ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

“หมอธีระวัฒน์” ลั่นไม่ได้ประโยชน์จากบ.ใบยา แต่เป็นการประเมินศักยภาพป้องกันคนไทยจากโรคระบาด โดย คนไทยต้องได้ประโยชน์ที่สุด จากการพัฒนา ตั้งแต่ ต้นน้ำกลางน้ำถึง ปลายน้ำ

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงการทำยาและวัคซีนจากใบพืช ว่า เทคโนโลยีนี้มีมามากกว่า 15 ปีแล้ว และ ทำสำเร็จในการผลิตยาในการรักษาอีโบล่า ยกตัวอย่างเช่นรักษาคนอเมริกันที่ติดเชื้อจากแอฟริกา และกลับมาที่สหรัฐใช้เทคนิคเดียวกันและใช้ในแอฟริกา สิ่งที่ได้จากใบยา ไม่ใช่เป็นยา monoclonal antobody เท่านั้น สามารถ เป็นโปรตีน ที่พัฒนาเป็นชุดตรวจหาเชื้อโรคต่างๆ และรวมทั้งวัคซีน

“ในปี 2011 และ 2012 พี่ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ สภากาชาดไทยได้ทุนสนับสนุนจากกระทรวงกลาโหมสหรัฐในการเตรียมแผนรับมือโรคอุบัติใหม่ ศ. นพ. Michael Callahan harvard และ DARPA ได้แสดงให้เห็นถึงการเตรียมพร้อมการทำยาและวัคซีน จากใบยาหืช ซึ่งกระบวนการในการสกัดให้บริสุทธิ์ไม่ได้ยุ่งยากและไม่ได้เปลี่ยนโครงสร้างของโปรตีนใดๆ และถูก เร็ว ไม่ยุ่งยาก แม้ในกระบวนการวก้ดโปรตีนให้บริสุทธิ์” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

นักวิทยาศาสตร์ของไทย 2 ท่านที่ได้ทำการพัฒนาการผลิตยา และวัคซีน และโปรตีนจาก ใบยาพืช มีประสบการณ์มามากกว่า 12 ปี และรายงานในวารสารระดับโลก เกี่ยวช้องกับการผลิตเซรุ่ม ที่ฉีดแผลเมื่อถูกหมาบ้ากัด รวมยาที่ต่อต้านเชื้อไวรัส มือเท้าปาก EV 71 ( รายละเอียด วารสาร ตีพิมพ์ ภายใต้ชื่อ waranyoo phoolcharoen) และใบยาพืชดังกล่าว ได้สามารถผลิตยา monoclonal antibodies ต่อ โควิด 19 ได้แล้ว ลักษณะเหมือนกับที่พยายามจะใช้พลาสม่าจากคนที่หายจากการเป็นโรคและเอามารักษาคนติดเชื้อ รวมทั้งชุดตรวจ rapid test จากการตรวจเลือดปลายนิ้ว

“หมอไม่ได้มีผลประโยชน์ใดๆทั้งสิ้นกับบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม ซึ่งเป็นบริษัทสตาร์ทอัพ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และถือเป็นหน้าที่ของศูนย์โรคอุบัติใหม่สภากาชาดไทยและจุฬาที่ต้องทำการประเมิน กระบวนการที่จะสามารถป้องกันคนไทยจากโรคระบาดต่างๆได้ และถูกต้อง โดยที่คนไทย “ต้อง” ได้ประโยชน์ที่สุด จากการพัฒนา ตั้งแต่ ต้นน้ำกลางน้ำถึง ปลายน้ำ ในประเทศไทย ไม่ติดสิทธิบัตรใดๆ” ศ.นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว