ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

ชมรมแพทย์ชนบทรุกคืบต้านพีฟอร์พี บี้ "ยิ่งลักษณ์" ปลดหมอประดิษฐพ้นตำแหน่ง บ่นน้อยใจนายกฯ ไม่เคยแยแส ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมินอารยะขัดขืน อ้างบุคลากรทางการแพทย์ 2.8 หมื่นคนให้การสนับสนุน แต่อ้อมแอ้มเปิดทางให้เจรจา ขณะที่รองปลัด สธ.เล็งงัดโทษวินัยฟันม็อบแพทย์

มีความเคลื่อนไหวของชมรมแพทย์ชนบท อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเมื่อเช้าวันอังคาร ที่โรง แรมเอเชียแอร์พอร์ต ได้นัดรวมพลกว่า 500 คน เพื่อหารือถึงแนวทางการแสดงอารยะขัด ขืนต่อระเบียบการจ่ายเงินค่าตอบแทนตามภาระงาน หรือพีฟอร์พี

นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า หลังจากที่มีหลายๆ โรงพยาบาลออกมาแสดงอารยะขัดขืนต่อนโยบายพีฟอร์พี เช่น การติดป้ายต่อต้าน นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระ ทรวงสาธารณสุข ที่หน้าโรงพยาบาล การสวม ปลอกแขนสีดำ การติดโบสีดำ และการประกาศไม่ร่วมสังฆกรรมอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับเรื่องพีฟอร์พีนั้น ทำให้อีกหลายๆ โรงพยาบาลเริ่มกล้าที่จะออกมาแสดงจุดยืน จึงอยากจะขอให้กล้าๆ ออกมากัน

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีกิจกรรมอะไรบ้างที่หน้าพรรคเพื่อไทย นพ.เกรียงศักดิ์บอกว่า จะเดินทางไปยื่นหนังสือถึงกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย เพื่อให้พิจารณาถอดถอน นพ.ประดิษฐ ออกจากตำแหน่ง จากนั้นจะเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นเสื้อกาวน์สีขาว ส่วนผู้หญิงจะสวมชุดสีชมพู เพื่อร้องทุกข์ต่อสมเด็จพระบิดาแห่งสาธารณสุขไทย ที่โรงพยาบาลศิริราช

"ที่เราต้องยื่นหนังสือให้กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยแทน เพราะน้อยใจทำไมนายกรัฐ มนตรีไม่แยแสความเดือดร้อนของชาวบ้าน ผู้พิการ ผู้ป่วย ที่เลือกเขาเข้ามาเป็นรัฐบาล ปล่อยให้คนของพรรคเพื่อไทยเข้ามาทำลายระบบ ทำไมนายกฯ ถึงไม่แยแส" นพ.เกรียงศักดิ์กล่าว ทำไมนายกฯ ถึงไม่แยแส" นพ.เกรียงศักดิ์กล่าว

เขาย้ำว่า ถ้าวันนี้นายกฯ ยังไม่มาดู ก็แล้วแต่เขา เพราะเราได้แสดงอารยะขัดขืนไปแล้ว ผลกระทบซึ่งตกอยู่กับชาวบ้าน ก็ขึ้นอยู่กับชาวบ้านว่าจะแสดงออกอย่างไร ส่วนทางกลุ่มแพทย์ชนบทอยากให้มีการยกเลิกมติ ครม.และกลับมาใช้ระเบียบเงินค่าตอบแทนฉบับที่ 4, 6 เช่นเดิม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 11.30 น. กลุ่มแพทย์ชนบทได้ทำการฉีกกระดาษเอ 4 ซึ่งมีสัญลักษณ์ข้อความ "แนวทางการจ่ายค่าตอบแทน มีการปลุกเร้าอารมณ์  P4P กระทรวงสาธารณสุข" และภาพถ่ายหน้าตรงของ นพ.ประดิษฐ สีขาวดำ พร้อมกันก่อนจะเดินทางต่อไปยังพรรคเพื่อไทยในเวลา 14.00 น.

