ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบูมสุดตลาดพุ่ง1.4แสนล้านโรงพยาบาลเอกชนรับทรัพย์7หมื่นล้านบาท'ยันฮี-เวชธานี'งัดเครื่องมือดึงต่างชาติเข้าใช้บริการ'กูเกิล'เผยช่องทางออนไลน์ขยายตลาดได้ทั่วโลกด้าน'ททท.'เดินหน้าเปิดเวทีเจรจาธุรกิจเพื่อสุขภาพเชื่อมท่องเที่ยวไทย

ยันฮีตั้งเป้าลูกค้าต่างชาติเพิ่ม 10% ทุกปี

นายแพทย์สุพจน์ สัมฤทธิวณิชชา  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยันฮีเปิดเผย"สยามธุรกิจ" ว่า ในปีที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ป่วยชาวต่างชาติทั้งหมด 35,830 คน คิดเป็น20%ของผู้ป่วยทั้งหมดชาวจีนถือเป็นลูกค้าต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการในยันฮีมากที่สุด คือจีน4,749 คน รองลงมาคือออสเตรเลีย3,246คนและญี่ปุ่น2,272 คน และคาดว่าในปีนี้สัดส่วนของลูกค้าต่างชาติจะเพิ่มเป็น 30% ในปีที่ผ่านมายันฮีมีรายได้  1.2 พันล้านบาทเป็นจากการเข้าใช้บริการของชาวต่างชาติอยู่ที่ 360 ล้านบาท

ปัจจัยหลักที่นักท่องเที่ยวต่างชาติเลือกใช้บริการสุขภาพและความงามในเมืองไทย คือราคาซึ่งถูกกว่าในต่างประเทศเช่น US หรือ EU 5-10 เท่านอกจากนี้ร.พ.เอกชนในไทยยังได้รับการรับรองมาตรฐานJCI-Joint Commission Internationalทำให้ชาวต่างชาติมีความเชื่อมั่น

หากเปรียบเทียบเป็นเคสจะพบว่าการใช้บริการในเมืองไทยมีราคาที่ถูกกว่าประเทศฝั่งตะวันตกอย่างชัดเจนอาทิค่ารักษาผ่าตัดบายพาสหัวใจ อเมริกา 4.3 ล้านบาท ไทย 7.8 แสนบาท หรือเปลี่ยนข้อเข่าในอเมริกาอยู่ที่ 1.5 ล้านบาท ไทย4.2 แสนบาท

สำหรับคู่แข่งที่สำคัญของธุรกิจสุขภาพและความงามของไทยคือสิงคโปร์เนื่องจากมีมาตรฐานและศักยภาพสูงเช่นกัน แต่ไทยยังได้เปรียบด้านราคา ทั้งนี้โรงพยาบาลยันฮีมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนผู้ป่วยต่างชาติเพิ่มขึ้น10%ทุกปีซึ่งทางโรงพยาบาลเตรียมการด้านสถานที่และวางแผนด้านบุคลากรและอุปกรณ์ไว้แล้ว

เวชธานีเผยค่าใช้จ่ายหลักหมื่นถึงล้าน

ดร.ชาคริตศึกษากิจหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลเวชธานีเปิดเผย"สยามธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันโรงพยาบาลเวชธานีมีสัดส่วนรายได้ที่มาจากลูกค้าต่างชาติอยู่ที่50:50แต่สัดส่วนของคนไข้ที่มาใช้บริการระหว่างไทยกับต่างชาติจะอยู่ที่70:30ซึ่งเมื่อเทียบกับจำนวนคนไข้ตัวเลขรายได้จากลูกค้าต่างชาติจะเห็นว่าสูงเพราะส่วนใหญ่ที่มาจะทำการรักษาโรคที่ซับซ้อนมากกว่าซึ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลนั้นอยู่ที่ 20,000 ถึงหลักล้านบาทขึ้นไปต่อคน

