ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

บอร์ดค่าจ้างมีมติเอกฉันท์ขึ้นค่าจ้าง 400 บาท นำร่อง 10 จังหวัดท่องเที่ยว มีผล 13 เม.ย.นี้ เป็นของขวัญวันสงกรานต์แง้มอีก 2 กลุ่มธุรกิจเตรียมเฮ ต่อขึ้นค่าจ้างรอบถัดไป   

 

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม  ที่กระทรวงแรงงาน มีการประชุมคณะกรรมการค่าจ้างขั้นต่ำ ชุดที่ 22 (ไตรภาคี) ซึ่งมีนายไพโรจน์ โชติกเสถียร ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานกรรมการฯ โดยมีการพิจารณาปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็นครั้งที่ 2 ของปีงบประมาณ 2567 และมีการปรับสูตรการพิจารณาใหม่ ที่อิงกับ ภาวะเงินเฟ้อ ประเภทการทำงาน ทักษะฝีมือแรงงาน ที่สำคัญคือไม่ได้ปรับทั้งประเทศ ซึ่งรอบนี้มีเพียง 10 จังหวัดนำร่อง และปรับในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมที่พัก ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี กระบี่ สงขลา พังงา ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี พัทยา  และระยอง เป็นต้น ซึ่งเป็นมีรายได้จากการท่องเที่ยวสูง และจังหวัดอุตสาหกรรม และยังปรับแบบเจาะจงเฉพาะพื้นที่หรือบางอำเภอของจังหวัดนั้นๆ ด้วย โดยที่ประชุมเริ่มพิจารณาตั้งแต่เวลา 13.30 น. และเสร็จการประชุมพร้อมมีมติก่อนแถลงผลการพิจารณาในเวลา 15.30 น. รวมมีการหารือ 2 ชั่วโมง

นายไพโรจน์ แถลงว่า ที่ประชุมมีมติเอกฉันท์ ให้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำใน 10 จังหวัดนำร่อง และขึ้นในบางพื้นที่นำร่อง กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมที่พัก 4 ดาวขึ้นไป และมีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไป ในอัตรา 400 บาทเท่ากัน มีผลตั้งแต่วันที่ 13 เม.ย.นี้ จากนี้จะนำเสนอครม.ในวันที่ 2 เม.ย. และจะรายงานให้นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.แรงงาน ทราบต่อไป  

 

โดย 10 จังหวัดที่จะได้ขึ้นค่าจ้างรอบ 2  ดังนี้

1.“กรุงเทพมหานคร” ให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำในพื้นที่ เขตปทุมวัน และเขตวัฒนา  

2.“เชียงใหม่” ให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำในพื้นที่เทศบาลนครเชียงใหม่

3.“ภูเก็ต” ให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำทั้งจังหวัด

4.“กระบี่” ให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง

5.“สงขลา” เฉพาะเทศบาลนครหาดใหญ่

6.“สุราษฎร์ธานี” ให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำในพื้นที่อ.เกาะสมุย

7.“พังงา” ให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำในพื้นที่เทศบาลตำบลคึกคัก

8. “ชลบุรี” ให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำในพื้นที่เมืองพัทยา

9. “ประจวบคีรีขันธ์” ให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำในพื้นที่เทศบาลหัวหิน

10. “ระยอง” ให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำในพื้นที่ต.บ้านเพ

นายไพโรจน์ กล่าวต่อว่า สำหรับกลุ่มธุรกิจต่อไปที่จะมีการพิจารณาขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ คือกลุ่มธุรกิจภาคการส่งออก โลจิสติกส์