ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

บทความจาก นพ.พรเทพ โชติชัยสุวัฒน ที่เขียนถึง นโยบายหมอครอบครัว ซึ่ง นพ.พรเทพ เปรียบเทียบว่า ทีมหมอครอบครัวนั้น เปรียบเหมือน นายด่านระบบสุขภาพ ที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ การส่งต่อผู้ป่วย เพื่อประชาชนมีสุขภาพดี ผู้ป่วยเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึง และไม่เพียงเท่านั้น ยังช่วยประสานงานด้านสวัสดิการสังคมต่างๆ ด้วย ซึ่งตอนแรก ว่าด้วยเรื่อง FCT (หมอครอบครัว) กับ building blocks’ โดยทั้งหมดจะมี 3 ตอน และต่อไปนี้เป็นตอนที่ 2 ‘หมอครอบครัว กับหลักประกันสุขภาพ’

ในตอนที่ 2 จะกล่าวถึงทรัพยากรด้าน การเงิน (finance) ซึ่งดำเนินการผ่านระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ประกอบด้วย กระบวนการหลัก (core business process) 6 กระบวนการ ตามภาพประกอบ

เมื่อนำมาเชื่อมโยงกับทีมหมอครอบครัว หรือ Gatekeeper ที่มีความยึดโยงกับพื้นที่ (district health system or area based health system) ไปสู่เป้าหมาย ผลผลิต และผลลัพธ์ ตามภาพที่ 3 

โดยมีการดำเนินการในแต่ละกระบวนการหลักต่างๆ ตั้งแต่การกำหนดแผนยุทธศาสตร์ ในบทบาทของผู้ซื้อบริการ (Purchaser) เพื่อสนองตอบความจำเป็นด้านสุขภาพ (health needs) ของประชาชนเจ้าของภาษีที่นำมาใช้ตามกระบวนการต่างๆ ดังนี้ การวางแผนยุทธศาสตร์ การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ การลงทะเบียนผู้ใช้บริการ การจัดการกองทุน การควบคุมคุณภาพบริการ และการคุ้มครองสิทธิ์ โดยสรุปดังนี้

ตารางแสดง กระบวนการหลักของระบบประกันสุขภาพ กับการสนับสนุนทีมหมอครอบครัว

 

ระบบทางการเงินเป็นส่วนสำคัญมากในการพัฒนาระบบหมอครอบครัว และการบริการปฐมภูมิที่จำเป็นต้องพัฒนา เรียนรู้ไปร่วมกับพื้นที่ และชุมชนที่ต้องเชื่อมโยงกับระบบอื่นๆ ภายใต้การทำงานอย่างมีเอกภาพ และธรรมาภิบาลของเขตพื้นที่ นอกจากนี้ควรให้อำนาจ ความเป็นอิสระในการทำงาน เช่น การกำหนด วิเคราะห์ปัญหา ออกแบบกระบวนการ ทดลอง เรียนรู้ พัฒนาจนถึงข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากพื้นที่ และชุมชน ลดการสั่งการจากส่วนกลาง

ตอนต่อไป ติดตาม ตอนที่3 FCT กับ ทรัพยากรด้านอื่นๆ

แหล่งข้อมูล

1.       http://www.hisro.or.th/main/?name=knowledge&file=readknowledge&id=32

2.       http://programs.jointlearningnetwork.org/sites/jlnstage.affinitybridge.com/files/Thailand_NHSO_Presentation_Technology_track.pdf.pdf