ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ฯ พร้อมทีมงานเครือข่ายนิสิตนักศึกษาแพทย์ เข้ารับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนในงานเสวนานโยบายสาธารณะ หรือ Policy Dialogue ครั้งที่ 4 หัวข้อ “เมื่อไทยเข้าสู่สังคมเด็กเกิดน้อย ปัญหาและทางออก” 

เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ฯ นำโดยนางสาวศุภานัน เจนธีรวงศ์ นายกสหพันธ์ฯ วาระปีการศึกษา 2566 พร้อมทีมงานเครือข่ายนิสิตนักศึกษาแพทย์ เข้ารับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนในงานเสวนานโยบายสาธารณะ หรือ Policy Dialogue ครั้งที่ 4 หัวข้อ “เมื่อไทยเข้าสู่สังคมเด็กเกิดน้อย ปัญหาและทางออก”  จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายเพื่อฉายภาพสถานการณ์โครงสร้างประชากร ผลพวงจากปัญหาเด็กเกิดน้อยทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหา

นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เผยว่า  ปัญหาเด็กเกิดน้อยจะส่งผลโดยตรงกับโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่มีความซับซ้อนและส่งผลกระทบในวงกว้าง

ปัญหาเด็กเกิดน้อย เป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยมิติทางการแพทย์และสาธารณสุขเพียงอย่างเดียว จึงนำมาสู่การจัดเวทีสนทนาสาธารณะเพื่อแสวงหาความร่วมมือ แสวงหาทางออก และรวบรวมเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรัฐบาล ตลอดจนการจัดตั้งเป็นเครือข่ายในการขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาในระยะยาวต่อไป

“ปัญหาของสังคมเด็กเกิดน้อยเป็นปัญหาที่ทุกภาคส่วนต้องมีส่วนช่วยกันดูแล ไม่ว่าจะเป็นภาคการเมืองเศรษฐกิจแรงงานหรือสาธารณสุข” นางสาวศุภานันกล่าว  พร้อมแลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขเชิงนโยบาย

มุมมองของตัวแทนนิสิตนักศึกษาแพทย์ ได้มีแนวทางการแก้ไขปัญหาออกเป็น 4 ประเด็น ในที่ประชุม 

“1. คือ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติของ Generation ตามกาลเวลา เช่นเมื่อก่อนเบบี้บูมเมอร์ต้องการมีลูกเพื่อให้ลูกทำงานปัจจุบันก็ต้องการสังคมที่เพียบพร้อมก่อนหรือว่าต้องการการศึกษาต้องการเงินที่มากพอที่จะเลี้ยงลูกให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทัศนคติที่ต่างกันเหล่านี้เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ แต่วิธีการจะลดช่องว่างระหว่างวัยเราต้องดูลักษณะเฉพาะของแต่ละเจน ผู้ใหญ่อาจจะมีการจัดเวทีเสวนาเช่นนี้และมีการเรียนเชิญเจนแซดเจนวายเข้ามาร่วมด้วยในการสร้างนโยบายสาธารณสุขต่างๆ”  

“2. คือ การสร้างความมั่นคง ว่า เราที่อยู่ในวัยทำงานแล้วเป็นผู้หญิงสามารถมีลูกได้และการตั้งครรภ์นั้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน  จึงเสนอนโยบายว่าให้มีการออกนโยบายเพิ่มเวลาลางานเพื่อการเลี้ยงบุตร หลังจากที่รัฐบาล ตอนแรกมีนโยบายอยู่แล้วให้ลาได้ 90 วันแต่ว่าจริงๆแล้วถ้าตามหลักการแพทย์ค่ะคือต้องการรับนมแม่หกเดือน ที่บุตรต้องการนมแม่ แต่ในประเทศไทยมีทั้งคนทำงานต่างจังหวัดต้องปั๊มนมให้ลูกซึ่งเรานั้นถามว่าเพียงพอหรือไม่ สำหรับดิฉันเองมองว่าเป็นการยาก คิดว่าการเพิ่มได้ 150 วันจึงเหมาะสม พร้อมทั้งต้องมีการพูดคุยในฝั่งแรงงานในส่วนของเรื่องค่าตอบแทน ว่าอย่างไรจึงจะเหมาะสม

“3. คือ เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจ ANC  หรือว่าการฝากครรภ์ เนื่องจาก ANC เราอาจจะต้องดูด้วยว่าคุณแม่มีสภาพสังคมความพร้อมในการเลี้ยงบุตรเท่าไหร่ให้ แพทย์เป็นผู้ดูแลเป็นองค์รวมมากขึ้นอาจจะมีการให้ ความรู้เรื่องเพศศึกษาตั้งแต่อยู่ในระดับมัธยม ให้มองเป็นเรื่องที่สามารถพูดกันได้สอนกันได้เป็นเรื่องปกติ  คิดว่ารัฐบาลหรือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาเชิงนโยบายในเชิงของการสนับสนุนการคุมกำเนิดเมื่อไม่พร้อม เช่นการใช้ห่วงคุมกำเนิด การใช้ถุงยาง ในประเทศไทยยังไม่ได้ฟรีสำหรับทุกคนที่ต้องการคุมกำเนิดแต่จะมีเพียงการฝังยาคุมหรือว่าฉีดยาคุมฟรีหรือเลือกวิธีคุมกำเนิดสำหรับแม่ที่ท้องไปแล้ว” 

“และ 4. คือ เรื่องของอาการเปลี่ยนแปลงเรื่องเทคโนโลยีและการปลูกฝังทัศนคติ ในข้อนี้เปลี่ยนจากการดูแลก่อนคลอดเป็นการดูแลหลังคลอดมากขึ้น อาจจะทำเป็นกองทุนระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นกองทุนการออมเพื่อบุตรเพื่อให้รู้ว่าทำงานอยู่ทำงานเสร็จสามารถมีกองทุนไว้สำหรับเลี้ยงบุตรโดยเฉพาะ อันนี้จะเป็นการแก้ปัญหาที่เป็นเชิงระยะยาวให้คนรุ่นใหม่มีความมั่นใจว่าการมีบุตรเป็นสิ่งที่ดีต่อสังคมและประเทศชาติ” นางสาวศุภานัน กล่าวปิดท้าย