ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

กระทรวงสาธารณสุข เผยไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเร็วที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ล่าสุดมีผู้สูงอายุที่อยู่ในวัยปลาย อายุ 80 ปีขึ้นไปซึ่งเป็นวัยแห่งการพึ่งพิงครอบครัว ประมาณ 8 แสนคน จะเพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านคนในอีก 12 ปี เร่งจับมือกระทรวงพัฒนาสังคมฯและไจก้า พัฒนารูปแบบบริการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวทั้งการแพทย์ สังคม ให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทร่วม หวังช่วยลดภาระครอบครัว ลดอัตราเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล นำร่องต้นแบบ 6 จังหวัดที่เชียงราย ของแก่น สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา นนทบุรี และกทม. ใช้เวลาศึกษา 5 ปี

วันนี้(12 กุมภาพันธ์ 2556)ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ชาญวิทย์ ทระเทพ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)พร้อมด้วยนายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) นายคิมิโนริ อิมามะ รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ดร.คาซูชิ ยามาอูจิ ผู้อำนวยการสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กองการต่างประเทศและเลขาธิการ กระทรวงอนามัย แรงงาน และสวัสดิการของประเทศญี่ปุ่น และนายคาซูฮีโร โยเนดะ หัวหน้าผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นประจำประเทศไทย(ไจก้า) ประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนารูปแบบบริการระยะยาวดูแลผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงรวมทั้งกลุ่มอายุอื่นที่ต้องการความช่วยเหลือในชีวิตประจำวัน(Long-Term care service development for the frail elderly and other vulnerable people)

นายแพทย์ชาญวิทย์ กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ฐานประชากรของไทยขณะนี้ พบว่าไทยเป็นประเทศที่ก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุเร็วที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน จำนวนเด็กเกิดใหม่ลดลง อัตราส่วนประชากรวัยสูงอายุเท่ากับ 1 ใน 2 ของประชากรเด็ก เกิดสภาวะการพึ่งพิงทางสังคมมากขึ้น ผู้สูงอายุในอนาคตจะมีผู้ดูแลลดน้อยลง ปัจจุบันไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 8.1 ล้านกว่าคน หรือประมาณร้อยละ 12 ของประชากรทั้งประเทศที่มีประมาณ 64 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไป ซึ่งเรียกว่าวัยปลายประมาณร้อยละ9.8 หรือราว 8 แสนคน ซึ่งวัยนี้มักจะมีปัญหาสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง คาดว่าจำนวนผู้สูงอายุกลุ่มนี้จะเพิ่มเป็นร้อยละ 12.4 ในปี 2568 หรือกว่า 1 ล้านคนในอีก 12 ปีข้างหน้า จึงต้องเร่งพัฒนาจัที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ด้วย เช่นผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง อย่างเหมาะสมกับสวัสดิการอื่นๆและสภาพสังคมไทยที่สุด โดยให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการดูแล สามารถลดภาระครอบครัว ลดอัตราการรักษาตัวในโรงพยาบาล ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่กับครอบครัว ชุมชนของตนเองอย่างอบอุ่น เบื้องต้นนำร่องต้นแบบที่ 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย ขอนแก่น สุราษฎร์ธานี นครราชสีมา นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร

นายแพทย์ชาญวิทย์ กล่าวต่อไปว่า การแก้ปัญหาระยะยาว ต้องทำให้โครงสร้างอายุประชากรสมดุล คือผู้หญิง 1 คนต้องมีบุตรเฉลี่ย 2.1 คน ซึ่งขณะนี้มีแค่ 1.5 จึงมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในการพัฒนาระบบบริการดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และไจก้า ประเทศญี่ปุ่น ดำเนินการจัดหารูปแบบ เน้นหนักที่การลดภาระของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ โดยให้อยู่กับครอบครัวให้นานที่สุด และการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหลักซึ่งจะทำให้เกิดความยั่งยืนต่อเนื่อง ดำเนินการ 5 ปี ระหว่างพ.ศ. 2556-2560 โครงการดังกล่าวนี้เป็นการพัฒนาต่อยอดจากโครงการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการระบบบริการสุขภาพและสวัสดิการสังคมเชิงบูรณาการโดยชุมชนสำหรับผู้สูงอายุในประเทศไทย(CTOP) ทั้งนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 2 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโครงการ คณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนหน่วยงานทั้งในและนอกสังกัด และผู้แทนรัฐบาลญี่ปุ่น มีหน้าที่กำหนดนโยบายและแนวทางดำเนินงานมีปลัดกระทรวงสาธารณสุขและปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมฯเป็นประธาน และชุดคณะกรรมการดำเนินงานในพื้นที่