ด้านการตลาด โรงพยาบาลเวชธานีใช้Internet Marketingเป็นเครื่องมือสื่อสารการตลาดสำหรับชาวต่างชาติ

อีกทั้งยังมีการร่วมมือในด้านการตลาดกับบริษัทต่างชาติมาเป็นเวลานานจึงมีกลุ่มลูกค้าต่างชาติ โดยเฉพาะแถบตะวันออกกลางเป็นส่วนใหญ่อย่าง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, โอมาน, กาตาร์, คูเวตเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ส่วนของลูกค้าในอาเซียน ที่มาแรงคือ พม่า กัมพูชาและประเทศอื่นๆ เช่น ออสเตรเลีย รัสเซียนิวซีแลนด์ อเมริกา สหราชอาณาจักร และประเทศในแถบแอฟริกา

ดร.ชาคริต กล่าวว่าในแถบอาเซียนมาเลเซียและสิงคโปร์มีความแข็งแกร่งมากในธุรกิจสุขภาพเนื่องจากมีรัฐบาลเป็นผู้นำในการบุกตลาดต่างชาติแต่สำหรับประเทศไทยนั้นเอกชนเป็นผู้บุกตลาดซึ่งปัจจัยเรื่องงบประมาณสำหรับการผลักดันธุรกิจนั้นไม่คงที่เท่ากับการได้รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุน เพราะจะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เร็วและแรงกว่าถ้าประเทศไทยอยากบุกตลาดธุรกิจเพื่อสุขภาพอย่างจริงจังองค์กรของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบจะโปรโมตอย่างเดียวไม่ได้แต่ต้องอำนวยความสะดวกในเรื่องการทำวีซ่าของผู้ป่วยญาติ และผู้ติดตาม ทั้งในกลุ่มลูกค้าที่ต้องรีบมารักษาทันที และกลุ่มที่อยู่ในเมืองไทยอยู่แล้ว จึงจะสู้กับประเทศอื่นได้

กูเกิลแนะตลาดออนไลน์ดึงลูกค้าทั่วโลก

นางสาวพรทิพย์กองชุนหัวหน้าฝ่ายการตลาด กูเกิล(Google)ประเทศไทยเปิดเผย"สยามธุรกิจ"ว่ากลุ่มธุรกิจสุขภาพและความงาม เป็นกลุ่มที่เหมาะสมกับการใช้เครื่องมือตลาดออนไลน์เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวซึ่งมีผู้คนจากทั่วโลกให้ความสนใจอีกทั้งคุณภาพและราคาของบริการด้านสุขภาพและความงามยังดึงดูดให้ลูกค้าจากทั่วโลกเข้าใช้บริการ ทั้งนี้ การค้นหาข้อมูลผ่านกูเกิลเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่ลูกค้าจากทั่วโลกเลือกใช้ในการค้นหาข้อมูลก่อนเข้ามาใช้บริการ

ปัจจุบันกูเกิลมีผู้เข้าใช้งานทั่วโลก8,000ล้านครั้งต่อวัน สำหรับประเทศไทยกูเกิลคือสิ่งแรกที่คนไทยนึกถึงเมื่อต้องการค้นหาสิ่งต่างๆในอินเตอร์เน็ต ส่งผลให้มีส่วนแบ่งการตลาดเว็บไซต์สำหรับการค้นหา (serch engine)ในเมืองไทยถึง 99% โดยปีที่ผ่านมาช่องทางการค้นหา(serch)ของกูเกิลมีคนไทยเข้าใช้1ล้านครั้งต่อชั่วโมงเป็นอัตราที่เติบโต 40% ต่อปี และคาดว่าปีนี้การเติบโตจะเพิ่มขึ้นถึง50%โดยเฉพาะการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือโดยสัดส่วนการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือและเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะมีสัดส่วน50:50

