ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

เช็กฝุ่น PM 2.5 เช้านี้ พบ จัตรตุจักร กรุงเทพมหานคร ติดอันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศสูงอันดับที่ 5 ของโลก โดยมีค่าฝุ่น PM 2.5 อยู่ที่ 149 AQI

จากกรณีกลางดึกเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 67 ที่ผ่านมา โซเชียลฯ เผยข้อมูลพบกลิ่นไหม้ ฝุ่นPM 2.5 กรุงเทพ นนทบุรี ปริมณฑล ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 00.32 น.(เวลาท้องถิ่น) ของวันที่ 21 มีนาคม เว็บไซต์  iqair รายงานสถานการณ์อัปเดตว่า กรุงเทพมหานคร ติดอันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศสูงอันดับที่ 3 ของโลก  โดยมีค่าฝุ่นPM 2.5 อยู่ที่ 168 AQI ซึ่งมีผลกระทบต่อทุกคน

ล่าสุด วันที่ 21 มีนาคม 2567 เวลา 8.00 น.(เวลาท้องถิ่น)  เว็บไซต์  iqair รายงานสถานการณ์อัปเดตว่า จัตรตุจักร กรุงเทพมหานคร ติดอันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศสูงอันดับที่ 5 ของโลก  โดยมีค่าฝุ่นPM 2.5 อยู่ที่  149 AQI ซึ่งมีผลกระทบต่อผู้ป่วยทุกคนที่ร่างกายอ่อนแอ

ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอรายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร

: ประจำวันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)

: ตรวจวัดได้ 26.8-58.1ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 25 พื้นที่ คือ
1.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 58.1 มคก./ลบ.ม.
2.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 57.8 มคก./ลบ.ม.
3.เขตมีนบุรี สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 ตรงข้ามสำนักงานเขตมีนบุรี : มีค่าเท่ากับ 57.1 มคก./ลบ.ม.
4.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 55.8 มคก./ลบ.ม.
5.เขตจตุจักร บริเวณด้านหน้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ : มีค่าเท่ากับ 53.5 มคก./ลบ.ม.
6.สวน 60 พรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 53.3 มคก./ลบ.ม.
7.เขตคันนายาว บริเวณปากทางถนนสวนสยามตัดกับถนนรามอินทรา : มีค่าเท่ากับ 52.6 มคก./ลบ.ม.
8.เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต : มีค่าเท่ากับ 50.6 มคก./ลบ.ม.
9.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 50.0 มคก./ลบ.ม.
10.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 49.0 มคก./ลบ.ม.
11.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 47.6 มคก./ลบ.ม.
12.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 47.2 มคก./ลบ.ม.
13.เขตสะพานสูง ภายในสำนักงานเขตสะพานสูง : มีค่าเท่ากับ 46.3 มคก./ลบ.ม.
14.เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 46.1 มคก./ลบ.ม.
15.เขตดอนเมือง ด้านข้างสำนักงานเขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 45.5 มคก./ลบ.ม.
16.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 44.6 มคก./ลบ.ม.
17.สวนพระนคร เขตลาดกระบัง : มีค่าเท่ากับ 43.6 มคก./ลบ.ม.
18.เขตลาดพร้าว ภายในสำนักงานเขตลาดพร้าว : มีค่าเท่ากับ 43.4 มคก./ลบ.ม.
19.เขตห้วยขวาง ภายในสำนักงานเขตห้วยขวาง (ด้านข้างโรงเพาะชำ) ถนนประชาอุทิศ : มีค่าเท่ากับ 43.1 มคก./ลบ.ม.
20.เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 42.9 มคก./ลบ.ม.
21.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 42.1 มคก./ลบ.ม.
22.เขตวัฒนา ตรงข้าม noble Reveal(ข้าง MK gold restaurants) : มีค่าเท่ากับ 42.1 มคก./ลบ.ม.
23.เขตพญาไท หน้าแฟลตทหารบกใกล้โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ตรงข้ามกระทรวงการคลัง : มีค่าเท่ากับ 41.9 มคก./ลบ.ม.
24.เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 40.8 มคก./ลบ.ม.
25.เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 37.8 มคก./ลบ.ม.

ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร
: ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

สำหรับข้อแนะนำสุขภาพ ประชาชนทั่วไปใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคารจำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมากควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา และประชาชนกลุ่มเสี่ยงใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคารเลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่  

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา) ในช่วงวันที่ 21-27 มี.ค. 67 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดี สภาวะอากาศใกล้ผิวพื้นมีลักษณะเปิดสลับปิด และมีโอกาสเกิดฝนตกช่วงวันที่ 20-21 มี.ค. 67 ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มทรงตัวถึงลดลง และคาดการณ์วันนี้มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ 

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร

สำนักสิ่งแวดล้อมได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน และขอเชิญชวนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและทุกภาคส่วน โดยช่วยกันปรับเปลี่ยน พฤติกรรมและลดกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดฝุ่นละออง เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพ “5 วิธีลดฝุ่น คุณก็ทําได้” 1. หมั่นทําความสะอาดบ้านด้วยวิธีเช็ดฝุ่น 2. งดเผาขยะ งดจุดธูป 3. ปลูกต้นไม้ช่วยดูดซับมลพิษดักจับฝุ่นละออง 4. เดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ และ 5. ดับเครื่องยนต์ขณะจอดรถ ตรวจสภาพเครื่องยนต์ไม่ให้มีค่าควันดํา เกินมาตรฐาน

แจ้งเตือนรวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง
     - แอปพลิเคชัน AirBKK
     - www.airbkk.com
     - FB: สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
     - FB: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม
     - FB: กรุงเทพมหานคร
     - แอปพลิเคชัน AirBKK
     - LINE ALERT

ทั้งนี้ กรณีประชาชนพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแสผ่านทาง Traffy Fondue

รายงานข้อมูลโดย: ทีมโฆษกศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร แหล่งข้อมูล: ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร กรมอุตุนิยมวิทยา และสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

 

 

อ่านข่าวเกี่ยวข้อง 

กลิ่นไหม้ทั่วกทม.ปริมณฑล ล่าสุด IQAir เผยกรุงเทพ ติดอันดับ 3 เมืองมลพิษสูงของโลก