ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

รพ.วิมุต เปิดศูนย์ส่องกล้อง หน่วยเฉพาะทางการเคลื่อนไหวระบบทางเดินอาหาร

พฤติกรรมคนเปลี่ยนไป ใช้ชีวิตเร่งรีบ รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา อั้นการขับถ่าย ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญของโรคทางเดินอาหารและตับ รพ.วิมุตจึงผนึกทีมแพทย์ชั้นนำ-เทคโนโลยีทางการแพทย์ทันสมัย ขยายการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคทางเดินอาหาร-ตับ เปิดศูนย์ส่องกล้องและหน่วยเฉพาะทางการเคลื่อนไหวระบบทางเดินอาหาร 

โรงพยาบาลวิมุต เปิดศูนย์ส่องกล้องและหน่วยเฉพาะทางการเคลื่อนไหวระบบทางเดินอาหาร (ENDOSCOPY & GI MOTILITY UNIT) เร่งผลักดันการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคยากและซับซ้อนที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ พร้อมชู 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ การยกระดับการรักษาที่ครอบคลุมด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ การใช้นวัตกรรมที่ทันสมัยเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพสูง และการมอบบริการที่ครอบคลุมทั้งที่โรงพยาบาลและทางออนไลน์ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม เสริมแกร่งระบบบริการของโรงพยาบาล ทั้งการป้องกันโรค ตรวจวินิจฉัย ติดตามอาการ รายงานผล และรักษาให้สะดวกรวดเร็ว ภายใต้สโลแกน "เพราะความใส่ใจ...ไม่ใช่แค่คําพูด" พร้อมก้าวสู่การเป็นโรงพยาบาลที่มีศูนย์การแพทย์เฉพาะทางครบครัน

"รพ.วิมุต เปิดศูนย์ส่องกล้อง หน่วยเฉพาะทางการเคลื่อนไหวระบบทางเดินอาหาร"

นพ.สมบูรณ์ ทศบวร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวิมุต กล่าวว่า รพ.วิมุต ตระหนักถึงสถานการณ์ของโรคระบบทางเดินอาหารและตับที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเกิดจากหลากหลายปัจจัยเสี่ยง ทั้งพฤติกรรมการใช้ชีวิต สิ่งแวดล้อม รวมถึงพันธุกรรม จึงเปิดศูนย์ส่องกล้องและหน่วยเฉพาะทางการเคลื่อนไหวระบบทางเดินอาหาร ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการตามมาตรฐานสากล ด้วยบริการที่สะดวกสบายและไร้รอยต่อทั้งในโรงพยาบาลและผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลทางแอปพลิเคชั่น “ViMUT App” เพื่อการดูแลผู้ป่วยอย่างครอบคลุมทุกมิติภายใต้แนวคิด “อีกระดับของการรักษา...ด้วยความใส่ใจ” สามารถให้การรักษาและการวินิจฉัยปัญหาที่เกี่ยวกับโรคทางเดินอาหารและตับต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพของคนไทยจำนวนมาก เช่น 

  1. โรคกรดไหลย้อน 
  2. ท้องผูก 
  3. โรคลำไส้แปรปรวน 
  4. กลั้นอุจจาระไม่ได้ 
  5. กลืนลำบาก 
  6. โรคกระเพาะ 
  7. โรคนิ่วในถุงน้ำดี 
  8. โรคไวรัสตับอักเสบ 
  9. โรคไขมันเกาะตับ 
  10. โรคตับแข็ง 
  11. โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร 
  12. โรคมะเร็งตับ
  13. โรคมะเร็งลำไส้  

"รพ.วิมุต เปิดศูนย์ส่องกล้อง หน่วยเฉพาะทางการเคลื่อนไหวระบบทางเดินอาหาร"

“เราพร้อมเดินหน้าส่งเสริมสุขภาพของประชาชนคนไทย ด้วยการตรวจที่ช่วยให้ตรวจเจอโรคได้ไว การรักษาที่ตรงจุด ให้ผู้ป่วยมีโอกาสหายและกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติโดยเร็ว จุดแข็งของศูนย์ทางเดินอาหารและตับของโรงพยาบาลวิมุต คือ ความลงตัวและความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคทางเดินอาหารด้วยการตรวจหาสาเหตุตั้งต้นของโรค และการรักษาในเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการรักษาโรคระบบทางเดินอาหารและตับที่มีความยากและซับซ้อน รวมถึงโรงพยาบาลวิมุตมีทีมงานในทุกศูนย์เฉพาะทางพร้อมประสานงานกันเพื่อร่วมดูแลผู้ป่วยอย่างครบครันและส่งต่อการรักษาได้อย่างราบรื่น ทำให้สามารถรักษาโรคทางเดินอาหารต่างๆที่ซับซ้อนได้อย่างมั่นใจ" นพ.สมบูรณ์ เสริม

