ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

รมว.สาธารณสุข รับหนังสือเครือข่ายเขียนอนาคตกัญชาไทย เสนอ 2 ประเด็นขอความชัดเจน “กัญชา” เป็นยาเสพติดหรือไม่ และกฎหมายควบคุม ย้ำ! ทุกอย่างอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำร่าง พ.ร.บ.กัญชากัญชง เตรียมระดมความคิดเห็นทุกฝ่าย ด้านเครือข่ายฯ ขอสธ.ตั้งคณะทำงานศึกษาข้อเท็จจริงเปรียบเทียบสิ่งที่ ก่อให้เกิดการเสพติด 4 ชนิด คือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ - บุหรี่ - กาแฟ - กัญชา

เมื่อเวลาประมาณ 13.00 น.  วันที่ 12 ตุลาคม  นายประสิทธิ์ชัย หนูนวล เลขาธิการเครือข่ายเขียนอนาคตกัญชาไทย พร้อมด้วยตัวแทนเดินทางมายังกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เพื่อยื่นหนังสือถึงนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เรื่อง ขอให้กำหนดกฎหมายกัญชาจากข้อมูลรอบด้าน โดย นพ.ชลน่าน เข้ารับหนังสือด้วยตนเอง พร้อมด้วย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  นพ.กิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ รักษาราชการแทนรองปลัดสธ.  นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และนพ.เทวัญ ธานีรัตน์ รองอธิบดีกรมฯ โดยหลังจากรับหนังสือได้มีการพูดคุยกันเป็นการส่วนตัวภายในห้องประชุมที่เตรียมไว้

นพ.ชลน่าน ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า ทางเครือข่ายเขียนอนาคตกัญชา มานำเสนอข้อมูลแก่ทางกระทรวงสาธารณสุข โดยย้ำถึงประโยชน์ของกัญชาทางการแพทย์และสุขภาพ ซึ่งไม่ได้ต่อต้านใดๆ โดยมีข้อเสนอ 2 เรื่อง คือ 1. สถานะของกัญชา ขอให้ชัดเจนว่า เป็นยาเสพติดหรือไม่ 2.เมื่อมีสถานะชัดแล้ว เรื่องของการควบคุม หรือกำกับดูแลในการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ขอให้ชัดเจน นอกนั้นประเด็นอื่นๆ เช่น การอนุมัติ การนำมาใช้ การสวมสิทธิ์ เป็นต้น

เมื่อถามว่ามีการหารือว่าจะให้บางส่วนของกัญชาเป็นยาเสพติดหรือไม่ นพ.ชลน่าน กล่าวว่า สำหรับกัญชาจะเป็นยาเสพติดเมื่อเป็นสารสกัด ต้องมีค่า THC มากกว่า 0.2 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ถึงจะเป็นยาเสพติด นอกเหนือจากนี้ไม่ว่าต้น ราก ดอก ใบ ไม่ได้ถูกกำหนดจึงไม่ถือว่าเป็น ส่วนจะกำหนดอย่างอื่นว่าจะเป็นยาเสพติดหรือไม่นั้น ยังอยู่ในการพิจารณาว่า มีความเหมาะสมหรือไม่ ทั้งด้านมิติสุขภาพ มิติเชิงสังคม การบังคับใช้กฎหมายต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน 

“ไม่มีข้อเสนอว่า จะต้องเอาช่อดอกไปเป็นยาเสพติด เน้นย้ำว่า ไม่ได้มีข้อสรุป ขีดเส้นใต้เลยว่า ไม่มีการนำช่อดอกกลับเป็นยาเสพติด ซึ่งขณะนี้คณะทำงานยกร่างกฎหมายเราทำใกล้เสร็จแล้ว เมื่อเสร็จแล้วจะเชิญทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมารับฟังความคิดเห็นในการช่วยดูร่างกฎหมายกันก่อนจะเสนอร่างกฎหมายต่อไป” รัฐมนตรีว่าการสธ.กล่าว

เมื่อถามว่าสรุปแล้วสถานะกัญชาจะมีความชัดเจน และมีไทม์ไลน์อย่างไร นพ.ชลน่าน กล่าวว่า อยู่ที่กฎหมายจะเขียนขึ้น ส่วนจะไทม์ไลน์อย่างไรนั้น พยายามเร่งรัดอยู่ ไม่ได้อยากให้เนิ่นช้า

นพ.ชลน่าน กล่าวว่า ปัจจุบันกฎหมายกัญชา มี 2 ส่วน คือ 1.กฎหมายว่าด้วยประมวลยาเสพติด คือ กัญชา มีสถานะเป็นสารเสพติดเมื่อเป็นสารสกัด ซึ่งมีอยู่แล้ว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ผ่านความเห็นของ ป.ป.ส.มีอยู่แล้ว 2.กฎหมายที่ออกมาเฉพาะนั้น คือ จะต้องออกมาควบคุม ดูแลการใช้ การผลิต การนำเข้าการส่งออก วิธีการใช้ต่างๆ ที่เราใช้ว่า ร่างพ.ร.บ.กัญชงกัญชา อันนี้ต้องมาดำเนินการ ซึ่งตอนนี้กำลังดำเนินการ และจะต้องรับฟังความเห็นทุกฝ่าย  

