ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

คนจนจน คนจนจน  คนจนจนไม่มีสิทธิ์เจ็บป่วย ต้องพวกคนรวยถึงจะได้สิทธิ์เช่นนั้น เจ็บป่วยกันทีละเสียเป็นหมื่นเป็นพัน พอคิดเงินใจสั่น หัวใจพลันจะวาย วอนพระพรหมได้โปรดเถิดเจ้าข้า ช่วยเวทนาพระพรหมท่านอย่าใจร้าย เจ็บหนักกันทีได้โปรดช่วยให้ถึงตาย จะได้ไม่ต้องจ่ายเป็นหนี้ให้ตายทั้งเป็น ตายทั้งเป็น ตายทั้งเป็น ตายทั้งเป็น

ฟังดราม่า "เรื่อง 30 บาท ตายทุกโรค" จากคลิปของหญิงสาวผู้หนึ่งแล้วเลยนึกถึงเพลงนี้ขึ้นมา เป็นเพลงที่ประพันธ์เนื้อร้องและทำนองโดยนายแพทย์ วราวุธ สุมาวงศ์ ขับร้องโดยแพทย์ หญิงพันทิวา สินรัชตานันท์ ได้รับรางวัลทีวี.ตุ๊กตาทองมหาชน พ.ศ. 2525 และรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระ ราชทานครั้งที่ 5 เพลงลูกกรุง ประเภทสร้าง สรรค์ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2526

น่าประทับใจที่เพลงนี้ เป็นเพลงที่ทั้งแต่งและร้องโดยแพทย์ทั้งคู่ เป็นเครื่องยืนยันว่าในอดีตคนจนไม่มีสิทธิเจ็บป่วยจริงๆ เพราะขนาดคนเป็นหมอเองยังรู้สึกเช่นนั้นถึงกับเกิดแรงบันดาลใจประพันธ์ขึ้นมาเป็นบทเพลง ซึ่งเมื่อถูกเผยแพร่ออกมาก็เป็นที่ซาบซึ้งกินใจและได้รับความนิยมจากประชาชนในสมัยนั้นอย่างสูง แม้กระทั่งผู้เขียนเองครั้งยังเป็นเพียงนัก เรียนชั้นประถมฯก็ยังจำเพลงนี้ได้ขึ้นใจ

ขนาดมีเพลงที่สะท้อนความเป็นจริงของสังคมออกมาแบบนี้แล้ว น่าสงสัยว่าตอนนั้นรัฐบาลมัวทำอะไรอยู่? (รัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของประเทศไทย ระหว่าง พ.ศ. 2523-2531) จึงไม่คิดที่จะช่วยเหลือดูแลปัญหาความเจ็บป่วยของประชาชน ซึ่งเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานสุดๆของมนุษย์บ้าง ต้องให้ประชาชนดิ้นรนปากกัดตีนถีบ จนกระทั่งหมอซึ่งใกล้ชิดกับคนไข้ที่เห็นความเป็นจริงดีที่สุดยังทนไม่ได้ ต้องแต่งเพลงเสียด สีประชดประชันชีวิตออกมา

ต่อมามีนายกรัฐมนตรีชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สนับ สนุนให้เกิดนโยบายนี้ขึ้นมา ก็ยังมีเสียงครหาโจมตีจนทุกวันนี้ ทั้งที่เป็นนโยบายที่ทำประโยชน์ให้แก่ประชาชนแท้ๆ โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าแม้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในยุคนายกฯทักษิณ แต่ก่อนหน้านี้กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขซึ่งเป็นกลุ่มที่มองเห็นความจำเป็นเรื่องนี้มากที่สุด เพราะต้องใกล้ชิดกับประ ชาชนผู้เจ็บป่วย เป็นกลุ่มแรกที่ริเริ่มและร่วมกันผลักดันให้มีการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยนายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เป็นแกนหลัก  ในปี 2540 มีการร่าง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นครั้งแรก มีองค์กรพัฒ นาเอกชนและเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน 11 เครือข่าย ร่วมกันรณรงค์ผลักดัน แต่มาประจวบเหมาะยุค พ.ต.ต.ทัก ษิณที่มีความคิดสอดคล้องต้องกันที่จะพัฒนาระบบประกันสุขภาพ จึงนำแนวคิดระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไปประยุกต์ให้เป็นนโยบายของพรรคไทยรักไทยในชื่อ "โครง การ 30 บาทรักษาทุกโรค"เมื่อชนะการเลือกตั้งทั่วไปปี 2544 นายกฯทักษิณจึงดำเนินนโยบายตามที่หาเสียง ผลักดันจนรัฐสภาผ่าน พ.ร.บ.ว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ออกมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545

