ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

คนไทย 3.6 แสนคนเป็นออทิสติกแต่มีบัตรผู้พิการแค่ 4,000 คน เฉลี่ยเด็กพันคนป่วย 6 แนะพ่อแม่สังเกตใช้หลัก " 4 อ"

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม นายชูศักดิ์ จันทยานนท์ ประธานมูลนิธิออทิสติกไทย กล่าวถึงสถานการณ์และแนวโน้มของคนเป็นออทิสติกว่า ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 35 ล้านคน ขณะที่ประเทศคาดว่ามีประมาณ 3.7 แสนคนและจากสถิติปี 2555 เฉลี่ยนเด็กไทยใน 1,000 คน พบว่าเป็นออทิสติกถึง 6 คน ซึ่งถือเป็นอัตราส่วนที่สูงมาก และเพิ่มขึ้นทุกปี แต่จากการประกาศของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2555 กำหนดให้บุคคลออทิสติกเป็นประเภทความพิการด้วย เพื่อจะได้รับสิทธิบริการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ กลับพบว่ามีคนเป็นออทิสติกมาแสดงตนขอมีบัตรประจำตัวผู้พิการประมาณ 4,000 รายเท่านั้น

นายชูศักดิ์ กล่าวว่า สาเหตุที่ผู้เป็นออทิสติกมาลงทะเบียนน้อยคาดว่าเกิดจาก3 เหตุผลหลัก คือ 1.เอกสารรับรองความพิการของกระทรวงสาธารณสุขยังไม่ชัดเจน เนื่องจากยังคงระบุรวมบุคคลออทิสติกไว้ในกลุ่มความพิการทางจิตใจ ซึ่งทำให้ข้อมูลคลาดเคลื่อน 2.ผู้ปกครองยังไม่รู้สิทธิ หรือยังมีมุมมองกับคำว่าพิการไม่ชัดเจน บางคนมองว่าเป็นการตีตราเด็ก จึงไม่นำเด็กเข้าระบบ และ 3.แพทย์ยังมีความลังเลในการวินิจฉัยรับรองว่าเด็กมีความบกพร่องด้านใด ทำให้เด็กเข้าไม่ถึงสิทธิ และบริการต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาฟื้นฟูสมรรถภาพร่องด้านใด ทำให้เด็กเข้าไม่ถึงสิทธิ และบริการต่างๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาฟื้นฟูสมรรถภาพ

"จากการเข้าร่วมประชุมจัดทำแผนสนับสนุนการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้คนพิการและทุกคนในสังคมเข้าถึงและใช้ประโยชน์ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้นำเสนอเรื่องดังกล่าวให้ที่ประชุมรับทราบแล้ว และหวังว่าจะได้รับการพิจารณาใบบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ที่จะมีขึ้นในช่วงของการจัดกิจกรรมคิกออฟ เปลี่ยนภาระเป็นพลัง สร้างสังคมเพื่อทุกคน ระหว่างวันที่ 19-21 เมษายน เพื่อผลักดันกฎหมายคนพิการให้การมีให้มีความชัดเจน และพัฒนาระบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตบุคคลออทิสติกอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป" นายชูศักดิ์ กล่าว

นายชูศักดิ์ กล่าวอีกว่า บุคคลออทิสติก จะเห็นชัดในช่วงวัยเด็กอายุ 3-4 ขวบ หากพบเด็กมีปัญหาทั้ง 3 ด้าหลัก ได้แก่ ด้านปฏิพันธืทางสังคม ด้านภาษาและการสื่อสาร และด้านพฤติกรรมและอารมณ์ ให้สันนิษฐานได้ว่า เด็กอาจเป็นออทิสติก และหลักสำคัญในการช่วยเหลือเด็กออทิสติก และหลักสำคัญในการช่วยเหลือเด็กออทิสติดให้สำเร็จในการช่วยเหลือเด็กออทิสติก และหลักสำคัญในการช่วยเหลือเด็กออทิสติกให้สำเร็จ คือ การฝึกกระตุ้นพัฒนาการอย่างถูกต้อง โดยผู้ปกครองจะต้องยอมรับและเข้าใจ และแนะนำให้ผู้ปกครองใช้หลัก 4 อ.คือ อดทน อบอุ่น เอาใส่ใจ ให้โอกาสเพื่อเป็นแนวทางในการฝึก

สำหรับระดับอาการออทิสติก จำแนกได้ 3 ระดับ คือ 1.ระดับกลุ่มที่มีอาการน้อย (Mildautism) หรือ กลุ่มออทิสติกที่มัศักยภาพสูง จะมีพัฒนาการทางภาษาดีกว่ากลุ่มอื่น แต่ยังมีความบกพร่องในทักษะทางด้านสังคม การรับรู้อารมณ์ความรู้สึกของบุคคลอื่น 2.ระดับกลุ่มที่มีอาการปานกลาง (Moderate autism) ในกลุ่มนี้จะมีพัฒนาการล่าช้าทางเด่นภาษา การสื่อสาร ทักษะทางด้านสังคม และการช่วยเหลือตัวเอง ตลอดจมีปัญหาพฤติกรรมกระตุ้นตนเอง 3.ระดับที่มีอาการรุนแรง (Severe autism) ในกลุ่มนี้จะพัฒนาการล่าช้าเกือบทุกด้าน และอาจมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น ปัญญาอ่อน รวมไปถึงมีพฤติกรรมที่รุนแรง

นายชูศักดิ์ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันมูลนิธิออทิสติกไทยมีศูนย์ส่งเสริมทักษะบุคคลออทิสติก จำนวน 8 แห่ง และในปี 2556 มีแผนขยายเพิ่มอีก 12 แห่ง โดยสามารถช่วยฝึกเด็กออทิสติกได้ปีละกว่า 1,00 คน นอกจากดนี้ยังทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนาระบบบริการแก่เด็กและบุคคลออทิสติก เช่น โครงการห้องเรียนคู่ขนานในโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา การจัดตั้งศูนย์การเรียนออทิสติกไทย (กศน.)

อย่างไรก็ตาม องค์การสหประชาชาติกำหนดให้วันที่ 2 เมษายนของทุกปี เป็นวันรณรงค์ตระหนักรู้ออทิสติกโลก (World Autism Awareness Day : WAAD) มูลนิธิออทิสติกไทย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ จะร่วมกันจัดงานสัปดาห์วันออทิสติกโลก เพื่อให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญและดูแลบุคคลออทิสติก ตลอดจนให้ความรู้เข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องออทิสติกระหว่างวันที่ 1-4 เมษายน ณ โรงแรมทีเคพาเลซ ถนนแจ้งวัฒนะ-

ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก วันที่ 29 มีนาคม 2556