ทางด้าน นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวเมื่อวันอังคาร ถึงกรณีกลุ่มแพทย์ชนบทออกมาขับไล่และคัดค้านระเบียบการจ่ายเงินค่าตอบแทนตามภาระงาน หรือพีฟอร์พี ว่ายืนยันไม่มีการลาออก เพราะไม่ได้ทำผิดอะไร ที่ผ่านมาพยายามปรับความเข้าใจมาตลอด และจากนี้ตนจะเชิญแพทย์ชนบทมาเจรจาทำความเข้าใจ ร่วมกันกับ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากเห็นว่าปัญหาอยู่ที่แนวทางปฏิบัติ

"ฝั่งแพทย์ชนบทก็ต้องยอมรับที่จะมาเจรจาด้วย เห็นว่ามีหลักเกณฑ์อะไรที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ต้องมาคุยกับข้าราชการประจำ ไม่อย่างนั้นก็ไม่สามารถยุติปัญหาได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการจ่ายเงิน การปรับพื้นที่ ผมก็ได้เปิดทางให้สามารถยื่นอุทธรณ์ภายใน 19 เมษายนนี้ ผมเปิดทางให้หมดแล้ว"

นพ.ประดิษฐกล่าวว่า สำหรับการแสดงอารยะขัดขืนของกลุ่มแพทย์ชนบทด้วยการแต่งกายสีดำ และฉีกรูปของตนนั้น ถ้าเป็นการกระทำเกี่ยวกับตนโดยตรงก็ไม่ได้ถืออะไร แต่ขอให้ทำอยู่ในขอบเขตที่สมควร เพราะบางครั้งการแต่งชุดดำ ในบางที่ก็ถือเป็นเรื่องไม่เหมาะสม อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิด และต้องดูความหมายของคำว่าอารยะขัดขืนด้วย ถ้าอารยะขัดขืนหมายถึงการไม่ยอมทำตามหน้าที่ตรงนี้ ตนก็ไม่ยอม ถ้าเป็นการกระทำชอบธรรม ก็ไม่ว่า เช่นเรื่องที่ไม่ไหว้ตนก็ไม่ว่า  ก็ไม่ว่า เช่นเรื่องที่ไม่ไหว้ตนก็ไม่ว่า

อย่างไรก็ตาม วันนี้ได้มีกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ ได้มาแสดงการสนับสนุนระเบียบพีฟอร์พี พร้อมกับยื่นรายชื่อบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลต่างๆ จำนวน 2.8 หมื่นคน เพื่อสนับสนุนในเรื่องดังกล่าวด้วย และจะมีรายชื่อสนับสนุนเพิ่มมาอีก

ขณะที่ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เมื่อมติคณะรัฐมนตรีออกมาเรียบร้อยแล้วจะต้องมีการดำเนินการ เพราะถือเป็นกฎหมายที่ต้องปฏิบัติตาม และเป็นหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข ต้องชี้แจงให้สถานบริการต่างๆ ได้รับทราบ ส่วนพวกแพทย์ที่ไม่พอใจก็ต้องค่อยๆ เคลียร์กันไป และคุยกันเป็นระยะเพื่อให้เดินหน้าต่อไป

ผู้สื่อข่าวถามว่าการออก มาเคลื่อนไหวเช่นนี้ ถือว่าผิด ระเบียบการปฏิบัติตัวของข้าราช การหรือไม่ นพ.สุพรรณ กล่าวว่า โดยระเบียบวินัยของข้าราชการมีกำหนดไว้อยู่แล้ว แต่ยังถือว่าน้องๆ อาจจะยังเข้าใจไม่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นเมื่อยังไม่เข้าใจก็ให้มาพูดคุยกัน แต่ต่อไปถ้ายังทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง ทำอะไรที่เกินขอบเขต เกินสิทธิหน้าที่ เกินวินัยข้าราชการที่ควรจะเป็นอาจจะต้องดำเนินการตามขั้นตอน ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติ มีขีดจำกัดมีช่องทางดำเนินการอยู่แล้ว

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 10 เมษายน 2556