ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เล็งใช้วัคซีนเข็มสามกระตุ้นภูมิต้านสายพันธุ์เดลต้า ในขณะที่วัคซีนยังคงจำกัดอยู่ในประเทศร่ำรวย ประเทศยากไร้อัตราเข้าถึงวัคซีนแค่ 1% ของจำนวนประชากร WHO วอนชะลอเข็มสามเพื่อการเข้าการเข้าถึงวัคซีนที่เท่าเทียม

สหรัฐอเมริกาประกาศว่าจะสามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ภายในต้นปีหน้า ภายใต้เงื่อนไขที่ประชาขนชาวอเมริกาจะต้องให้ความร่วมมือในการฉีดวัคซีนให้มากกว่านี้ โดยในขณะนี้ 52.1% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศได้รับวัคซีน ถึงแม้ว่าประเทศสหรัฐจะเป็นเจ้าของวัคซีนโควิด-19 รายใหญ่ของโลก ทั้งจากบริษัทไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา แต่เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความร่วมมือในการฉีดวัคซีน

เนื่องจากกังวลเรื่องผลกระทบข้างเคียงในการฉีดวัคซีน แต่หลังจากที่สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ ออกมาให้การรับรองวัคซีนโควิด-19 ของไฟเซอร์เพื่อใช้เป็นการถาวรเหมือนวัคซีนอื่นๆทั่วไป ทางรัฐบาลจึงตั้งความหวังไว้ว่าประชาขนจะให้ความร่วมมือในการฉีดวัคซีนเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม หลังการระบาดอย่างหนักของสายพันธุ์เดลต้า สหรัฐอเมริกาได้เตรียมวัคซีนเข็มที่สามให้กับประชาชน โดยเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกันยายนเป็นต้นไป ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติจากสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐที่กำลังจะพิจารณาว่าควรให้วัคซีนกระตุ้นในกรณีใดบ้าง เบื่องต้นวัคซีนกระตุ้นจะให้กับประชาชนที่ได้รับวัคซีนครบสองเข็มแล้ว เป็นระยะเวลามากกว่า 8 เดือน และอายุ 18 ปีขึ้นไป

ในขณะที่บริษัทไฟเซอร์เองกำลังเตรียมยื่นข้อมูลเพิ่มเติมของประสิทธิภาพของวัคซีนกระตุ้นให้กับสำนักงานอาหารและยาพิจารณา โดยทางบริษัทได้ทำการศึกษาวัคซีนกระตุ้นให้กับผู้ได้รับวัคซีนครบสองเข็มแล้ว จำนวน 306 ราย อายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป และได้รับวัคซีนมาแล้ว 3-8 เดือน พบว่าสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกันได้มากถึง 3.3 เท่า เมื่อเทียบกับภูมิคุ้มกันที่ขึ้นหลังจากได้รับวัคซีนเข็มที่สอง ส่วนผลข้างเคียงนั้น พบว่าไม่มีอะไรแตกต่างจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นอาการมีไข้ ปวดศีรษะ เป็นต้น

ในขณะที่อิสราเอล ประเทศที่มีการฉีควัคซีนให้ประชนมากที่สุดในโลก ได้เริ่มฉีดวัคซีนกระตุ้นตั้งแต่เดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา ได้เปิดเผยผลการศึกษาการฉีดวัคซีนกระตุ้นของไฟเซอร์กับผู้ที่ได้รับวัคซีนจำนวน 149,144 คนอายุ 60 ปีขึ้นไปอย่างน้อยหนึ่งอาทิตย์ เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับวัคซีนสองเข็มในช่วงเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จำนวน 675,630 ราย พบว่า มีคนติดเชื้อ 37 รายในกลุ่มที่ได้วัคซีนกระตุ้น เปรียบเทียบกับอีกกลุ่มหนึ่ง ที่พบผู้ป่วยมากถึง 1,064 คน

อย่างไรก็ตามไม่มีรายงานว่าผู้ที่ติดเชื้อทั้ง 37 รายมีอาการมากน้อยขนาดไหน ทางไฟเซอร์สรุปการศึกษาดังกล่าวว่า วัคซีนกระตุ้นมีประสิทธิผลถึง 86% ในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ชาวอิสราเอลจำนวน 1.1 ล้านคนที่อายุ 50 ปีขึ้นไป และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ได้รับวัคซีนกระตุ้นแล้ว อย่างไรก็ตามรัฐบาลยังคงกังวลกับการระบาดอย่างรวดเร็วของสายพันธุ์เดลต้า เนื่องจากยังมีประชากรอีกกว่า 11% ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีน เนื่องจากวัคซีนสามารถลดอัตราการป่วยรุนแรงได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยอัตราการป่วยรุนแรงพบที่ 172:100,000 ในกลุ่มประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ได้รับวัคซีน เปรียบเทียบกับ 21:100,000 ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีน

