ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ชมรมนักวิชาการสาธารณสุข แสดงความยินดี “หมอชลน่าน” รับตำแหน่งรมว.สธ. พร้อมขอช่วยเหลือ 4 ประเด็น ความก้าวหน้าวิชาชีพ ค่าตอบแทน  เสนอตั้ง กองสาธารณสุขชุมชน

 

เมื่อวันที่ 21 กันยายน ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สป.สธ.)  นายริซกี สาร๊ะ เลขาธิการชมรมนักวิชาการสาธารณสุข(ประเทศไทย) พร้อมด้วยตัวแทนชมรมฯ เดินทางมาแสดงความยินดี นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ในการรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) พร้อมยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือประเด็นความก้าวหน้าของนักวิชาการสาธารณสุข และนักสาธารณสุข เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา

นายริซกี กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับท่านรัฐมนตรีฯ ชลน่าน ศรีแก้ว  ในการรับตำแหน่งครั้งนี้ และพวกตนมาขอความช่วยเหลือในประเด็นเกี่ยวกับวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน ที่ท่านเคยดูแลสมัยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการสธ. สมัยช่วง พ.ร.บ.วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ.2556 อยากให้ท่านดูแลอีกครั้ง ทั้งเรื่องนักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุข หลักเกณฑ์เงินประจำตำแหน่ง เงิน พ.ต.ส.อย่างไร อย่างไรก็ตาม ทางชมรมและเครือข่ายสนับสนุนแนวทางการแยกตัวออกจากคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) และสนับสนุนอย่างยิ่งกับนโยบายข้อ 5 ของท่านรัฐมนตรีฯ เรื่องการสร้างขวัญกำลังใจบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขทุกคน

 

สำหรับข้อเสนอในการบริหารบุคคล สิทธิ และความก้าวหน้าของนักวิชาการ มีทั้งหมด 4 ประเด็น ดังนี้

 

ประเด็นที่ 1 โครงสร้างอัตรากำลัง `ความก้าวหน้าทางวิชาชีพ และค่าตอบแทน ที่เหมาะสมเป็นธรรม

         

1.1 ขอสนับสนุน แนวทางการพิจารณา ร่างกฏหมายบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลของกระทรวงสาธารณสุข(ก.สธ)  ออกจากสำนักงานข้าราชการพลเรือน(ก.พ)  เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการบุคลากรทุกสายงานทุกวิชาชีพ  โดยมีตัวแทนจากทุกสายงานทุกวิชาชีพร่วมให้ความเห็นในร่างดังกล่าว

 

1.2 ขอเสนอให้ตั้ง กองสาธารณสุขชุมชน ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อดูแลรพ.สต.

ประมาณ 6000 แห่งในสังกัด  และนักสาธารณสุข ในหน่วยงานทุกระดับในสังกัด

                       

1.3 ขอให้แยกกลุ่มงานสาธารณสุขชุมชน ออกจากกลุ่มปฐมภูมิและองค์รวม ในโรงพยาบาลชุมชน  โดยมีฝ่ายงานย่อยที่ตรงตามมาตรฐานวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน คือ งานระบาดวิทยาและภัยสุขภาพ งานอาชีวอนามัย งานอนามัยสิ่งแวดล้อม งานสุขศึกษา งานยาเสพติดและสุขภาพจิตชุมชน งานบังคับใช้กฏหมายสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม งานวิจัยสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ

                       

1.4 ขอให้ดูแลนักวิชาการสาธารณสุขหัวหน้ากลุ่มงานปฐมภูมิโรงพยาบาลชุมชน ที่ได้รับการจำกัดสิทธิ อย่างไม่เป็นธรรม ในการเข้าสูตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงาน และการปรับสู่ระดับชำนาญการพิเศษ

 

1.5 ขอให้ดูแลวิชาชีพสาธารณสุขชุมชนให้เป็นไปตามพรบ.วิชาชีพสาธารณสุขชุมชน 2556 เพื่อให้เป็นไปตามมติ สำนักงาน ก.พ. วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 ที่มีมติให้กำหนดตำแหน่งนักสาธารณสุข เป็นวิชาชีพเฉพาะ โดยเร่งรัดการจัดโครงสร้างที่อัตรากำลังที่ชัดเจน, เร่งรัดการเปลียนชื่อตำแหน่ง จากตำแหน่งวิชาการนักวิชาการสาธารณสุข ที่มีใบประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน สู่ตำแหน่งนักสาธารณสุข ,เร่งรัดหลักเกณฑ์การปรับตำแหน่งและเกื้อกูลสายงานทั่วไป(เจ้าพนักงานสาธารณสุข) ที่มี     ใบประกอบวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน สู่สายงานวิชาการในตำแหน่งนักสาธารณสุข , การติดตามประกาศตำแหน่ง นักสาธารณสุข  ในกฎ กพ. ว่าด้วยการให้ข้าราชการพลเรือนได้รับเงินประจำตำแหน่ง 2551 ได้รับเงินเงินประจำตำแหน่ง และการอนุมัติเงินเพิ่มพิเศษ พ.ต.ส ของสายงานนักสาธารณสุขด้วย

