ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ภายหลังกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแสดงรูปภาพ ข้อความคำเตือนเกี่ยวกับพิษภัย และช่องทางติดต่อเพื่อการเลิกยาสูบในฉลากของซองบุหรี่ซิกาแรต พ.ศ.2556 จะมีผลบังคับใช้ใน วันที่ 2 ต.ค. 2556 โดยกำหนดให้บุหรี่นำเข้าต้องขยายพื้นที่รูปภาพ คำเตือน จากร้อยละ 55 เป็นร้อยละ 85 ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของซองบุหรี่

ขณะเดียวกันประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับนี้ ยังกำหนดให้บุหรี่ที่บรรจุอยู่ในกล่อง หรือกระดาษห่อหุ้มซอง หรือภาชนะบรรจุ (Carton) ที่มีจำนวนไม่ต่ำกว่า 10 ซอง ต้องแสดงฉลากรูปภาพ ข้อความคำเตือน และช่องทางติดต่อเพื่อเลิกยาสูบ จำนวน 10 แบบ ต่อ 1 กล่องในกรณีที่บรรจุต่ำกว่า 10 ซอง ต่อ 1 กล่อง จะต้องแสดงฉลากรูปภาพทั้ง 10 แบบ โดยไม่ซ้ำกันอีกด้วย

ท่ามกลางการถกเถียงอันเนื่องมาจากมุมมองที่แตกต่างกัน บริษัท ฟิลลิปมอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด และ บริษัท ฟิลิป มอร์ริส โปรดัคส์ เอส.อา. ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการนำเข้าและจำหน่าย สินค้าบุหรี่ซิกาแลตในประเทศไทย ภายใต้ยี่ห้อ แอล แอนด์ เอ็ม และ มาร์ลโบโร่ ได้ยื่นฟ้องกระทรวงสาธารณสุขต่อศาลปกครองกลาง ในคดีหมายเลขดำที่ 1324/2556 ว่า การออกประกาศไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยเห็นว่าเป็นการกระทำเกินกว่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้ รวมทั้งเป็นการลิดรอนสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า ทำให้ได้รับความเสียหาย จึงขอให้เพิกถอนประกาศฉบับดังกล่าว

ล่าสุดเมื่อวันที่สคศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการแสดงรูปภาพข้อความคำเตือนเกี่ยวกับพิษภัยและช่องทางติดต่อเพื่อการเลิกยาสูบในฉลากของซองบุรี่ซิกาแรตพศไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น

ทั้งนี้ เหตุผลในการพิจารณาสั่งทุเลาการบังคับตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข สรุปใจความสำคัญได้ว่า เมื่อพิจารณาข้ออ้างของคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย และพยานหลักฐานที่ปรากฏในชั้นนี้ การออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข แม้จะอาศัยอำนาจตามมาตรา 12 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2535 เห็นว่ายังคงมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายหลายประการ เช่น ที่มาของการขยายภาพจาก ร้อยละ 55 เป็นร้อยละ 85

แม้ว่าผู้ถูกฟ้องจะอ้างว่าเป็นไปตามอนุสัญญาขององค์การอนามัยโลกว่าด้วยการควบคุมยาสูบพศแต่ไม่ได้มีการศึกษาถึงผลกระทบและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นว่าข้อกำหนดดังกล่าวจะเป็นภาระแก่ผู้ฟ้องคดีเกินสมควรหรือไม่และข้อกำหนดดังกล่าวจะบรรลุผลอย่างแน่แท้หรือก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคคุ้มกับความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผู้ฟ้องคดีทั้งอันเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมกันหรือไม่

โดยในกระบวนการขั้นตอนออกประกาศ ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าไม่ได้รับแจ้งให้เข้าไปมีส่วนร่วม รับฟังข้อเสนอและคัดค้านจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขณะที่ผลกระทบต่อสิทธิเครื่องหมายการค้า รวมถึงการกำหนดแสดงฉลากรูปภาพ ข้อความคำเตือน และช่องทางติดต่อเพื่อเลิกยาสูบ จำนวน 10 แบบ ต่อ 1 กล่อง ที่ผู้ฟ้องคดีอ้างว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันพ้นวิสัยที่จะปฏิบัติตามได้

เนื่องจากในกระบวนการผลิต เครื่องจักรจะทำการคัดทิ้งซองบุหรี่ที่ไม่ได้คุณภาพ และนำซองใหม่ที่สมบูรณ์มาแทนที่โดยอัตโนมัติ ทำให้บุหรี่ซิกาแรตที่บรรจุอยู่ในกล่องหรือกระดาษหุ้มซอง หรือภาชนะบรรจุบุหรี่ซิกาแรต (Carton) อาจมีรูปคำเตือนไม่ครบตามที่กฎหมายกำหนด

