ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ประธานชมรมสาธารณสุขฯ ยื่นหนังสือถึง ปลัดสธ. เรื่อง ข้อเสนอแนวทางการยกระดับบริการและความก้าวหน้าหน่วยงานในสังกัดสธ. เสนอควรจัดสรรบุคลากรตามโครงสร้างระบบปฐมภูมิ ชี้!อย่างน้อยต้องมีพยาบาล 1 คน เพื่อบริการที่มีคุณภาพและครอบคลุมทุกมิติ

ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ยื่นหนังสือถึง ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ข้อเสนอแนวทางการยกระดับบริการและความก้าวหน้าหน่วยงานในสังกัดสธ. ลงนามโดย นายประพันธ์ ใยบุญมี ประธานชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย วันที่ 27 ธ.ค. 2566 โดยมีสาระสำคัญว่า ด้วยชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย ได้รับความคิดเห็นของบุคลากรสาธารณสุขระดับพื้นที่ เพื่อเสนอแนะต่อผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขทั้งด้านนโยบาย การบริหารด้านทรัพยากรบุคลากร งบประมาณ และ ยุทธศาสตร์การพัฒนา สอน./รพ.สต. และสํานักงานสาธารณสุขอําเภอ หลังการกระจายอํานาจถ่ายโอนสอน/ รพ.สต. ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด ดังนี้

1. การถ่ายโอน สอน./รพ.สต. ไปยังองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในปี 2566-2567 ส่งผลให้กระทรวงสาธารณสุขยังคงเหลือ สอน./รพ.สต. ในสังกัด จํานวน 5,000 กว่าแห่ง และบุคลากรที่ปฏิบัติงาน ไม่เป็นไปตามกรอบอัตรากําลังโครงสร้าง 7,12,14 ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ สอน./รพ.สต. หลังการ พบว่าหน่วยบริการที่อยู่ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขมีค่าเฉลี่ยบุคลากรน้อยกว่าหน่วยบริการที่ถ่ายโอน ไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด เห็นควรให้กระทรวงสาธารณสุข จัดสรรบุคลากรให้ใกล้เคียงกับกรอบอัตราโครงสร้าง คือ ต้องมีบุคลากรด้านวิชาชีพอย่างน้อย 5,7,8 คน และต้องมีพยาบาลอย่างน้อย 1 คน เพื่อสามารถให้บริการได้อย่างมีคุณภาพทางการพยาบาลและครอบคลุมบริการทุกมิติ

2. ความก้าวหน้าการเข้าสู่ตําแหน่งที่สูงขึ้นใน ระดับชํานาญพิเศษ ของผู้อํานวยการ สอน./ (นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ) เห็นควรให้ผู้บริหารระดับจังหวัดและเขตสุขภาพ พิจารณาจัดสรรให้ทุกหน่วยบริการสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเข้าสู่ตําแหน่งที่สูงขึ้นได้ทุกแห่ง และพยาบาลวิชาชีพ/นักวิชาการ สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการเข้าสู่ตําแหน่งตามหลักเกณฑ์วิชาการได้

3. การเข้าสู่ตําแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข นักสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข เจ้าพนักงานเภสัชกรรม ที่มีวุฒิจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตหรือหลักสูตรเทียบเท่าตามที่กพ.กําหนด สามารถเข้าสู่ตําแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข และนักสาธารณสุข เห็นควรให้กระทรวงสาธารณสุข พิจารณากําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเข้าสู่ตําแหน่ง โดยใช้ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเป็นเงื่อนไขพิเศษในการเข้าสู่ตําแหน่งที่สูงขึ้น

4. การจัดสรรงบประมาณ ของ สอน./รพ.สต. เฉพาะผลงาน ส่งเสริม ควบคุมและป้องกันโรค รวมถึงการให้บริการตามโปรแกรมต่างๆ ของสํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) กําหนด เห็นควรให้สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) การจัดสรรเงินสนับสนุนการดําเนินงานของสอน./รพ. สต. สามารถโอนเงินไปยังหน่วยบริการผู้ปฏิบัติงานโดยตรง และหน่วยบริการสามารถเบิกจ่ายตรงสิทธิ์ข้าราชการได้

5. การจัดสรรงบประมาณอุดหนุนของ สอน./รพ.สต. สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เห็นควรให้กระทรวงสาธารณสุข จัดทําแผนขอรับการสนับสนุนเงินอุดหนุนตามขนาด SMLจากสํานักงบประมาณ เช่นเดียวกับ สอน./รพ.สต. ที่สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและลดความเหลื่อมล้ํา