1.6 ขอให้เร่งรัดการระบุสายงาน นักสาธารณสุข ในหลักเกณฑ์ ค่าตอบแทนฉบับต่างๆ (ฉบับ5      ฉบับ11 ค่าตอบแทนชายแดนใต้ ฯลฯ ) หรือการกำหนด ให้ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ถูกระบุในหลักเกณฑ์ค่าตอบแทน ฉ.11 เพื่อให้ได้รับสิทธิตามหลักเกณฑ์

ประเด็นที่ 2 การเลื่อนไหลสู่ตำแหน่งชำนาญการพิเศษ  ในสายงานนักสาธารณสุข และนักวิชาการสาธารณสุข `ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ โดยไม่ยุบเลิกตำแหน่ง สืบเนื่องจากมติอ.ก.พ.วิสามัญบริหารทรัพยากรบุคคล ก.พ. ล่าสุด ได้เห็นชอบให้เพิ่มระดับชำนาญการพิเศษ กลุ่มพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 10,124 ตำแหน่ง โดยไม่ต้องนำตำแหน่งว่างมายุบเลิก แต่ไม่ปรากฏรายละเอียดถึงความก้าวหน้าของสายงานและวิชาชีพอื่นแต่อย่างใด   

ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตาม หนังสือ ที่ สธ 0208.10/ว 123 ลงวันที่ 11 มกราคม 2565 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประเมินบุคคล การย้าย การโอน และการเลื่อนข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และระดับเชี่ยวชาญ ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และหนังสืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง จึงควรดำเนินการต่อในสายงานนักสาธารณสุข และนักวิชาการสาธารณสุข  ดังนี้

2.1 สายงานนักสาธารณสุข และนักวิชาการสาธารณสุข  ที่ดำรงตำแหน่งผอ.รพ.สต. ประมาณ 6000 แห่ง ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข  ,นักสาธารณสุข และนักวิชาการสาธารณสุข  ที่ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยสาธารณสุขอำเภอ   ใน 787 อำเภอทั่วประเทศ ,นักสาธารณสุข และนักวิชาการสาธารณสุข  ที่ดำรงตำแหน่ง หัวหน้ากลุ่มงาน และหัวหน้างานในโรงพยาบาลชุมชน หัวหน้ากลุ่มงานในโรงพยาบาลทั่วไป หัวหน้ากลุ่มงานในโรงพยาบาลศูนย์ทุกแห่ง, นักสาธารณสุข และนักวิชาการสาธารณสุข  ที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานในสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง

2.2 ขอให้มีการเลื่อนไหลสู่ตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษ ของสายงานนักสาธารณสุข และนักวิชาการสาธารณสุข  ที่เป็นผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานระดับต่างๆของกระทรวงสาธารณสุขและมีสมรรถนะสูง       ตามหลักเกณฑ์ของสายงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข (วิจัย R&D) ,มีอายุราชการและ       วุฒิการศึกษาที่เพิ่มขึ้นครบตามเกณฑ์ โดยไม่ต้องนำตำแหน่งว่างมายุบเลิก

ประเด็นที่ 3 การเลื่อนไหลสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น ให้ข้าราชการพลเรือนชายแดนใต้ โดยไม่ยุบเลิกตำแหน่ง

เพื่อให้เป็นไปตามหนังสือ ที่ นร 1006/ว 7 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารงานบุคคลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ของสำนักงานกพ จึงขอให้เร่งรัดการเลื่อนไหลของข้าราชการพลเรือนชายแดนใต้ที่มีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ ด้วยการปรับจากสายงานทั่วไป ระดับชำนาญงาน เป็นสายงานวิชาการระดับชำนาญการ(ครอบคลุมหลักเกณฑ์ ว 16 ชายแดนใต้เดิม)  ,และการปรับระดับชำนาญการสู่ระดับชำนาญการพิเศษ  โดยไม่ต้องนำตำแหน่งว่างมายุบเลิก

ประเด็นที่ 4 การจัดสรรอัตราข้าราชการใหม่ กรณีปฏิบัติงานด่านหน้าในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ในกลุ่มตกค้างการบรรจุโควิดรอบแรก และการบรรจุรโควิดรอบ 2

1.ขอให้เร่งรัดการการบรรจุโควิดรอบ 2 ตามมติ อ.ก.พ. กระทรวงสาธารณสุข มีมติ

เห็นชอบให้จัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ที่ปฏิบัติงานโควิด 19 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2564 จำนวน 63 สายงาน รวม 37,144 คน ซึ่งมีหนังสือถึงถึงสำนักงานเลขาธิการก.พแล้ว แต่ ณ ปัจจุบันยังไม่มีความคืบหน้าที่ชัดเจนแต่อย่างใด

2.ขอให้เร่งรัดการการบรรจุโควิดรอบแรกกลุ่มตกค้าง ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)     

นัดพิเศษ วันที่ 3 เมษายน 2563 และมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563 ที่มีมติให้บรรจุข้าราชการจากนักศึกษาผู้สำเร็จการศึกษาในปี 2563 จำนวน 4 สายงาน(พทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และนักวิชาการสาธารณสุข) รวมทั้งสิ้น 7,579 อัตรา คน  ทั้งนี้พบว่า ยังมีสายงานนักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 647 อัตรา ซึ่งเป็นผู้สำเร็จการศึกษาในปี 2563 ถูกละเว้นไม่ได้พิจารณาดำเนินการบรรจุ แต่ประการใด ซึ่งถือว่าไม่เป็นไปตามมติครม.