ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

หลักการของ Inform Consent ในหลักกฎหมาย (Rule of Law) เพิ่งจะมีการ พูดถึง กล่าวอ้าง นำมาปฏิบัติกันโดยทั่วไปเมื่อไม่นานมานี้บอกกล่าว, แจ้งให้ทราบ, โดยทางตรง เช่น การประชาสัมพันธ์ หรือ "โดยนัย"Consent การยินยอม, ยอมให้ทำ, ตกลงใจตาม

ดังนั้น อรรถาธิบายของ Inform Consent คือ ฝ่ายหนึ่งมีการบอกกล่าว การแจ้งให้ทราบ โดยทางตรงหรือโดย "นัย" เช่นการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์อันเป็นเหตุให้เกิดผลตามมาเป็นการยินยอม ตกลงใจ ยอมให้ทำของอีกฝ่ายหนึ่ง

หลัก Inform Consent ที่ใช้โดยทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่นการเข้าถึงเว็บไซต์ต้องอ่านข้อกำหนดเงื่อนไข (Term and Condition) หลายสิบบรรทัดหรือหลายหน้าก่อนที่จะ click .Icon---I agree---  แปลว่า เจ้าของเว็บไซต์ได้ inform และตัวเราผู้ท่องเว็บได้ consent"

ท่านผู้อ่านลองนึกๆ ดูเหตุการณ์ประจำวันในชีวิตตนเอง วันหนึ่งๆ เราได้ พบเห็น "หลัก inform consent" ทำนองนี้เกือบตลอดทั้งวัน

ขับรถเข้าสถานีบริการน้ำมันเพื่อเติมน้ำมันกดกระจกลงบอกเด็กปัมว่า "โซฮอล์ 95 เต็มถัง"...ปิดกระจกขึ้นเหมือนเดิมเด็กปัมเอาป้าย "สามเหลี่ยม" ตั้งบนฝากระโปรงรถหน้าคนขับ...เป็นรูปสัญลักษณ์ต่างๆ ตัวหนังสือบ้างสุดแล้วแต่ยี่ห้อของปัมนั้นๆ สรุปความได้ว่า 1.ให้ดับเครื่องยนต์ 2.ห้ามสูบบุหรี่ 3.ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือ

ผู้ประกอบการปัมได้ Inform คุณแล้ว "Consent" เกิดหรือไม่....ไม่ทราบ เนื่องด้วย "เป็นการสื่อสารทางเดียว" เข้าใจว่าเจ้าของรถยนต์ทั้งหลาย "ทำตาม" เกือบทุกข้อยกเว้นข้อเดียวคือ "ติดเครื่องยนต์ค้างไว้" ซึ่ง บางคนปฏิบัติ บางคนก็ไม่ปฏิบัติเพราะว่า "ร้อนมาก" ต้องการ Air conditioner แต่คงไม่มีใคร "สูบบุหรี่".... "พูดโทรศัพท์ในรถอาจจะมีบ้าง"

"โดยภาวะวิสัยและพฤติการณ์แล้ว" Consent เพียง "บางส่วน" 70-80% จะเรียกว่าเป็น "Partially Consent" ก็น่าจะได้ (จากการสังเกต...ไม่สูบบุหรี่ 100% ดับเครื่องยนต์ประมาณครึ่งๆ... ไม่พูดโทรศัพท์ 95%)

เมื่อมองเรื่อง Inform consent ในปัมน้ำมันเป้าหมายคือ Risk management หรือ.."บริหารความเสี่ยง" ที่จะเกิด "เพลิงไหม้" อันก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินโดยทางตรงของผู้ขับขี่ (ผู้รับบริการ) และความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลที่สาม อันได้แก่ พนักงานในปัมและรถคันข้างๆ ที่จอดเติมน้ำมันอยู่ได้

Inform Consent ทางการแพทย์ไม่ใช่หมายถึงแค่เอกสาร Consent form หรือ หนังสือยินยอมรับการรักษาที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไปเท่านั้น"

ในห้องตรวจโรค ปฏิสัมพันธ์ ของแพทย์-ผู้ป่วยในห้องตรวจโรค การอธิบายความเสี่ยงจากการรักษา รับประทานยา การผ่าตัดนั้นๆ...คำถามคำตอบ สนทนาความต่างๆ อยู่ในกระบวนความของ Inform Consent

