ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

รพ.เด็กเปิดระบบรักษาผู้ป่วยเด็กผ่าน Home Isolation  หรือ HI  กรณีเด็กอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไปและไม่มีอาการ ชี้สัดส่วนเด็กป่วยนอนรพ.ราว 15-17% อีก 50% ไม่มีอาการ และอีก 2.2% อาการหนัก พร้อมเผย 2 สาเหตุหลักเด็กติดโควิด 

เมื่อวันที่ 21  ก.พ.2565  ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) นพ.อดิศักดิ์ ภัตตาตั้ง ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า สถานการณ์โควิด -19 ในเด็ก พบสถานการณ์เตียงเด็กภาพ รวมทั้งรับหนาแน่น ประมาณ 80 % จึงนำนโยบาย Home Isolation (HI)มาใช้ในเด็กอายุมากกว่า 1 ปีขึ้นไปและไม่มีอาการ  เพื่อมารักษาตามระบบ โดยพบว่ามีสัดส่วนของเด็กที่นอนรพ.มีประมาณ 15-17%  ส่วนอีก 50 % ไม่มีอาการ และมีอาการหนักประมาณ 2.2 % 

ทั้งนี้ สาเหตุการติดเขื้อในเด็กที่เพิ่มมากขึ้น มาจาก 1. เด็กส่วนใหญ่ไม่ได้รับวัคซีน  และเป็นการติดเชื้อในครอบครัว  2. เด็กบางส่วนก็มีการเปิดเรียนตามปกติ ทำให้การติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น  และประกอบกับเชื้อโอมิครอนติดง่าย  การรักษาส่วนใหญ่เน้นตามอาการคล้ายไข้หวัด ส่วนใหญ่มีไข้ เพียง 5 วัน ไข้ลด เด็กส่วนใหญ่อาการดีขึ้น และเพียงดูแลรักษาตามเกณฑ์ 10-14 วัน ก็ถือว่าหายขาดจากโควิด หากมีอาการก็จะจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์สูตรน้ำให้รับประทาน

นพ.อดิศักดิ์ กล่าวว่า เกณฑ์การรับเด็กเข้ารักษาการในรพ. เน้นในกลุ่มอายุ ต่ำกว่า 1 ปี หรือเด็กที่มีโรคประจำตัว ส่วนเด็กที่เข้ารับการรักษา HI คิดกลุ่มเด็กไม่มีอาการ  ต้องไม่มีไข้สูง ไม่มีโรคประจำตัว เด็กไม่ซึม ทานอาหารได้ และต้องมีพ่อแม่ ดูแลแบบใกล้ชิด โดยเมื่อเข้าระบบ HI รพ.จะมีการแชทผ่านไลน์สอบถามอาการ และวิดิโอคอล รวมถึงให้พ่อแม่ถ่ายวิดิโอ อาการของลูกให้แพทย์ดูวันละ 1 ครั้ง พร้อมมีการวัดไข้ วัดระดับออกซิเจนในเลือดจากปลายนิ้ว  โดยพยาบาลที่ติดตามอาการเด็ก 1 คนรับผิดชอบ 30 เคส ทั้งนี้ จากการรักษาเด็กผ่านมากว่า 1,000 คนพบว่ามีอาการรุนแรง 1-2 % เท่านั้น

นพ.อดิศักดิ์ กล่าวว่า เฉพาะที่สถาบันเด็กฯ สัดส่วนผู้ป่วยเด็กในเดือน ก.พ. ที่ผ่านมาเพิ่มมากขึ้น 30% ตอนนี้มีเด็กป่วยนอนรพ. 150 คน จากเดิม ม.ค. ประมาณ 200 คน  ซึ่งส่วนใหญ่ของการนอนรพ. เป็นแบบครอบครัวมีผู้ปกครองมานอนดูแลอาการเด็กด้วย ทำให้ที่สถาบันเด็กฯ ขณะนี้มีผู้ป่วยคลองเตียง 76 คนในจำนวนนี้เป็นผู้ปกครอง 20 คนและมีอาการป่วยติดเชื้อโควิด ซึ่งทางสถาบันได้มีการประสานกับโรงพยาบาลราชวิถีดูแลผู้ป่วยกลุ่มผู้ใหญ่เหล่านี้ด้วยเช่นกัน เพราะเข้าใจว่าการรักษาพยาบาลเด็กเล็กจำเป็นต้องมีผู้ปกครองใกล้ชิดมีผลต่อการรักษาและการดูแลช่วยให้ทางรับประทานอาหารรับประทานยาได้ง่ายมากขึ้นหายเร็วกว่าปกติ

 

 

*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org