ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

มติชน - กรณีที่มีข่าวว่าสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ถอดสิทธิบุคคลกลุ่มรอพิสูจน์สถานะที่ยังไม่ได้เลขบัตรประจำตัวประชาชนออกจากสิทธิหลักประกันคลื่นคิดข่าวสุขภาพถ้วนหน้า จำนวน 95,071 คน เนื่องจากมีชื่อซ้ำซ้อนกับรายชื่อใน "กองทุนให้สิทธิ (คืนสิทธิ) ขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขสำหรับ

"กองทุนคืน2553" หรือที่เรียกสั้นๆ ว่าบุคคลผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ ตามมติ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 23 มีนาคม สิทธิ" ที่รับผิดชอบโดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ส่งผลกระทบให้บุคคลกลุ่มนี้ไม่ได้รับสิทธิ ใดๆ ในการเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาลของรัฐ แม้ว่าขณะนี้ สธ.จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยให้โรงพยาบาลของรัฐดูแลคนกลุ่มนี้ไปก่อนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจนกว่าจะมีการจัดทำตัวเลขผู้มีสิทธิในแต่ละกองทุนที่ชัดเจนอีกครั้ง

สิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึงมีนี้ หากปัญหาไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณ หรือสมาชิกในครอบครัวของคุณ...คงไม่รู้ซึ้ง!

ทั้งๆ ที่ประเทศไทยมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าครอบคลุมคนไทยทั้งประเทศนับตั้งแต่ปี 2545 แต่ทว่ายังมีคนไทยอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข เพราะการตีความคำว่า "ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า" ต้องมี "สัญชาติไทย" เท่านั้น ทำให้ยังมีกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิอีกกว่า 600,000 คน ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุข เข้าไม่ถึงระบบหลักประกันสุขภาพตามที่ควรจะได้รับ และไม่ได้รับการป้องกันการล้มละลายที่เกิดจากการใช้บริการด้านสุขภาพ

ตัวเลขนี้ยืนยันได้จากข้อมูลของ สุรพงษ์ กองจันทึก อนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎเพื่อสำรวจและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่ระบุว่าในฐานะที่เป็นเลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางการแก้ไขคนไร้สถานะและสิทธิของบุคคลในประเทศไทย วุฒิสภา และเคยศึกษาเรื่องนี้ พบว่าคนที่มีปัญหาแบบนี้ไม่ได้มีเพียง 450,000 คน ที่มีชื่ออยู่ในกองทุนคืนสิทธิเท่านั้น แต่ยังมีอีกถึง 150,999 คน ที่เป็นปัญหาแบบเดียวกัน

ซึ่งแบ่งออกเป็น 1.กลุ่มที่ตกสำรวจจากกลุ่ม 450,000 คน กล่าวคือ เป็นกลุ่มที่สำรวจพร้อมกันแต่กลับไม่พบชื่อจำนวน 150,535 คน และ 2.กลุ่มคนที่ไม่สามารถพิสูจน์สถานะเกิดได้ แต่ยืนยันว่าเป็นคนไทย เพราะอยู่ในประเทศไทยมานานอีกจำนวน 464 คน

ทั้งหมดนี้ควรจะต้องได้รับการดูแลตาม "สิทธิมนุษยชน" ไม่ใช่ "สิทธิพลเมือง" เพราะการรักษาพยาบาลถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึงมี จึงได้มีการนำเสนอตัวเลขกลุ่มคนรอพิสูจน์สถานะ จำนวน 150,999 คน ให้นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พิจารณาก่อนเสนอ ครม.เพื่อนำเข้าสู่กองทุนคืนสิทธิ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2556 แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่บรรลุเป้าหมาย เนื่องเพราะสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ขอจัดการฐานข้อมูลใหม่ 

ปัจจุบันกองทุนคืนสิทธิดูแลคนกลุ่มรอพิสูจน์สถานะอยู่แล้ว 450,000 คน ใช้งบประมาณปีละ 900 ล้านบาท หาก ครม.พิจารณาให้มีการเพิ่ม 150,999 คน เข้ากองทุนดังกล่าว คาดว่ารัฐบาลจะเพิ่มวงเงินอีกเพียง 57.5 ล้านบาทเท่านั้น เพื่อแลกกับการที่คนเหล่านี้จะได้รับการบริการด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานเหมือนคนอื่นๆ ซึ่งนอกจากคนกลุ่มนี้จะได้สิทธิขั้นพื้นฐานเหมือนคนอื่นๆ แล้ว ประโยชน์ทางด้านสาธารณสุขที่ประเทศจะได้

นั่นคือ 1.สามารถควบคุมและป้องกันโรคติดต่อตามแนวชายแดนได้ดียิ่งขึ้น และ 2.ลดภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของคนไทยได้อีกมหาศาล

ปัญหาคือ เรื่องนี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ทั้งสภา ความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการคลัง ที่จะต้องมานั่งจับเข่าคุยกันเพื่อแยกแยะผู้มีสิทธิในแต่ละกองทุนรักษาพยาบาล จัดทำตัวเลขที่ชัดเจน และจัดทำงบประมาณสำหรับดูแล

เรื่องแบบนี้ไม่ว่ารัฐบาลชุดไหนก็สนใจ อยากกระโดดเข้ามาดูแลกันทั้งนั้น

ติดอยู่ที่ว่า วันนี้...เรายังมีแต่รัฐบาลรักษาการ

ที่มา--มติชน ฉบับวันที่ 15 มี.ค. 2557 (กรอบบ่าย)--