาอย่างรวดเร็วตามสิทธิที่ประชาชนควรได้

ทั้งนี้คนไทยที่ได้รับผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทุกสิทธิการรักษา (สิทธิบัตรทอง, ประกันสังคม, ข้าราชการ และสิทธิอื่นๆ) สามารถยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นได้ใน 3 จุด คือ ที่หน่วยบริการที่ไปรับการฉีด ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือที่ สปสช.เขตพื้นที่ทั้ง 13 สาขาเขต 
มีระยะเวลายื่นคำร้องภายใน 2 ปี นับจากวันที่เกิดความเสียหายหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 

หลังจากได้รับคำร้องแล้ว จะมีคณะอนุกรรมการในระดับเขตซึ่งประกอบด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนภาคประชาชนเป็นผู้พิจารณาว่าจะจ่ายเงินเยียวยาหรือไม่และจ่ายเป็นจำนวนเท่าใด ตามหลักฐานทางการแพทย์และระดับความหนักเบาของอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้น เมื่อมีผู้มายื่นคำร้องแล้ว คณะอนุกรรมการฯ ระดับเขตพื้นที่จะเร่งพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งในกรณีที่ผู้ยื่นคำร้องไม่เห็นด้วยกับผลการวินิจฉัย ก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อเลขาธิการ สปสช. ได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทราบผลการวินิจฉัย

สอบถามเพิ่มเติม สายด่วน สปสช. 1330

ดาวน์โหลดแแบบคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโควิดได้ที่ https://www.nhso.go.th/.../841/001/nhso_VaccinCovid19.pdf