ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

บอร์ดการแพทย์ไฟเขียวเพิ่มค่ารักษาให้ผู้บาดเจ็บจากการทำงานจาก 3 แสนบาทเป็น 1 ล้านบาท

วันที่ 31 ส.ค. นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการการแพทย์ กองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ที่ผ่านมาว่า ที่ ประชุมมีมติให้เพิ่มค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้ประกันตนที่ได้รับบาดเจ็บเนื่องจากการทำงานในกองทุนเงินทดแทนจาก 300,000 บาท เป็น 1,000,000 บาท โดยต้องเสนอคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนเห็นชอบอีกครั้ง

นพ.สมเกียรติ กล่าวต่อว่า หากผู้ประกันตนที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำงานและมีค่ารักษาพยาบาลต่ำกว่า 300,000 บาทให้ปฏิบัติตามระเบียบเดิม ส่วนผู้ประกันตนที่มีค่ารักษาพยาบาลเกินกว่า 300,000 บาท จะใช้วิธีให้โรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาใช้ระบบดีอาร์จี คือระบบจำแนกความรุนแรงของโรคแบบสากล จำแนกความรุนแรงโรคของผู้ประกันตน หลังจากนั้นจะพิจารณาค่าน้ำหนักความรุนแรงของโรค (Relative Weight-RW)

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า หากผู้ประกันตนมีค่า RW เกินกว่าระดับ 20 ขึ้นไป ให้โรงพยาบาลพิจารณาว่าโรคดังกล่าวมีความรุนแรง และให้ส่งเรื่องมายัง สปส. หลัง จากนั้น สปส.จะให้คณะกรรมการการแพทย์นำกรณีของผู้ประกันที่ได้รับบาดเจ็บเนื่องจาก การทำงานไปพิจารณาว่า จะจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ผู้ประกันตนเท่าไร โดยมีข้อกำหนดว่าต้องไม่เกิน 1,000,000 บาท จะพิจารณาค่าใช้จ่าย 500,000 บาทแรก โดยใช้เวลาไม่เกิน 15 วัน ส่วนค่าใช้จ่าย 500,000 บาทหลัง มีระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน หลังจากรักษาผู้ประตนแล้ว โรงพยาบาลสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลของผู้ประกันตนกับสปส.ได้ทันที

 “ขณะนี้ สปส.กำลังเร่งจัดทำร่างแก้ไขกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลของกองทุนเงิน ทดแทน และร่างประกาศกระทรวงแรงงานเสนอคณะกรรมการการแพทย์พิจารณา หลังจากนั้นก็จะเสนอคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนให้ความเห็นชอบ และเสนอต่อคณะกรรมการประกันสังคมต่อไปคาดว่าใช้เวลาไม่เกิน 6 เดือนร่างแก้ไขกฎกระทรวงจะประกาศใช้ได้” ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว

ที่มา: http://www.dailynews.co.th