ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับ Ipsos Singapore ขอเชิญเข้าร่วม virtual webinar เรื่อง "Alternative Funding Models for High-Cost Innovative Drugs – Thailand & APAC" เผยแพร่ความรู้ผลงานวิจัยในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายของระบบการจัดการด้านการเงินเพื่อเพิ่มการเข้าถึงยานวัตกรรม พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับระบบ International Medicine Fund (IMF) หรือ Managed Entry Agreement (MEA) 

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมกับ Ipsos Singapore ขอเชิญเข้าร่วม virtual webinar เรื่อง "Alternative Funding Models for High-Cost Innovative Drugs – Thailand & APAC" โดยมีวัตถุประสงค์: เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องและผู้สนใจทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เกี่ยวกับผลงานวิจัยในการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายของระบบการจัดการด้านการเงินเพื่อเพิ่มการเข้าถึงยานวัตกรรม ตลอดจนแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบ International Medicine Fund (IMF) หรือ Managed Entry Agreement (MEA) ของรัฐบาลในภูมิภาคเอเชีย ในวันที่: 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา: 13:30-14:30 น. (BKK) / 14:30-15:00 น. (SG)

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมได้ฟรีทาง link:  https://attendee.gotowebinar.com/register/3821703838657151069

✨Key webinar hightlight:
✅ Insights from renowned experts in healthcare financing and medical innovation.
✅ Panel discussion on future funding models, the value, and challenges of MEA implementation.
✅ Real-life case studies and experiences from the Asia-Pacific region, including Korea.

🔹ที่มาและความสำคัญ: ปัจจุบันระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประเทศไทยมีความเข้มแข็งและมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้ผู้ป่วยได้รับบริการด้านสุขภาพที่จำเป็นโดยไม่ต้องกังวลเรื่องภาระค่าใช้จ่าย โดยมีกลไกการเพิ่มการเข้าถึงยาจำเป็นที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามยังคงมีปัญหาในการเข้าถึงยานวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพดีแต่มีราคาสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยานวัตกรรมในการรักษาโรคมะเร็งที่มีความก้าวหน้าอย่างมาก ส่งผลให้โรคมะเร็งยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศ 
🔸ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวและมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพการรักษาสำหรับผู้ป่วยมะเร็งในประเทศไทยให้ทัดเทียมมาตรฐานสากล จึงได้ร่วมกับ บริษัท Ipsos Singapore ในการดำเนินการศึกษาอย่างต่อเนื่องในการนำเสนอและพัฒนาแนวทางใหม่ๆในการบริหารจัดการทางการเงิน ที่ช่วยเพิ่มการเข้าถึงยานวัตกรรมในการรักษาโรคมะเร็งของผู้ป่วยและยังคงรักษาสมดุลงบประมาณทางสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