หลักของ Inform Consent ทางการแพทย์นี้ ยังได้มีผลบังคับใช้และมีบทลงโทษไปแล้วทั้งที่เป็นเหตุการณ์ "อยู่นอกห้องตรวจโรคด้วย"...คดีตัวอย่าง....เหตุการณ์...นอกห้องตรวจโรค เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วในกลางดึกของคืนๆ หนึ่ง บิดา...สูงอายุ เกิดเจ็บบริเวณกลางหน้าอกอย่างกะทันหัน บุตรสาวซึ่งพักอยู่ด้วยกัน จึงได้ขับรถบึ่งออกจากบ้านกลางดึกตั้งใจจะพาไป "ห้องฉุกเฉิน" ของ รพ.เอกชนชั้นนำใจกลางเมือง กทม.ย่านสุขุมวิท ซึ่งบิดาเป็นคนไข้ประจำอยู่ โดยคาดว่าเป็นโรคหัวใจกำเริบแน่ๆ...เนื่องด้วยบ้านอยู่ชานเมืองระหว่างทางพบ รพ.ใกล้บ้าน รพ.แรกติดป้ายไฟขนาดใหญ่ว่า...

"ศูนย์หัวใจครบวงจร" "แพทย์โรคหัวใจ 24 ชม."

บุตรจึงได้ตัดสินใจเลี้ยวรถเข้าไปใน รพ.แห่งนั้นทันที โดยหวังประโยชน์ว่าเวลาที่ได้มาแลกกับความไม่คุ้นเคยกับ รพ.นี้เนื่องจากไม่ใช่คนไข้ประจำแต่เชื่อมั่นใน Inform "ศูนย์หัวใจครบวงจร" "แพทย์โรคหัวใจ 24 ชม." พฤติการณ์เลี้ยวรถเข้าไปใน รพ.แห่งใหม่ในทันทีทันใดนั้นแสดงให้เห็น "ว่าเป็น Fully Consent"...เรื่องราวในคดีนี้ ทั้งแพทย์และ รพ.ถูกฟ้องในชั้นศาลในคดีกระทำละเมิด...Misinformed เนื่องจากภาวะไม่พึงประสงค์จากการรักษา และ/หรือ ภาวะโรคหัวใจซึ่งเป็นขั้นรุนแรง

ภาพของ "ศูนย์หัวใจครบวงจร" "แพทย์โรคหัวใจ 24 ชม." ของฝ่ายสถานพยาบาลและผู้ป่วยคงแตกต่างกัน น่าจะเป็น Partially Informed ความหมายของ 24 ชม.นี้ ว่าเป็น On call (นอนอยู่บ้าน...เรียกแล้วมา) หรือ On duty (นั่งอยู่หลังเคาน์เตอร์พยาบาลหรือในห้องตรวจโรค) เป็นสิ่งที่สถานพยาบาล "ทั้งรัฐ" และ"เอกชน" ต้องทำความกระจ่างให้ประชาชนให้เป็น Fully Informed หรือ Well Informed ตัวอย่างป้ายไฟติดว่า "ฉุกเฉิน 24 ชม." ที่ติด รพ.ชุมชนขนาดเล็กซึ่งเป็น รพ.รัฐเป็นส่วนใหญ่หลายร้อยแห่งทั่วประเทศกับป้ายไฟข้อความเดียวกันที่ติดอยู่หน้า รพ.รัฐและเอกชนขนาดใหญ่ใน กทม. ...มีความหมายแตกต่างกัน

ตัวอักษรข้อความเดียวกัน อันหนึ่งหมายถึง "แพทย์ On call" ส่วนอีกอันหนึ่งหมายถึง "แพทย์ On duty" นั่งทำงานอยู่หลังเคาน์เตอร์ในห้องฉุกเฉิน 24 ชม. หากเกิดคดีความเรื่องฉุกเฉิน "ความเสี่ยง" จะตกอยู่กับ jigsaw ตัวสุดท้ายในระบบคือ "แพทย์" ซึ่งจะถูกฟ้องร้องจาก misinformed ของ "ฝ่ายบริหาร" และ "ฝ่ายออกนโยบาย" ทั้ง "รัฐ" และ "เอกชน" ซึ่งนโยบายนั้นๆ อาจจะปฏิบัติได้จริงบางทีปฏิบัติได้เพียงบางส่วน หรือปฏิบัติได้แต่ถ่ายโอนความเสี่ยงมาให้ผู้ปฏิบัติงานแถวหน้าสุดอย่างแพทย์และพยาบาล

