ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังการกระชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายนว่า เห็นชอบให้ใช้วิธีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ผู้ที่เดินทางมาจาสกต่างปรนะเทศด้วยวิธี RT-PCR ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยให้เริ่มตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป เนื่องจากสถานการณ์ที่เชื้อโควิด-19 มีการกลายพันธ์ เป็นสายพันธ์โอไมครอน ต้องระมัดระวัง

ด้าน นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า จะใช้วิธีตรวจแบบ RT-PCR จนกว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลง หรือทราบข้อมูลว่าโอไมครอนมีผลแพร่กระจายเชื้อเร็วกว่าเดลต้า หรือผู้ป่วยอาการรุนแรงกว่าหรือไม่ โดยติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดจากประเทศที่มีการระบาดเชื้อดังกล่าว สิ่งที่กังวลคือหากมาทางช่องทางธรรมชาติจะไม่ทราบว่าเป็นสายพันธุ์อะไร หากเข้ามาระบาดแล้วตรวจพบทีหลังจะตามหาต้นตอยากขึ้น แต่ถ้าพบที่ต้นตอก็จะจัดการตามมาตรการได้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีย้ำว่าหากตรวจพบต้องรีบรายงานทันทีเพื่อหารือและจะได้ตัดสินใจอย่างรวดเร็วว่าจะมีมาตรการอย่างไร ส่วนการเปิดสถานบันเทิงหากยังไม่พบข้อมูลแพร่ระบาดก็ยังคงทำตามมาตรการเดิม แต่ก็ต้องเฝ้าระวังมากขึ้นและปฏิบัติการป้องกันตัวส่วนบุคคล ซึ่งเป็นไม้ตายในการป้องกันไวรัสทุกสายพันธุ์

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมครม. ว่า ครม.มีมติให้การตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ใช้วิธี RT-PCR ต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ป้องกันมิให้ไวรัสโควิดสายพันธ์โอไมครอนแพร่ระบาดในประเทศไทย เนื่องจากที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค.เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมาให้ใช้แบบ ATK ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคมเป็นต้นไป แต่ด้วยสถานการณ์ปัจจุลบันจึงต้องป้องกันไว้ก่อน ที่ประชุมครม.จึงมีมติให้ดำเนินการตรวจในรูปแบบ RT-PCR ต่อไป

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงอีกว่า ที่ประชุมครม.เห็นชอบในหลักการในการตรวจลงตราวีซาประเภทใหม่ เป็นวีซาเพื่อการรักษาพยาบาล หรือ Medical Treatment Visa เพื่อขับเคลื่อนตามนโยบายผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติหรือเมดิคัลฮับ และรองรับนโยบายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ วีซาชนิดนี้มีอายุ 1 ปี ออกให้กับชาวต่างชาติที่เดินทางมารักษาพยาบาลในประเทศไทยในระยะยาว เพราะที่ผ่านมาผู้ที่จะเดินทางมารักษาพยาบาลในประเทศไทยจะวีซาประเภทท่องเที่ยวซึ่งการต่ออายุวีซาประเภทท่องเที่ยวก็จะเป็นภาระ วีซาเพื่อการรักษาพยาบาลจะเป็นการอำนวยความสะดวก สำหรับผู้ที่ต้องการเข้ามาใช้บริการด้านสาธารณสุขในประเทสไทยรวมทั้งผู้ติดตามอีกไม่เกิน 3 คน อัตราค่าธรรมเนียมการขอวีซารายละ 6,000 บาท หากขออยู่ต่อก็จะมีค่าธรรมเนียมรายละ 1,900 บาทต่อครั้ง

น.ส.รัชดาแถลงว่า นอกจากนี้เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนได้บริจาคให้กับองค์กรซึ่งปฎิบัติหน้าท ทางด้านสาธารณสุข โดยเป็นมาตรการจูงใจให้บริจาคแก่ศิริราชมูลนิธิ และมูลนิธิจุฬาภรณ์ ในรูปแบบบริจาคอิเลคทรอนิกส์(e-Donation) ผู้บริจาคไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป หรือ นิติบุคคล ก็สามารถยื่นขอลดหย่อนภาษีได้ เช่นบุคคลธรรมดาให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนเป็นจำนวน 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค แต่จะต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนภาษี

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ได้สั่งการในที่ประชุมครม.ให้ตรวจหาผู้ติดเชื้ออย่างเข้มงวด เพื่อหาผู้ติดเชื้อโอไมครอนอย่างรวดเร็วที่สุด โดยคงมาตรการเข้มข้นสำหรับการเดินทางเข้าประเทศทางอากาศ ส่วนการเดินทางทางบกและทางเรือสั่งการให้ฝ่ายความมั่นคง และจะลงโทษเจ้าหน้าที่ที่มีการปล่อยปละละเลยเรื่องการเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย และมีการติดตามข้อมูลสายพันธ์โอไมครอนอย่างใกล้ชิดว่ามีคุณสมบัติการแพร่กระจายเชื้อรุนแรงกว่าสายพันธิอัลฟา เบตา หรือผู้ติดเชื้อมีอาการรุนแรงมากกว่าหรือไม่อย่างไร

“ท่านนายกชี้แจงว่าเป็นเรื่องปกติของโรคระบาด เรื่องการกลางพันธ์ของไวรัส เป็นเรื่องที่สังคมโลกต้องพบในการระบาด รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขมีการติดตามการกลายพันธ์ทุกสายพันธ์ โดยมีการตรวจผู้ติดเชื้ออาทิตย์ละ 4-5,000 คนอยู่แล้ว ส่วนผลกระทบต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจได้เตรียมความมาตรการควบคุมป้องกัน การติดตามให้ทันสถานการณ์ การฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมมากขึ้น เพราจะช่วยลดอาการรุนแรงและช่วยลดการเสียชีวิต จะให้ข้อมูลแก่ประชาชนหากพบโอไมครอนอย่างทันท่วงที และขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขเพื่อร่วมมือในการป้องกัน” โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกล่าว

 

ภาพจาก www.thaigov.go.th