ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เด็กโรคสมาธิสั้น จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือจากครอบครัวอย่างเข้าใจ ดังนั้นจุดเริ่มต้นสำคัญของการแก้ปัญหานี้คือ “พ่อแม่ผู้ปกครอง” ที่ควรมีทัศนคติต่อเด็กสมาธิสั้นอย่างถูกต้อง เพื่อลดผลกระทบจากจุดอ่อน และช่วยเสริมการพัฒนาจุดเด่น เพื่อให้เด็กสามารถประสบความสำเร็จ และปรับตัวอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างปกติสุข

DO “ปรับมุมมองใหม่”

- ปัญหาพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น ไม่ใช่

- ความผิดของใคร แต่เป็นภาวะของโรคสมาธิสั้น

- ไม่ควรคาดหวังต่อพฤติกรรมของเด็กสมาธิสั้น เพราะบางพฤติกรรมเด็กไม่สามารถควบคุมได้

- เด็กสมาธิสั้นต้องได้รับการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสม ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน

- ยอมรับในสิ่งที่เด็กเป็น และปรับวิธีการเลี้ยงดูให้เหมาะสม โดยพัฒนาจุดแข็ง มองข้ามจุดอ่อน หรือความล้มเหลวของเด็ก

- เปิดใจรับฟังข้อมูลพฤติกรรมของเด็กจากครู ตลอดจนร่วมหาทางออกในการช่วยเหลือและดูแลร่วมกัน

DON’T “เลิกคิด เลิกทำ”

- ปฏิเสธและไม่ยอมรับว่าเด็กเป็นโรคสมาธิสั้น

- เด็กสมาธิสั้นเป็นเด็กเกเร ไม่เชื่อฟัง ไม่รับผิดชอบ ไม่ตั้งใจเรียน เจตนาสร้างปัญหา และเรียกร้องความสนใจ

- เด็กสมาธิสั้นควรมีพฤติกรรมเหมือนเด็กคนอื่นๆ โดยไม่จำเป็นต้องสอนว่าควรปรับพฤติกรรมอย่างไร

- ละเลย ไม่สนใจ หรือลงโทษเด็กไม่เหมาะสม

- ไม่มีเวลาดูแลเด็กสมาธิสั้น ไม่สามารถจัดการปัญหาพฤติกรรมของเด็กได้

ข้อมูลจาก : คู่มือการคัดกรองและปรับพฤติกรรมเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น สำหรับผู้ปกครอง ส่วนหนึ่งของผลงานวิจัย การพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นแบบบูรณาการระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ปกครอง และครู ในเขตภาคเหนือ , สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

ดาวน์โหลดคู่มือฯ และงานวิจัยของ สวรส. คลิก http://kb.hsri.or.th

หรือสามารถค้นหาและดาวน์โหลดสื่อข้อมูลความรู้เพิ่มเติมได้ทางเว็ปไซต์ www.adhdthailand.com และ www.hsri.or.th

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

คาดมีเด็กไทยป่วยเป็นโรคสมาธิสั้น 1 ล้านคน

สมาธิสั้น-อนาคตยังไม่สั้น ถ้าป้องกันและรักษาอย่างถูกทาง

โรคสมาธิสั้น : เป็นได้ เปลี่ยนได้ ถ้าปรับพฤติกรรม