ตามกฎหมายได้มอบอำ นาจให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ทำหน้าที่จัดสวัสดิการด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนไทยทุกคน ปฏิเสธไม่ได้ว่าภาคประชาชนได้รับประโยชน์อย่างมาก แม้เกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเดิมของรัฐบาลทักษิณหลายอย่าง แต่ไม่กล้ายกเลิกนโยบายนี้ เพราะเป็นนโยบายที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชนทุกคน เพียงแปลงนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรคให้ประชาชนใช้บริการรักษาพยาบาลฟรี เพื่อให้ประชาชนลืมนโยบายของพรรคไทยรักไทย แต่ไม่สามารถทำได้สำเร็จ เพราะแม้จะเปลี่ยน ชื่อ ประชาชนก็เคยชิน ติดหู ติดปากที่จะพูดว่า "30 บาทรักษาทุกโรค"

แม้กระทั่งในคลิปที่เป็นทอล์ค ออฟ เดอะทาวน์ ก็ใช้คำพูดว่า "30 บาท..." แต่คงมีทัศนคติที่มองโลกในแง่ร้ายเกินไป ทั้งไม่ได้ค้นคว้าข้อมูลให้ดีก่อนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ จึงไม่เพียงทำให้ตัวเองเสียหาย แต่ยังทำให้ผู้อื่น โดยเฉพาะบุคลา กรทางการแพทย์เสียหายไปด้วย เพราะมีหลักฐานยืนยันจากโรงพยาบาลมากมายว่า ประ ชาชนหลายร้อยหลายพันชีวิตที่ใช้บริการ 30 บาทไม่ตาย ส่วนคนป่วยที่ตายจากความประ มาทของแพทย์นั้นในปัจจุบันก็พบเห็นได้ทั่วไป แม้แต่ในโรงพยาบาลเอกชนที่เก็บค่ารักษาพยาบาลแพง ผู้ป่วยไม่ได้ใช้สิทธิตามนโยบาย 30 บาทเลย

นโยบาย "30 บาทรักษาทุกโรค" ปัจจุบันครอบคลุมโรคพื้นฐานทั้งหมด รวมทั้งการผ่าตัด การคลอดลูก การรักษาต่อเนื่องที่จำเป็น สามารถตรวจสอบสิทธิได้ทุกโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ แม้ยังมีสิ่งที่ต้องปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นอีกมาก แต่ถ้าไม่มีนโยบายนี้ คนที่ไม่มีทางเลือกมากนักกับความเจ็บป่วยของตนเองและคนในครอบครัวจะทำอย่างไร หรือจะต้องปล่อยให้ร้องเพลงของหมอกันต่อไป "คนจนจน คนจนจน คนจนจน คนจนจนไม่มีสิทธิ์เจ็บป่วย ต้องพวกคน รวยถึงจะได้สิทธิ์เช่นนั้น" เราต้องการเช่นนั้นจริงๆหรือ?

การอยู่ร่วมกันในสังคม การวิพากษ์วิจารณ์เป็นสิ่งจำ เป็น ทุกคนมีสิทธิจะวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาล เพราะรัฐบาลมาจากประชาชน แต่ควรทำอย่างสร้างสรรค์และไร้อคติ สิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อเพื่อนร่วมชาติก็พึงช่วยกันสนับ สนุนและผลักดันให้พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น

ไม่ใช่คอยบ่อนทำลายกันทุกทาง แล้วอย่างนี้ชาติจะพัฒนาได้อย่างไร?

"การอยู่ร่วมกันในสังคม การวิพากษ์วิจารณ์เป็นสิ่งจำเป็น   ทุกคนมีสิทธิจะวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาล   เพราะรัฐบาลมาจากประชาชน  แต่ควรทำอย่างสร้างสรรค์และไร้อคติ"

ที่มา --โลกวันนี้วันสุข ฉบับวันที่ 7 - 13 ก.ย. 2556--

เรื่องที่เกี่ยวข้อง