ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

 

องค์กร "ตระกูล ส." รวมงบแสนกว่าล้าน ส่อโดนฮุบเบ็ดเสร็จ "หมอประดิษฐ" สั่งให้ขึ้นตรงบอร์ดตั้งใหม่ อ้างจะได้ทำงานกันใกล้ชิดเป็นระบบ จ่อเสนอ ครม.เร็วๆ นี้ ด้านหมอชนบทนัดแต่งชุดดำประท้วงเหตุ สธ.ยกเลิกเบี้ยกันดาร ชี้เปิดช่องสมองไหล เอื้อ รพ.เอกชนดึงตัวหมอ รพ.รัฐง่ายขึ้น

นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเมื่อวันอังคารหลังการประชุมปฏิรูปกระทรวงสาธารณสุขว่า ขณะนี้เรามองว่าปัญหาของระบบบริการสุขภาพประชาชนยังขาดผู้ที่มากำหนดนโยบายอย่างชัดเจน ทำให้แต่ละหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขทำงานไปคนละทิศทาง ประกอบกับมีคณะกรรมการหลายชุด ทั้งคณะกรรมการยาสูบแห่งชาติ คณะกรรมการนโยบายแอลกอฮอล์แห่งชาติ คณะกรรมการด้านกำลังคนแห่งชาติ ซึ่งทุกชุดมีนายกรัฐมนตรีหรือตนนั่งเป็นประธานบ้าง

"ดังนั้นในแง่ของการปฏิบัติงานจึงกระ จายไปคนละทิศทาง ไม่มีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน จึงเกิดแนวคิดว่าควรจะมีการตั้งคณะกรรมการนโยบายสาธารณสุขแห่งชาติขึ้นมาชุดเดียว โดยมีนายกรัฐมนตรีนั่งเป็นประธาน เรียกว่าคณะรัฐมนตรีด้านสุขภาพ เช่นเดียวกับคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน และรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมกันทำงานกำหนดแนวทางพัฒนานโยบายต่างๆ ให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งคณะกรรมการย่อยต่างๆ ก็จะมารวมอยู่ในคณะกรรมการชุดนี้"

นพ.ประดิษฐกล่าวต่อว่า ส่วนหน่วยงานตระกูล "ส." ยืนยันว่าจะไม่มีการยุบแน่ นอน เพราะแต่ละหน่วยงานเกิดขึ้นมาจากตัวกฎหมาย แต่จะดึงเข้ามาอยู่ภายใต้คณะกรรมการชุดใหญ่ เช่น สช. มีนโยบายอย่างไร มีข้อเสนอเชิงนโยบายอย่างไร ก็ส่งต่อมายังคณะกรรมการนโยบายสาธารณสุขแห่งชาติ เพื่อมาคัดกรองรายละเอียดและหัวข้อนำเสนอ ก่อนที่จะมีการพิจารณาเป็นนโยบายภาคปฏิบัติอย่างไร และเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อสรุปเป็นทิศทางการดำเนินงานต่อไป ดีกว่าอย่างไร และเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อสรุปเป็นทิศทางการดำเนินงานต่อไป ดีกว่านำเสนอขึ้นมาแล้วไม่ได้รับการตอบรับ ซึ่งนี้คือทิศทางการดำเนินงานในอนาคต