หากใช้หลักธรรมาภิบาลหรือ Good governance มาจับสิ่งต่างๆเหล่านี้เพียงตัวอย่างเดียวควรได้รับการทบทวนในประเทศทางตะวันตก หากมีป้ายไฟ Emergency 24 hr. หรือ A&E ความหมายและการปฏิบัติคือ "แพทย์ on duty" นั่งอยู่หลังเคาน์เตอร์ 24 ชม. หากเป็นเรื่องฉุกเฉินเร่งด่วนการปฏิบัติงานอยู่เวรแบบ on call ไม่ถือเป็นมาตราฐานที่ถูกต้องในประเทศตะวันตก ดังนั้น รพ.ขนาดเล็กแพทย์จึง On call เฉพาะหอผู้ป่วยใน...ซึ่งตนเองคุ้นเคยและรู้ความเป็นไปของโรคอยู่แล้ว

กรณี รพ.ขนาดเล็กในประเทศไทยทั้ง รพ.มีแพทย์อยู่ 3 คน ตรวจผู้ป่วยกลางวัน ดูคนไข้หอผู้ป่วยในกลางคืนต้อง on call ผู้ป่วยฉุกเฉินจากภายนอกด้วย ยังคงมีความจำเป็นที่ต้องบริการประชาชน ให้ทั่วถึงและฉุกเฉิน 24 ชม. หากใช้หลัก inform consent มาจับ ควรระบุให้ชัดว่าพยาบาล On duty แพทย์อยู่เวร On call จึงเป็นการ "ส่งสาร" ที่ถูกต้อง แก่ผู้รับสารตั้งแต่เลี้ยวรถเข้ามา

เรื่องราวของ Inform Consent นั้นเป็นเรื่องราวของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร/ผู้ออกนโยบายของสถานพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนกับผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วย และระหว่างแพทย์/พยาบาลผู้ปฏิบัติงานรับนโยบายและต้องทำตามมาตรฐานวิชาชีพกับผู้ป่วยเนื่องด้วยความสัมพันธ์ "ผู้ป่วย-แพทย์" ไม่ใช่ "ผู้ผลิต-ผู้บริโภค" แต่เป็น Co-production "ผลิตร่วม" ผลการรักษาจึงเป็น "ผลผลิตร่วม" ของผู้บริหาร/ผู้ออกนโยบาย แพทย์/พยาบาล และผู้ป่วย...

โดยอาศัยหลัก Inform Consent ซึ่งเป็นและใช้ "ดุลพินิจ" สูง ในกระบวนการยุติธรรมและคดีความหรือแม้แต่หลักการบริหารความเสี่ยง Risk management ในระบบ "คุณภาพ" ของ รพ.ที่ทำกันอยู่แพร่หลายนั้นยังไม่ครอบคลุม "มิติด้านนี้" เท่าที่ควร อีกทั้งตัวบท "มาตรฐานวิชาชีพ" ซึ่งเน้น Sequence of procedure หรือ "ลำดับขั้นตอนการรักษา" ก็ไม่ครอบคลุมมิติด้าน Informed consent (นอกห้องตรวจโรคซึ่งเกิดจากฝ่ายบริหาร-ฝ่ายออกนโยบาย) เท่าที่ควร กอปรกับความรู้ความเข้าใจถึง "ธรรมชาติของการแพทย์-การรักษาพยาบาล" ของกระบวนการยุติธรรมยังอยู่ในวงจำกัด แพทย์องค์กรแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆ และผู้บริหารสายแพทย์-ผู้ออกนโยบายควรให้ความสำคัญ "มิติเรื่อง Inform Consent " นี้ให้ดี เพื่อลดการ "เข้าใจผิด" ลดการฟ้องร้องใน "คดีละเมิด"

แพทย์และผู้บริหารสายแพทย์ต้องช่วยกันสอบทบทวนระบบบริหารความเสี่ยงใน รพ. และการออกนโยบายสาธารณะด้านสาธารณสุขในมิติ inform consent ด้วยว่า ปฏิบัติได้...ปฏิบัติได้จริง ทำให้สาธารณชน "เข้าใจคลาดเคลื่อน" "ผิดความคาดหมาย" (misinform) หรือไม่อย่างไร เพื่อการปฏิบัติงานรักษาเยียวยาโรคภัยไข้เจ็บของประชาชนให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สุขใจทั้งผู้ให้และผู้รับการเยียวยา