ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

แนวหน้า - นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวง สาธารณสุข เปิดเผยว่า ขณะนี้เข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านฤดูจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน สภาพอากาศ ที่อบอุ่นขึ้น มีผลต่อการเพิ่มจำนวนยุง โดยเฉพาะ ยุงลายซึ่งเป็นตัวการแพร่เชื้อไข้เลือดออก เนื่องจากในช่วงที่อากาศหนาวเย็น และสภาพอากาศแห้ง มีผลต่อระบบการไหลเวียนเลือด ของยุงไม่ดี และไม่มีแรงบินออกไปหากินเลือดคน ยุงจะใช้ชีวิตแบบจำศีล จึงไม่เอื้อต่อการแพร่พันธุ์ แต่เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 20 องศา เซลเซียส ระบบการไหลเวียนเลือดในยุงดีขึ้น ยุงลายจะรีบออกมากินเลือดคน อาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อของโรคไข้เลือดออกได้อย่างรวดเร็ว และหากมีฝนตกในช่วงนี้ จะเพิ่มแหล่งวางไข่ยุง ทำให้จำนวนยุงลายเพิ่มขึ้นได้กำชับให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัดทั่วประเทศ เร่งรณรงค์กระตุ้นเตือนประชาชนให้กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในบ้าน เช่น ภาชนะเก็บ น้ำใช้ แจกันไม้ประดับ เศษขยะ ภาชนะรอบบ้าน โรงเรียน โรงงาน สถานที่ทำงาน โรงพยาบาล ศาสนสถานต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่พบผู้ป่วยในปีที่ผ่านมา ทำอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ ซึ่งในฤดูหนาวและถือว่าเป็นช่วงทองในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก เนื่องจากอากาศเย็นและแห้ง ไม่มีน้ำฝนขังตามเศษภาชนะมากเหมือน ฤดูฝน

ในปี 2557 นี้ ยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออก อย่างต่อเนื่อง นักวิชาการคาดการณ์ว่าสถานการณ์ โรคไข้เลือดออกจะไม่รุนแรงเช่นในปี 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งพบผู้ป่วย 152,768 ราย เสียชีวิต 132 ราย สูงสุดในรอบ 20 ปีอย่างไรก็ตาม คาดว่า จำนวนผู้ป่วยอาจสูงถึง 80,000-100,000 ราย โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-17 กุมภาพันธ์ 2557 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว 1,433 ราย เสียชีวิต 1 ราย ที่น่าห่วงคือยังพบว่าประชาชนมีความเข้าใจที่ผิดว่า การควบคุมยุงลายเป็นหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเคยชินกับการมีลูกน้ำอยู่ในบ้าน หรือในภาชนะ เศษขยะในบริเวณบ้าน จึงไม่คิด จะลงมือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายด้วยตนเอง จะรอให้เจ้าหน้าที่มาพ่นเคมีฆ่ายุงตามท่อระบายน้ำ ต่างๆ ตามแอ่งน้ำเสีย ซึ่งยุงที่อยู่ในแหล่งนี้ เป็นยุงรำคาญที่กัดคนกลางคืน ไม่ใช่ยุงลาย ซึ่งจะ ต้องเร่งเปลี่ยนทัศนคติเหล่านี้ใหม่ว่า บ้านตนเอง ครอบครัวตนเอง คนในครอบครัวต้องเป็นคนดูแลเอง หรือที่เรียกว่า บ้านใครบ้านมัน

ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า  วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2557