นพประดิษฐ  สินธวณรงค์  รมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนี้ว่าการที่คำตัดสินออกมาเช่นนี้อาจเป็นเพราะที่ผ่านมาเราชี้แจงถึงการออกประกาศไม่ชัดเจน ที่สำคัญคือคำสั่งนี้เป็นเพียงคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเพื่อไม่ให้มีการดำเนินเรื่องต่อ ไม่ได้เป็นคำตัดสินสุดท้ายทางเราแม้จะเคารพในคำตัดสินของศาล แต่ก็ไม่เห็นด้วยในบางประการ ดังนั้นจึงขอใช้สิทธิทางกฎหมายในการขอยื่นอุทธรณ์ต่อไป

ประเด็นสำคัญคือมันไม่ได้เป็นเรื่องที่ต้องมาต่อสู้กันในทางกฎหมาย โดยอ้างว่าเป็นการละเมิดสิทธิในการแสดงตราสัญลักษณ์ของภาคธุรกิจ เพราะเข้าใจว่าการทำมาหากินกับสุขภาพของประชาชนนั้นต้องมีความพอดี ไม่ใช่มาใช้สิทธิอย่างเกินพอดี

"ฝากไปบอกถึงบริษัทต่างๆด้วยกระทรวงสาธารณสุขเองก็คงไม่มีการประนีประนอมในสิ่งที่ทำลายสุขภาพเราจะทำหน้าที่เต็มที่แลกฝากให้มีความพอดีในเรื่องการทำมาหากินกับสุขภาพของคน"นพ.ประดิษฐกล่าว ขณะที่ นพนพพร  ชื่นกลิ่น  รองอธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายว่าการออกประกาศเราดำเนินการผ่านคณะกรรมการยาสูบแห่งชาติ ซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้รู้ในด้านที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ซึ่งประเด็นที่ทางบริษัทฟิลิปมอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด โต้แย้งกรณีก่อนออกประกาศฉบับดังกล่าวไม่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ตรงนี้ขอชี้แจงว่าเราถูกคุ้มครองโดยอนุสัญญาองค์การอนามัยโลก หรือ FCTCt ซึ่งจะไม่นำผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมบุหรี่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการออกกฎหมาย แปลว่าคณะกรรมการฯ ไม่สามารถขอคำปรึกษาจากบริษัทบุหรี่ได้ ตรงนี้ได้มีการชี้แจงต่อศาลปกครองไปแล้ว  ส่วนเรื่องของประโยชน์สาธารณะ ที่บอกว่าเป็นการสร้างภาระให้กับผู้ประกอบการนั้น ทางกระทรวงสาธารณสุข และคณะกรรมการฯเห็นว่าการขยายพื้นที่ภาพคำเตือนบนซองบุหรี่จาก 55% เป็น 85% นั้นไม่ได้เป็นการสร้างภาระ และเรื่องภาพคำเตือนที่ไม่ซ้ำกัน 10 ภาพนั้นทางคณะกรรมการได้รับฟังเหตุผลแล้วเข้าใจในภาระที่เกิดขึ้น จึงได้ขยายกำหนดระยะเวลาการบังคับใช้ออกไป และพยายามหารือกับวิศวกรว่าสามารถดำเนินการหารือกับวิศวกรว่าสามารถดำเนินการในทางปฏิบัติได้หรือไม่

แม้กระทั่งเรื่องเครื่องหมายการค้า เราไม่ได้ห้าม เพียงแค่จำกัดพื้นที่การใช้ ซึ่งทางศาลปกครองเองก็ไม่ได้มีคำวินิจฉัยเรื่องนี้อย่างชัดเจน และที่สำคัญคือ การออกประกาศฯ มีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนซึ่งจะถูกดึงดูดจากความสวยงามของซองบุหรี่

"หากพิจารณาด้วยสามัญสำนึกก็จะทราบว่าภาพคำเตือนที่มีขนาดใหญ่กับภาพคำเตือนขนาดเล็กแบบไหนจะมีประสิทธิภาพและเห็นได้ชัดเจนส่งคำเตือนได้รุนแรงกว่านี่คือสิ่งที่เราพยายามอธิบาย"นพนพพรกล่าว

'กระทรวงสาธารณสุขเอง ก็คงไม่มีการประนีประนอมในสิ่งที่ทำลายสุขภาพ เราจะทำหน้าที่เต็มที่ แลกฝากให้มีความพอดีในเรื่องการทำมาหากินกับสุขภาพของคน' > ประดิษฐ สินธวณรงค์

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  วันที่ 30 สิงหาคม 2556

เรื่องที่เกี่ยวข้อง