ด้านนพ.กุลเทพ รัตนโกวิท แพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบทางเดินอาหารและตับ ระบบประสาทและการเคลื่อนไหวทางเดินอาหาร หัวหน้าศูนย์ทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลวิมุต กล่าวถึงความท้าทายในการรักษาโรคระบบทางเดินอาหารและตับว่า โรคทางเดินอาหารและตับเป็นภัยเงียบที่อาจมาเยือนได้โดยไม่รู้ตัว จึงต้องสังเกตอาการเจ็บป่วย เช่น 

  • แสบยอดอก 
  • กลืนลำบาก 
  • ปวดท้อง 
  • ท้องอืด 
  • อาหารไม่ย่อย 
  • ขับถ่ายไม่ปกติ 

"รพ.วิมุต เปิดศูนย์ส่องกล้อง หน่วยเฉพาะทางการเคลื่อนไหวระบบทางเดินอาหาร"

"โรคของระบบทางเดินอาหารส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรม เพราะในปัจจุบันคนเร่งรีบมากขึ้น อาจอั้นการขับถ่าย รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือทานอาหารช่วงเย็นแล้วเข้านอนเร็ว ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ รวมถึงสภาวะจิตใจ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ก็ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเช่นกัน อย่างไรก็ตาม คนไข้ที่เข้ามารับบริการส่วนใหญ่มาทุกระยะ ตั้งแต่เริ่มมีอาการป่วย ไปจนถึงอาการเริ่มรุนแรง แต่อยากให้มารักษาตั้งแต่เริ่มเกิดอาการ เรื่องนี้ผู้ป่วยต้องเข้าใจและหมั่นสังเกตอาการตนเอง สำหรับโรคที่พบบ่อยในเพศหญิง ได้แก่ ท้องผูกและลำไส้แปรปรวน ส่วนโรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร และท้องผูก กลุ่มอายุจะกว้างมาก พบได้ตั้งแต่ 17-80 ปี" นพ.กุลเทพ เสริม

นพ.กุลเทพ ย้ำด้วยว่า หากไม่รีบเข้ามารับการรักษา อาการอาจเรื้อรัง ก่อให้เกิดผลแทรกซ้อน หรือ มีความรุนแรงขึ้นจนอันตรายถึงชีวิตได้ โรคบางชนิดมีอาการแทรกซ้อนอยู่มากมาย จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่ละเอียดแม่นยำ โดยทีมแพทย์ที่โรงพยาบาลวิมุต เน้นการตรวจอย่างละเอียดและตรงจุด นำเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัยมาดูแลทุกคนในครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ 

  • Anorectal Manometry และ Biofeedback Therapy ในผู้ป่วยท้องผูก หรือกลั้นอุจจาระไม่ได้ 
  • Esophageal Manometry ในผู้ป่วยที่มีภาวะ กลืนลำบาก เจ็บหน้าอกที่ไม่ได้มาจากโรคหัวใจ หรือก่อนการผ่าตัดรักษาหูรูดหลอดอาหาร 
  • การวัดกรดในหลอดอาหาร (PH Monitoring) ในผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาแล้วไม่ดีขึ้นหรือ อาการไม่ชัดเจน 
  • การส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร
  • การตรวจ colonic transit study ในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะลำไส้เคลื่อนตัวช้า
  •  การตรวจหาภาวะพังผืดในเนื้อตับและตรวจวัดปริมาณไขมันสะสมในตับ (Fibro Scan) 
  • การคัดกรองมะเร็งทางเดินอาหาร 

เนื่องด้วยปัจจุบันมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประเทศไทยพบมากเป็นอันดับ 2 ในเพศหญิง และอันดับ 3 ในเพศชาย และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้จะสามารถป้องกันหรือช่วยให้ตรวจพบมะเร็งระยะเริ่มต้นได้ ช่วยให้รักษาอย่างทันท่วงที

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : “หมอสมศักดิ์” เผย เทรนด์ธุรกิจสุขภาพ ตามความต้องการของแต่ละเจน

 

 

*สามารถกดติดตาม และแชร์ข่าวสำนักข่าว Hfocus ที่ https://www.facebook.com/Hfocus.org