ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 ได้มีการนำเสนอผลงานวิจัย วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ เรื่อง “พัฒนศาสตร์ กับการอยู่ร่วมกันในสังคมที่ (ไม่) เป็นธรรม” ณ ห้องประชุมบุญชู โรจนเสถียร อาคารอเนกประสงค์1 ชั้น 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ซึ่งมีชุดโครงการวิจัย เรื่อง”คนไทยกับแรงงานข้ามชาติ การอยู่ร่วมกันอย่างมีจริยธรรม” ภายใต้หัวข้อ “การอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม”

ดร.สร้อยมาศ รุ่งมณี วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ได้ทำงานวิจัยเรื่อง “เหตุผลศีลธรรมการอยู่ร่วมกันและการจ้างงานแรงงานเพื่อนบ้านของผู้ประกอบการขนาดเล็ก-กลาง ในชุมชนริมน้ำแม่กลอง” ซึ่งเป็นการศึกษาเหตุผลเชิงศีลธรรมของผู้ประกอบการในการปฏิบัติตามกฎหมายการจ้างงาน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม และทำความเข้าใจข้อจำกัดในการพัฒนาจริยธรรมของการอยู่ร่วมกันของผู้ประกอบการและแรงงานเพื่อนบ้าน เพื่อสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่จะบรรเทาความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกัน คำจำกัดความของการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของงานวิจัยได้แก่ การที่บุคคลใช้เหตุผลในการเลือกที่จะกระทำหรือเลือกที่จะไม่ทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมีแรงจูงใจที่จะอยู่เบื้องหลังการกระทำในกรณีผู้ประกอบการไทยกับแรงงานเพื่อนบ้าน จริยธรรมเบื้องต้นของผู้ประกอบการถูกกำกับไว้ด้วยกฎหมายการจ้างงานและแนวทางการปฏิบัติที่ดี อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ตั้งคำถามถึงข้อจำกัดของการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว และพิจารณาคำว่า “จริยธรรม” กว้างขึ้นกว่าจริยธรรมเบื้องต้นของผู้ประกอบการที่ถูกกำหนด โดยกฎหมายแรงงาน หรือ “จริยธรรมที่เหนือกว่ากฎหมายกำหนด” งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า ขณะที่ผู้ประกอบการต้องการแรงงาน ส่วนแรงงานเพื่อนบ้านต้องการรายได้ ความสัมพันธ์ทางสังคมที่วางอยู่บนพื้นฐานการแลกเปลี่ยนด้วยเงินตราก็ดูสมเหตุ สมผลดีแล้ว แต่ในความจริง พฤติกรรมการเลือกที่จะทำหรือไม่กระทำการใดๆของมนุษย์มีความซับซ้อนและอาจผสมผสานกันระหว่างความต้องการลงมือทำเพราะเห็นว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งดีหรือเกิดจากความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ หรือลงมือทำเพราะสิ่งนั้นสร้างประโยชน์ตอบแทนให้กับตนเองไม่มากก็น้อยก็ได้

