ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นพ.ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้ร่วมกันเผยผลสำรวจ "ความสุขของคนไทย" ภาพรวมทั่วประเทศคนไทยมีแนวโน้มมีความสุขเพิ่มมากขึ้น แต่ไม่ถึงกับก้าวกระโดด จากการสำรวจเป็นรายจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด ในปี 2555  พบว่า จังหวัดที่มีความสุขมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ นครพนม พิจิตร ตรัง ชัยภูมิ และกระบี่ ส่วนจังหวัดที่มีความสุขน้อยที่สุด 5 อันดับ คือ สมุทรสงคราม สมุทรปราการ สระแก้ว ภูเก็ต หนองคาย กาญจนบุรี ส่วนกรุงเทพมหานครยังรั้งท้ายเช่นเคย

ข้อมูลไม่แตกต่างจากผลสำรวจปี 2552 โดย นพ.อภิชัย มงคล อดีตอธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า จังหวัดที่มีความสุขมากที่สุด ได้แก่ พังงา ชลบุรี ร้อยเอ็ด นครพนม และสุรินทร์ ส่วนจังหวัดที่มีความสุขน้อยที่สุด คือ สมุทรปราการ สระแก้ว นครนายก ลำปาง และสมุทรสงคราม และปี 2553 จังหวัดที่มีความสุขมากที่สุด คือ พังงา ตรัง มหาสารคาม นราธิวาส และตาก ส่วนจังหวัดที่มีความสุขน้อยที่สุด คือ สมุทรสงคราม สุโขทัย ภูเก็ต สมุทรปราการ และสระแก้ว

"ภาพรวมภาคอีสาน ภาคใต้ และเหนือจะมีความสุขที่สุด เบียดกันขึ้นลงกันไปมาอยู่กับช่วงเวลาที่สำรวจ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นคนอีสาน และสิ่งที่ไม่มีความเปลี่ยนแปลงเลยคือกรุงเทพฯ เป็นจังหวัดที่มีความสุขน้อยที่สุด ซึ่งเราได้ตั้งสมมุติฐานว่าอาจเป็นเพราะปัญหาการเมือง สภาพครอบครัว การจัดการปัญหาต่ำ การกระจายรายได้ไม่ทั่วถึง และสังคมแข่งขันกันสูง" อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวขณะความสุขของคนไทยเพิ่มมากขึ้น แต่กลับพบข้อมูลความมั่นคงของมนุษย์กลับลดลง จากรายงานสถานการณ์ความมั่นคงของมนุษย์ประเทศไทย ปี 2554 ประเมินค่าดัชนีความตัวชี้วัดความมั่นคงของมนุษย์ที่ได้พัฒนาขึ้นในปี 2554 ใน 12 มิติ 41 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย 1.ศาสนาและวัฒนธรรม 2.ที่อยู่อาศัย 3.สิทธิและความเป็นธรรม 4.ครอบครัว 5.การศึกษา 6.สิ่งแวดล้อม 7.ทรัพยากร 8.พลังงาน 9.ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 10.อาหาร 11.สุขภาพ 12.การมีงานทำและรายได้ โดยดัชดีเฉลี่ยอยู่ระหว่างร้อยละ 69.21-70.37 มิติที่มีค่าดัชนีสูงสุด คือ มิติศาสนาและวัฒนธรรมร้อยละ 70.37 รองลงมาคือ มิติที่อยู่อาศัย มิติสิทธิและความเป็นธรรม มิติครอบครัว ส่วนมิติที่มีค่าดัชนีต่ำสุดคือมิติการมีงานทำและรายได้ร้อยละ 69.21

อภิชาติ อภิชาตบุตร ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (สมพ.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)เปิดเผยว่าเมื่อพิจารณาค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ในกลุ่มจังหวัด พบว่า กลุ่มจังหวัดภาคเหนือมีค่าดัชนีสูงที่สุด ร้อยละ 78.37 รองลงมาคือกลุ่มจังหวัด 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ร้อยละ 76.29 และกลุ่มจังหวัดที่มีค่าดัชนีน้อยที่สุดคือ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ร้อยละ 37.37

ภาคเหนือ มีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์สูงที่สุด ร้อยละ 78.37 มิติที่มีค่าดัชนีสูงสุดคือ มิติการศึกษา มิติสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร พลังงาน และมิติความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ตามลำดับและจังหวัดที่มีค่าดัชนีความมั่นคง ของมนุษย์ต่ำกว่า ค่าเฉลี่ยของภาค จำนวน 10 จังหวัดแต่ต่ำกว่าค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์เฉลี่ยภาพรวมของประเทศ เพียง 1 จังหวัดเท่านั้น

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์สูงเป็นอันดับ 3 ร้อยละ 72.59 มิติที่มีค่าดัชนีสูง ได้แก่ มิติความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มิติที่อยู่อาศัย และมิติครอบครัว และจังหวัดที่มีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 10 จังหวัดและต่ำกว่าค่าดัชนีความ

มั่นคงของมนุษย์เฉลี่ยภาพรวมของประเทศ เพียง 5 จังหวัด

ภาคกลาง มีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์เป็นอันดับ 5 จากกลุ่มจังหวัดร้อยละ 67.67 มิติที่มีค่าดัชนีสูงคือ มิติการเมือง มิติการศึกษา และมิติชุมชนและการสนับสนุนทางสังคม และจังหวัดที่มีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภาคจำนวน 10 จังหวัดและต่ำกว่าค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์เฉลี่ยภาพรวมของประเทศ จำนวน 11 จังหวัด

ภาคใต้ มีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์เป็นอันดับ 4 จากกลุ่มจังหวัดร้อยละ 69.33 มิติที่มีค่าดัชนีสูงคือ มิติอาหาร มิติสุขภาพ

และมิติการมีงานทำและรายได้ ตามลำดับจังหวัดที่มีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภาคจำนวน 4 จังหวัด ทั้งนี้จังหวัดที่ต่ำกว่าค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์เฉลี่ยภาพรวมของประเทศ จำนวน 4 จังหวัดเช่นกัน

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์เป็นอันดับสุดท้ายร้อยละ 37.37 ส่วนมิติที่มีค่าดัชนีสูงคือ มิติชุมชนและการสนับสนุนทางสังคม มิติอาหาร และมิติสุขภาพมีจังหวัดที่มีค่าดัชนีต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภาค จำนวน 3 จังหวัด แต่ทุกจังหวัดในกลุ่มนี้มีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ต่ำกว่าค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์ภาพรวมประเทศทั้งหมด

จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์สูงเป็นอันดับ 2 ร้อยละ 76.29 มีค่าดัชนีสูงคือมิติสุขภาพ มิติอาหาร และมิติความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  ตามลำดับทั้ง 3 จังหวัดมีค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์สูงกว่าค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์

สรุปภาพรวมความมั่นคงของคนไทยแนวโน้มที่ลดลง แต่ไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 2551 และ 2552 มากนัก แต่ในระดับจังหวัดพบว่า บางจังหวัดมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก ทั้งในด้านบวกและด้านลบ ส่วนมิติที่ควรให้ความสนใจและพัฒนาแก้ไข คือมิติการมีงานทำและรายได้ มิติสุขภาพ และมิติการศึกษา

ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 26 กรกฎาคม 2556

เรื่องที่เกี่ยวข้อง