ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

สปสช.  จับมือ คณะวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ พัฒนางานวิจัยนวัตกรรมด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และส่งเสริมการผลิตบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล หวังพัฒนาระบบสุขภาพไทย

เมื่อวันที่ 9 ก.พ.  256ฃ สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยคณะวิทยาศาสตร์ จัดพิธีลง นามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ว่าด้วยความร่วมมือด้านวิชาการ เรื่อง การพัฒนางานวิจัยองค์ความรู้และนวัตกรรม ด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และส่งเสริมการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางด้าน วิทยาศาสตร์ ข้อมูล ณ อาคารศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ จุฬาภรณ์ 60 พรรษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 9 ก.พ. 2567

แพทย์หญิงลลิตยา กองคํา รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า สปสช. รับผิดชอบบริหารกองทุนหลักประกัน สุขภาพแห่งชาติ คุ้มครองการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนไทยสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกว่า 47 ล้านคน รวมทั้งการบริหารบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสําหรับคนไทยทุกสิทธิกว่า 66.8 ล้านคน ซึ่งในการ พัฒนาชุดสิทธิประโยชน์และนวัตกรรมการบริการ เพื่อดูแลประชาชนให้ได้รับบริการที่มีคุณภาพ จะต้องมีการใช้ ข้อมูลงานวิจัยและหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อนํามาพัฒนางาน และนําไปสู่การตัดสินใจในระดับนโยบาย หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือการตัดสินใจเชิงนโยบายโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ มีความสําคัญต่อการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่
การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม

นอกจากนี้ แผนปฏิบัติราชการ สปสช. ฉบับที่ 5 ปี 2566-2570 ยังกําหนดกลยุทธ์เร่งรัดการบริหาร จัดการข้อมูลขนาดใหญ่และการใช้ประโยชน์ รวมทั้งการคืนข้อมูลให้ประชาชน หน่วยบริการ และหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยจัดเตรียมข้อมูลให้พร้อมเผยแพร่ในรูปแบบ Open Data ให้นําข้อมูล ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ขณะเดียวกัน เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงทั้งในด้านวิชาการ ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ที่เกี่ยวกับการแพทย์ และสาธารณสุข สปสช. ยังได้สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการทําความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัย โดยกําหนด โจทย์วิจัยเพื่อนํามาใช้ในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพ สนับสนุนข้อมูลและเปิดช่องทางการเข้าถึงข้อมูลตามกรอบการออกแบบงานวิจัย และร่วมเรียนรู้ในการวิเคราะห์ข้อมูลตามโจทย์ที่กําหนด

"สปสช. รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้มีพิธีลงนามเอ็มโอยูกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรายินดีที่ได้สนับสนุนการพัฒนาบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล ชีวการแพทย์ทางด้านนวัตกรรมข้อมูลสําหรับ การวิจัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข ให้สอดคล้องกับความเชี่ยวชาญของ สปสช. และตรงกับความต้องการของ ประเทศ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะบรรลุผลสําเร็จตามที่ตั้งใจไว้"รองเลขาธิการฯสปสช.กล่าว

ด้าน รศ.ดร.อภิสิฏฐ์ คงสะเสน คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า คณะ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นคณะที่รวบรวมแหล่งความรู้ทางวิชาการหลากหลายสาขาที่เกี่ยวข้อง กับการแพทย์และสาธารณสุข และได้พัฒนาหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลชีวการแพทย์ หรือ Biomedical Data Science Program ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีการผสมผสานของสาขาวิชาสถิติ คอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ และสาขาวิชาในสังกัดของคณะสาธารณสุขศาสตร์ รวมถึงวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ใน การพัฒนาบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลชีวการแพทย์ ทางด้านนวัตกรรมข้อมูลสําหรับการวิจัยด้านการแพทย์ และสาธารณสุข รวมถึงพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงทั้งใน ด้านวิชาการ ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ที่เกี่ยวกับการแพทย์และสาธารณสุข

"ความร่วมมือในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุน การผลิตและการพัฒนาบุคลากรทางด้าน วิทยาศาสตร์ข้อมูล การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านการบริหารจัดการ และวิเคราะห์ข้อมูลด้านการแพทย์และ สาธารณสุข โดยการนําข้อมูลสารสนเทศสุขภาพมาวิเคราะห์และสังเคราะห์เชิงลึกด้วยวิธีการทางด้านชีวสถิติ ระบาดวิทยา และนวัตกรรมข้อมูล รวมถึงร่วมกันพัฒนา สร้างสรรค์ และต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรมด้าน สุขภาพและคุณภาพชีวิต เพื่อนําผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจในเชิงนโยบายเพื่อนําไปสู่การพัฒนานโยบายสุขภาพของประเทศต่อไป"รศ.ดร.อภิสิฏฐ์ กล่าว