จากการเก็บข้อมูลผู้ประกอบการจำนวน 4 กิจการ แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการมีความพยายามจะปฏิบัติตามกฎหมายแต่ทำไม่ได้ตามข้อจำกัดในเรื่องลักษณะกิจการตนเอง ระบบการจัดการลงทะเบียนแรงงานของรัฐ และปัจจัยเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ประเทศไทยที่มีลักษณะผสมผสานทั้งแรงงานที่มาแบบถูกกฎหมายและแรงงานที่ลักลอบเข้าเมืองซึ่งตัวผู้ประกอบการตระหนักถึงปัจจัยเหล่านี้ และพยายามสร้างสวัสดิการที่นอกเหนือไปจากที่กฎหมายกำหนด เช่น ที่อยู่อาศัยฟรี การดูแลบุตรหลานด้านการศึกษา การคลอดบุตร การให้รางวัลช่วงเทศกาลเหมือนกับครอบครัวเดียวกัน กินอาหารร่วมกัน มีความยืดหยุ่นในการทำงาน สามารถพักได้เป็นช่วงเพื่อทำภารกิจ สูบบุหรี่ ดูแลลูก จากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการบางรายมีความคิดที่จะพัฒนาระบบสวัสดิการให้แรงงานเพื่อนบ้าน ที่มาของความคิดดังกล่าวผ่านการเรียนรู้จากการจ้างแรงงานพม่ามาเป็นระยะเวลานานเป็นสิบปี บางรายเน้นจ้างแรงงานที่มาทั้งครอบครัว เพื่อการอยู่นานไม่ย้ายออก และบางรายมีเด็กมาอยู่ด้วยและเด็กบางรายสามารถทำงานได้ ผู้ประกอบการก็ให้ทำงานและจ่ายค่าจ้างให้วันละ 200 บาท ซึ่งผู้ประกอบการก็ทราบว่า เป็นการผิดกฎหมายแต่ก็มองว่า เป็นการให้โอกาสเด็กในการทำงาน ความสัมพันธ์ที่ดีทำให้เปลี่ยนความเชื่อ ความเกรงกลัวจากข่าวเรื่องความขัดแย้ง ความโหดร้ายของแรงงาน การอยู่ด้วยกันนานๆนำไปสู่ความเข้าใจ มีประสบการณ์ดีๆต่อกัน แต่ไม่สามารถลดอคติทางชาติพันธ์ ไม่สามารถมองผ่านแรงงานมีสถานะเท่าเทียม เพราะอย่างไรก็ไม่ใช่คนไทย อุปสรรค์ด้านภาษาไม่มีผู้ประกอบการรายใดพูดภาษาแรงงานเพื่อนบ้านได้ในขณะที่แรงงานเพื่อนบ้านมีความพยายามเรียนรู้ภาษาไทยและปัญหาความแต่ต่างทางวัฒนธรรมในเรื่องความเป็นอยู่และสุขลักษณะ

ทั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอทั้งในส่วนของผู้ประกอบการที่ฝากมา และในส่วนของแรงงานเพื่อนบ้าน ได้แก่ 1 ประเด็นทางกฎหมาย ข้อค้นพบของงานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นมุมของนายจ้างในเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายและแนวปฏิบัติที่ดี นายจ้างไม่ได้ละเมิดกฎหมายเพราะทำให้เสียโอกาสและก่อให้เกิดความยุ่งยาก แต่การปฏิบัติตามกฎหมายควรจะต้องมีการอำนวยความสะดวกโดยภาครัฐควรมีระบบจัดการเรื่องการขึ้นทะเบียน การเข้า การออก ของแรงงานที่มีความยืดหยุ่นขึ้น มีการลดขั้นตอนที่มีความยุ่งยากในการขอใบอนุญาต เข้มงวดกับการทุจริตคอรัปชั่นในผู้บังคับใช้กฎหมาย ควรมีระเบียบที่เอื้อต่อผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง เพราะระเบียบบางอย่างอาจทำได้ยากและเป็นระเบียบสำหรับผู้ประกอบการขนาดใหญ่

ประเด็นต่อมาอคติทางชาติพันธ์ ภาษา และความขัดแย้งทางวัฒนธรรม ควรเริ่มจากการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เช่นปัญหาทางวัฒนธรรมรัฐควรให้ความรู้ทั้งสองฝ่าย นอกจากหเรื่องจริยธรรมทางกฎหมายแล้ว กระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคมน่าจะต้องมีการให้ความรู้กับนายจ้างเรื่องวัฒนธรรมเบื้องต้นนอกจากเรื่องสิทธิแรงงาน การป้องกันการค้ามนุษย์ที่มีการจัดอบรม การพัฒนาฝีมือแรงงานก่อนเข้ามาทำงานในประเทศไทย การปรับสถานภาพให้แรงงานถูกกฎหมาย เรื่องการใช้ห้องน้ำ ความสะอาด เรื่องมารยาทในการอยู่ร่วมกันและภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เรื่องสวัสดิการการศึกษาสำหรับเด็ก เนื่องจากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นข้อจำกัดของนโยบายด้านสิทธิเด็ก และการศึกษาของเด็กแม้ว่าผู้ประกอบการบางรายจะมีการดูแลให้ลูกแรงงานได้เรียนหนังสือ และนโยบายด้านสิทธิเด้กต้องได้รับการศึกษา และบริบทที่ทำให้เด็กต้องเลือกที่จะทำงานแทนการไปเรียนดังนั้นแทนที่จะผลักดันเด็กทุกคนให้เข้าสู่ระบบการศึกษาภาคปกติ อาจต้องดูเรื่องการศึกษานอกนอกโรงเรียน การศึกษาออนไลน์ เป็นต้น

ขอบคุณ voicelabour.og

เรื่องที่เกี่ยวข้อง