"ในระยะต้นเราไม่ได้มีการแก้กฎหมาย เพียงแต่ว่าคณะกรรมการทุกชุดนั้น ถ้ามีวาระนำเสนอหรือมีประเด็นอยากให้พิจารณา ก็จะต้องนำเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการบอร์ดใหญ่ เพื่อให้ทำการพิจารณาให้นโยบายต่างๆ ลงไป โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการที่ชัดเจน เพราะที่ผ่านมามีการมอบนโยบายลงไปก็มีการทำบ้างไม่ทำบ้างมันก็มีปัญหาเกิดขึ้น" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขระบุ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับหน่วยงานด้านสุขภาพ "ตระกูล ส." มีหลายหน่วยงาน ซึ่ง แต่ละปีจะได้รับงบประมาณจำนวนมาก อาทิ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน (สพฉ.) ได้รับงบประ มาณเพื่อใช้ในงานบริหารงานปัจจุบันประ มาณ 170 ล้านบาท และงบประมาณสำหรับจัดการกองทุนปัจจุบันประมาณ 170 ล้านบาท สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้รับงบประมาณจากกรมบัญชีกลางล่าสุดเมื่อปี 2556 จำนวน 108,744.46 ล้านบาท สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้รับงบประมาณ 2% จากภาษีบาปทั้งหมด หรือประมาณปีละ 3 พันกว่าล้านบาท แต่หากยิ่งเก็บภาษีบาปได้มาก งบประมาณส่วนนี้ก็จะเพิ่มขึ้นด้วย สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้รับงบประมาณประมาณปีละ 200 ล้านบาท

แหล่งข่าวจาก สสส.กล่าวว่า กรณีดังกล่าว สสส.ยังไม่มีความเห็น แต่โดยหลักการ คณะกรรมการบริหารกองทุน สสส.จะมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานอยู่แล้ว และจะมีการหารือภายใน สสส. ในวันศุกร์ที่ 15 มี.ค.นี้ เชื่อว่าหากที่ประชุมมีมติออกมาอย่างไร ก็คงต้องยึดตามนั้น

วันเดียวกันนี้ กลุ่มแพทย์ชนบท โดย นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท เผยว่า แพทย์ชนบทจะตรวจสอบดูพฤติกรรมของ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หากพบว่ามุ่งเน้นมาทำนโยบายเมดิคัลฮับเปิดประตูเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) และให้ รพ.เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วยอย่างมากมาย เริ่มตั้งแต่การยกเว้นวีซ่ากับคนไข้ชาวต่างชาติ เพียงแค่มีใบนัดหมายของแพทย์เท่านั้น ก็สามารถเข้าเมืองไทยได้เลย และขณะนี้เรารู้ข้อมูลมาว่ามีการโยงใยเรื่องผลประโยชน์กับ รพ.เอกชน เช่น รพ.เอกชนและขณะนี้เรารู้ข้อมูลมาว่ามีการโยงใยเรื่องผลประโยชน์กับ รพ.เอกชน เช่น รพ.เอกชนแห่งหนึ่งได้ไปซื้อที่เพื่อตั้ง รพ.แถบชายแดนจำนวนมาก และเป็นไปไม่ได้ที่จะเอาแพทย์จากกรุงเทพฯ ไปประจำ เพราะฉะนั้นจะต้องใช้การดึงแพทย์จาก รพ.จังหวัด รพ.ชุมชนในพื้นที่ โดยเฉพาะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่กว่าเราจะผลิตได้ ต้องใช้เงินค่อนข้างสูง

ทั้งนี้ เมื่อโยงถึงเรื่องค่าตอบแทนซึ่งเคยให้เพื่อเป็นแรงจูงใจให้แพทย์ลงไปทำงานในพื้นที่ชนบท และหากระเบียบการจ่ายเงินค่าตอบแทนตรงนี้ยังอยู่ จะทำให้ รพ.เอกชนต้องใช้เงินมาซื้อตัวแพทย์ไปทำงานเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อ รมว.สธ.ประกาศนโยบายไปแล้วว่า ในปี 2557 จะตัดเงินค่าตอบแทนแพทย์ที่ยอมไปทำงานในพื้นที่ทุรกันดารทิ้งไป เป็นการจ่ายตามภาระงาน หรือการสร้างผลงาน ทำให้เอกชนเขาช้อนตัวได้เลย

"ดังนั้นวันที่ 13 มี.ค. จะมาแสดงจุดยืนว่าเราไม่ร่วมสังฆกรรมการทำงานตราบใดที่ยังมีปลัด สธ.คนนี้ หาก รมว.สธ.คนนี้อยู่ เราจะถอนตัวจากการเป็นคณะกรรมการทุกชุดใน สธ. และจะทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้พิจารณาเปลี่ยน รมว.สธ.ใหม่"

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วันที่ 13 มีนาคม 2556