สำหรับหนังสือของทางเครือข่ายเขียนอนาคตกัญชาไทย เสนอ 2 ประเด็น ดังนี้

1.ข้อเท็จจริงของกัญชาถูกนําเสนอจากด้านเดียวคือด้านแห่งความน่ากลัว โดยเฉพาะจากกลุ่มแพทย์ แผนปัจจุบันจํานวนมากที่มีอคติดต่อกัญชา การเลือกพูดข้อเท็จจริงด้านเดียวที่ตรงกับความรู้สึกของตนนั้นจะ นําไปสู่การขยายตัวของความจริงด้านเดียวจนกลายเป็นกระแสแห่งความกลัวจนห่างไกลจากข้อเท็จจริง

2.กลไกรัฐโดยเฉพาะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขคนปัจจุบันกําลังดําเนินการสานต่อด้วยการ นําข้อเท็จจริงด้านเดียวมากําหนดกลไกกัญชา ทั้งการจะนําบางส่วนกลับไปเป็นยาเสพติด ทั้งการจะตัดสิทธิ ของประชชนในการปลูกกัญชา สิ่งเหล่านี้จะนําไปสู่ความผิดเพี้ยน ทําลายข้อดีของกัญชาในขณะที่ข้อเสียก็ไม่ สามารถจัดการได้ เพราะวางกลไกจากความจริงด้านเดียว

สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขพึงปฏิบัติต่อกัญชาคือกลับมาแก้ปัญหาที่รากฐาน สร้างความเข้าใจต่อสังคม ให้กระจ่างชัด เพื่อให้สังคมมีข้อมูลชุดเดียวกัน แล้วร่วมกันกําหนดกลไกการควบคุมกัญชาจากข้อเท็จจริงนั้น เครือข่ายเขียนอนาคตกัญชาไทยมีข้อเรียกร้องที่กระทรวงต้องปฏิบัติทั้งในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่โ ดยตรง และกําลังเป็นหน่วยงานหลักในการกําหนดกลไกควบคุมกัญชา

1.ขอให้กระทรวงสาธารณสุขตั้งคณะทํางานขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อจัดทําข้อเท็จจริงเปรียบเทียบสิ่งที่ ก่อให้เกิดการเสพติด 4 ชนิด คือ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ - บุหรี่ - กาแฟ - กัญชา โดยเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย คุณประโยชน์ต่อสุขภาพให้ชัดเจน ทั้งนี้การเปรียบเทียบกับ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ - บุหรี่ – กาแฟ จะทําให้ ประชาชนเข้าใจชัดเจนเนื่องจากสิ่งที่ก่อให้เกิดการเสพติดทั้งสามประการอยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมานาน เมื่อ จัดทําข้อเปรียบเทียบอย่างชัดเจนแล้ว สังคมไทยจะได้นําข้อมูลมาเปรียบเทียบเพื่อพิจารณาว่า สิ่งใดควร ควบคุมด้วยกฎหมายยาเสพติด โดยขอให้กระทรวงดําเนินการภายใน 1 เดือน

             

2.ในการกําหนดกลไกควบคุมกัญชา ขอให้กระทรวงสาธารณสุขตั้งคณะทํางานเพื่อรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับกัญชาจากชุดประสบการณ์ที่หลากหลายและครอบคลุม ทั้งแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย แพทย์ แผนจีน หมอพื้นบ้าน ประชาชนผู้ใช้กัญชาในการรักษา บทเรียนและงานวิจัยจากต่างประเทศ เพื่อนําข้อมูล เหล่านี้มาทําการสังเคราะห์ในการใช้กําหนดกลไกควบคุมกัญชา นําข้อดีมาใช้และควบคุมข้อเสียได้อย่างมี ประสิทธิภาพ หากกระทรวงไม่กําหนดกลไกควบคุมจากงานศึกษา แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขพยายามหลีกเลี่ยงหลักการที่ถูกต้อง

จากการศึกษาและชุดประสบการณ์อันยาวนานของผู้ที่เกี่ยวข้องกับกัญชาเครือข่ายเขียนอนาคตกัญชา ไทยยืนยันว่ากัญชาคือความมั่นคงทางยาของประชาชนในระดับครัวเรือน การควบคุมกัญชาต้องกําหนดตาม ข้อเท็จจริง การปลูกกัญชาต้องเป็นสิทธิพื้นฐานของประชาชนภายใต้กลไกควบคุมที่เหมาะสม