หลายประเทศในยุโรปประกาศแผนที่ใช้วัคซีนกระตุ้นให้กับประชาชนของตนเพื่อสกัดกั้นการระบาดของโรคโควิด-19 เยอรมันประกาศว่าจะเริ่มให้วัคซีนกระตุ้นในกลางเดือนหน้าในกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่ได้รับวัคซีนครบจากแอสตร้าเซนิก้า และจอนสัน แอนด์ จอนสัน เนื่องจากประสิทธิภาพของวัคซีนอาจไม่สูงเท่าวัคซีนชนิด mRNA ในขณะที่ฝรั่งเศสประกาศจะฉีดวัคซีนกระตุ้นให้กับคนชราอายุ 75 ปีขึ้นไป และผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านพักคนชรา รวมถึงผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง โดยจะเริ่มฉีดเดือนหน้า เช่นเดียวกับประเทศอังกฤษที่พร้อมจะฉีดวัคซีนบูสเตอร์ทันทีเมื่อได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญก่อน รวมถึงประเทศอื่นๆในยุโรป เช่น อิตาลี ฮังการี และสเปน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่สามนั้น ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาแสดงความเห็นว่า ขณะนี้อาจจะยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมนักในการฉีดวัคซีนกระตุ้น เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการเพียงพอมาสนับสนุนประเด็นดังกล่าว สอดคล้องกับความเห็นของผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก นายเทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ที่ออกมาระบุว่าประเทศร่ำรวยควรชะลอแผนการฉีดวัคซีนกระตุ้นไปก่อน เนื่องจากประเทศที่ยากจนมีอัตราการฉีดวัคซีนที่ต่ำมากเพียง 1-2% ของประชากรเท่านั้น

เขากล่าวว่าปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนโควิดให้ประชากรทั่วโลกไปแล้วราว 4,000 ล้านเข็ม โดยมากกว่า 80% อยู่ในประเทศรายได้สูงถึงปานกลางซึ่งมีประชากรรวมกันไม่ถึงครึ่งหนึ่งของประชากรโลกและประเทศพัฒนาแล้วกำลังเดินหน้าเตรียมฉีดวัคซีนเข็มที่สาม ในขณะที่ประชาชนหลายล้านคนในประเทศรายได้ต่ำหลายประเทศยังรอฉีดวัคซีนเข็มแรกอยู่ ซึ่งมีอัตราการฉีดวัคซีนโควิดที่ต่ำมาก อยู่ที่ 1.5 โดสต่อประชากร 100 คน

ขณะที่ประเทศร่ำรวยมีอัตราการฉีดวัคซีนที่เกือบ 100 โดสต่อประชากร 100 คน ซึ่งยิ่งแสดงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมในด้านวัคซีน เขายังเรียกร้องให้ชงชะลอการฉีดวัคซีนเข็มที่สามไว้อย่างน้อยถึงสิ้นเดือนกันยายน เพื่อให้สามารถทำตามเป้าหมายที่กำหนดไว้แล้ว คือการฉีดวัคซีนให้ประชากรของทุกประเทศในโลกอย่างน้อย 10% เพื่อยับยั้งการระบาดของโรค

จากการศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด พบว่าประสิทธิผลของวัคซีนของไฟเซอร์และแอสตร้าซีนีก้าลดลงต่อสายพันธุ์เดลต้าหลังจากได้รับวัคซีนไปแล้วสามเดือน แต่อย่างไรก็ตามมันยังคงมีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของโรคได้และป้องกันการติดเชื้อได้ในระดับหนึ่ง จึงทำให้หลายประเทศต้องการวัคซีนกระตุ้นเพื่อจำกัดการระบาดในวงกว้างของโรคโควิค-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้มากยิ่งขึ้น

ข้อมูล

“Germany, France and Britain prepare for coronavirus vaccine boosters starting in September” (2021-08-03). the Seattle Times.

“COVID vaccine efficacy wanes, but jabs offer protection: study” (2021-08-19). Aljazeera

“Pfizer seeks U.S approval for COVID vaccine booster” (2021-08-26). Reuters

“Third Pfizer dose 86% effective in over 60s, Israeli HMO says” (2021-08-18). Reuters

“Booster COVID-19 shots should be delayed-WHO director-general” (20211-08-23). Reuters

ภาพ WHO

สามารถอ่านบทความได้ที่ : https://photos.hq.who.int/preview/89623

 

*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org