ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ - แนวคิดและวิธีการเรื่องการพัฒนาคุณภาพเริ่มในโลกตะวันตก บุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งในโลกตะวันตกและโลกตะวันออกคือ ดร.เดมิงเจ้าของ "วงจรเดมิง" (Deming Cycle) คือพีดีซีเอ (PDCA คือ Plan (การวางแผน)Do (ลงมือทำ) Check (ตรวจสอบ) Action (แก้ไข))

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในการฟื้นฟูบูรณะประเทศของญี่ปุ่น ได้เริ่มให้ความสนใจเรื่องการพัฒนาคุณภาพโดยเมื่อพ.ศ. 2493 สหภาพนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรญี่ปุ่น(Japanese Union of Scientists and Engineers-JUSE) ได้เชิญ ดร.เดมิง ไปบรรยายให้คนญี่ปุ่นฟังอย่างกว้างขวาง ทั้งในห้องประชุมและถ่ายทอดสดทางวิทยุกระจายเสียงไปทั่วประเทศ ทำให้เกิดการตื่นตัวเรื่องคุณภาพกันอย่างขนานใหญ่ เล่ากันว่านอกจากการ "พลิก"แนวคิดเรื่องคุณภาพให้เป็นการพัฒนาระบบการบริหารจัดการทั้งระบบของ ดร.เดมิงแล้วเหตุเพราะภาษาอังกฤษของคนญี่ปุ่นมีปัญหาคล้ายคลึงกับคนไทย คือ ฟังฝรั่ง "เกือบรู้เรื่อง"แต่กลับก่อผลดีให้แก่ญี่ปุ่นอย่างมาก นั่นคือความสนใจเรื่องการพัฒนาคุณภาพ

แต่ก่อนมุ่งเน้นที่คุณภาพของผลิตภัณฑ์(Product Quality) แต่เพราะฟังฝรั่งบรรยาย"เกือบรู้เรื่อง"ทำให้คนญี่ปุ่นให้ความสนใจเรื่องคุณภาพทั้งระบบ คือ ทั้งเรื่องปัจจัยนำเข้ากระบวนการ และผลผลิต ซึ่งต่อมามีการพัฒนามาเป็นการพัฒนาคุณภาพทั้งระบบ(Total Quality Control หรือ TQC) และเกิดวงจรคุณภาพ (Quality Control Circle หรือQCC) ที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่างกว้างขวาง รวมทั้งในประเทศไทย

ในวงการสาธารณสุข เมื่อ3-4 ทศวรรษ

ที่ผ่านมามีการตื่นตัวเรื่องการพัฒนาคุณภาพโดยเฉพาะในสถานบริการ คือ โรงพยาบาลต่างๆมีการพัฒนาระบบบริหารโดยการนำเทคนิคต่างๆ มาใช้หลายเทคนิค เช่น เทคนิคการพัฒนาองค์กร (Organization Development หรือ OD) การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์เป็นหลัก (Management By Objectives หรือMBO) "การปฏิสังขรณ์องค์กรของรัฐ"

(Reinventing Government) และ "การรื้อปรับระบบ" (Re-engineering) เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่องการรื้อปรับระบบเคยมีการเชิญคุณบัณฑูร ล่ำซำ ผู้บริหารที่โดดเด่นของธนาคารกสิกรไทยไปบรรยายสะกดชาวสาธารณสุขมาแล้วในการประชุมใหญ่ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ จ.ขอนแก่น

ในส่วนของการ "พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล" โดยตรง ผู้บริหารรุ่นแรกๆที่กล่าวถึงเรื่องนี้คือนพ.บรรลุ ศิริพานิชที่พยายามจะ "ติดดาว" โรงพยาบาลเหมือนวิธีการติดดาวของโรงแรมต่างๆ แต่ระบบโรงพยาบาลมีความซับซ้อนมากกว่าโรงแรมมาก

และจุดเน้นต้องไม่ใช่เพื่อการพาณิชย์เป็นหลักแนวคิดและวิธีการติดดาวของโรงพยาบาลจึงไม่มีการขานรับและเงียบหายไป

แต่ความพยายามในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลยังมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยมีการศึกษามาตรการคุณภาพต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ เช่น เรื่องการประกันคุณภาพ(Quality Assurance หรือ QA) การรับรองคุณภาพ (Quality Accreditation ตัวย่อว่าQA เหมือนกัน) และการปรับปรุงคุณภาพ(Quality Improvement หรือ QI) รวมทั้งเรื่องการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง(Continuous Quality Improvement หรือCQI) เป็นต้น แต่ยังไม่มีความคืบหน้าเป็นชิ้นเป็นอันมากนัก

สิ่งที่เข้ามามีบทบาทอย่างเป็นรูปธรรมในเวลาต่อมาคือ ระบบ "ไอโซ" (ISO หรือInternational Standard Organization) ซึ่งเริ่มเข้ามาทางด้านอุตสาหกรรมก่อนจะขยายแวดวงเข้ามาสู่ระบบบริการ ที่รวมทั้งระบบบริการของโรงพยาบาลด้วย โรงพยาบาลหลายแห่งโดยเฉพาะภาคเอกชนเริ่มให้ความสนใจในการพัฒนาคุณภาพตามระบบของ ISO เพื่อผลการสร้างความมั่นใจแก่ประชาชนให้เลือกไปใช้บริการ

เมื่อเกิดระบบประกันสังคมขึ้นในปีพ.ศ. 2533 เริ่มมีการให้ความสำคัญกับการกำหนด "มาตรฐาน" โรงพยาบาลขึ้น เพื่อให้มีสิทธิที่จะรับผู้ป่วยในระบบประกันสังคม ในระยะแรกคณะกรรมการการแพทย์กำหนดเกณฑ์มาตรฐานไว้เพียงคร่าวๆ เพื่อให้ระบบเริ่มทำงานได้ โดยกำหนดมาตรฐานว่าต้องเป็นโรงพยาบาลขนาด 100 เตียงขึ้นไป มีระบบการให้บริการทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้และบุคลากรกำหนดไว้เป็นเกณฑ์กว้างๆ

หลังจากเปิดให้บริการแก่ผู้ประกันตนเมื่อ

เดือน มิ.ย. 2534 ก็เริ่มมีปัญหาเรื่อง"คุณภาพ"บริการ จาก "เสียงบ่น" และการร้องเรียน(Complaints) ของผู้ประกันตน จึงเริ่มมีการให้ความสนใจเรื่องการพัฒนาคุณภาพโดยระบบแรกที่มีการกล่าวถึงคือระบบการรับรองโรงพยาบาลในสหรัฐโดย "คณะกรรมการร่วมเพื่อรับรององค์กรการให้บริการสุขภาพ"(Joint Commission on Accreditation of Healthcare Organization หรือ JCAHO)แต่ก็ไม่มีการดำเนินการอย่างจริงจังแต่อย่างใด

ขณะเดียวกัน มีการแก้ไขพระราชบัญญัติสถานพยาบาลเป็นฉบับ พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นได้มีการกำหนด "มาตรฐานสถานพยาบาล"ประเภทและระดับต่างๆ อย่างกว้างขวาง

หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในพ.ศ. 2540 มีการกู้เงินและรับความช่วยเหลือจากแหล่งต่างๆ หนึ่งในโครงการนั้นคือโครงการมิยาซาวา กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายให้ใช้ส่วนหนึ่งของเงินกู้นี้ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลโดยการซื้อบริการจากระบบ ISO ซึ่งมีการ "ฮือฮา" กันอยู่พักหนึ่ง แต่ก็ค่อยๆจืดจางไป เพราะต้องจ่ายค่าจ้างในอัตราค่อนข้างสูง เจ้าหน้าที่ต้องเรียนรู้และทำงานเพิ่มขึ้นและระบบที่ใช้ก็ไม่ใคร่จะสอดคล้องกับบริบทและวัฒนธรรมในสังคมไทยนัก

แต่น่ายินดีที่ระบบคุณภาพที่พัฒนาขึ้นเองในประเทศกลับก่อรูปและเติบโตอย่างยั่งยืนในเวลาต่อมา คือ สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) โดยเริ่มจากการเป็นหน่วยงานในเครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ปัจจุบันเปลี่ยนสถานะมาเป็นองค์การอิสระ ในรูปขององค์การมหาชนในชื่อที่"หดสั้น" ลงคือ "สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.)"

เป็นอีกหนึ่งองค์กรในตระกูล ส. 

หลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ใน พ.ศ.2540 มีการกู้เงินและรับความช่วยเหลือจากแหล่งต่างๆ หนึ่งในโครงการนั้นคือโครงการ มิยาซาวากระทรวงสาธารณสุขได้มี

นโยบายให้ใช้ส่วนหนึ่งของเงินกู้นี้

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์  วันที่ 17 กันยายน 2556