กูเกิล มีเครื่องมือการสำรวจตลาดที่ชื่อว่าGoogleTrendเปิดใช้ฟรีสำหรับการค้นหาข้อมูลต่างๆ และ Google GlobalMarketing สำหรับการสำรวจและวางแผนตลาดซึ่งตัวอย่างจากการสำรจความสนใจด้านบริการด้านสุขภาพและความงามพบว่า มากกว่า 50%ใช้กูเกิลสำหรับการหาข้อมูล และ 32% ใช้ในการช่วยตัดสินใจ สำหรับคนที่ค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพในกูเกิลมากกว่า50%เป็นผู้ที่ศึกษาแล้วมีการปฏิบัติตามอีกทั้งยังมีการหาข้อมูลเพิ่มเติมจากที่ได้รับสำหรับการตัดสินใจจำนวนการค้นหา1-4ครั้งอาจยังไม่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการหรือทำสิ่งที่เจ้าของเว็บไซต์ต้องการให้มีการตอบสนองเช่นสมัครสมาชิกดาวน์โหลดเอกสาร หรือจองการใช้บริการฯลฯ แต่ผู้ที่มีการค้นคว้าข้อมูล14ครั้งขึ้นไปจะมีการตอบสนองต่อสิ่งที่เจ้าของเว็บไซต์นั้นๆต้องการดังนั้นกูเกิลซึ่งมีบริการสำหรับการค้นหาแบบทั่วไป ซึ่งคำนวณโดยระบบปกติที่ไม่สามารถควบคุมด้านเนื้อหาได้แล้ว ยังมีบริการโปรโมตเว็บไซต์นำเสนออยู่ในตำแหน่งด้านบน ด้านขวา และด้านล่าง ซึ่งมองเห็นได้เป็นลำดับต้นๆในตำแหน่งที่เหมาะสมโดยมีลูกค้าเข้าใช้บริการเป็นจำนวนมากลูกค้าหลักในปัจจุบันคือกลุ่มที่พักและการท่องเที่ยวรองลงมาคือกลุ่มอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กลุ่มค้าปลีกและกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นกลุ่มที่ให้ความสนใจในการทำตลาดออนไลน์และนิยมเข้ามาใช้บริการโปรโมตเว็บไซต์โดยเฉพาะในกลุ่มค้าปลีกเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าโฆษณาโดยทั่วไปปัจจุบันผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทยมีอยู่กว่า 3 ล้านราย 5-10% เป็นกลุ่มที่มีเว็บไซต์และมีทิศทางการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ททท.เดินหน้าส่งเสริมเที่ยวเพื่อสุขภาพ

ล่าสุด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมสปาไทยจัดกิจกรรมส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประจำปี 2556 (Thailand Medical and Well ness Familiarization trip 2013 )  ในวันที่13-18สิงหาคม2556เพื่อนำเสนอศักยภาพความพร้อมในการให้บริการสุขภาพและความงามของไทยสร้างภาพ-ลักษณ์ประเทศไทยในฐานะ super quality medical&wellnesstourismให้แก่ตัวแทนขายธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและสื่อทั่วโลกนางวิไลวรรณทวิชศรีรองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยวการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกล่าวว่าการจัดงานในปีนี้ได้รับความสนใจจากเอเจนซีและสื่อเป็นอย่างมากโดยมีการลงทะเบียนเข้าร่วมงานกว่า80 รายซึ่งจะต้องคัดเลือกตามความเหมาะ-สมอีกสำหรับตลาดท่องเที่ยวเชิงสุขภาพส่งผลต่อภาพรวมรายได้ที่สะพัดกว่า1.4 แสนล้านบาทแบ่งเป็นรายได้จากภาคเอกชนถึง 7 หมื่นล้านบาท อีกทั้งยังมีแนวโน้มการเติบโตสูง เนื่องจากกระแสสุขภาพเป็นสิ่งที่กลุ่มที่มีกำลังซื้อให้ความสนใจและเมืองไทยก็มีความพร้อมทั้งด้านคุณภาพและราคาที่คุ้มค่ารวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวต่อเนื่องที่พรั่งพร้อม

ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ฉบับวันที่ 3 - 5 ก.ค. 2556--