ข้ามไปยังเนื้อหาหลัก

ปลัดสธ.เผยแพทย์ขาดแคลน หลายปัจจัย ด้านสธ.เดินหน้าแก้ปัญหา ทั้งผลิตบุคลากร ทั้งปรับค่าตอบแทน ความก้าวหน้า สวัสดิการ ดึงอยู่ในระบบมากขึ้น

 

 

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวรพ.ในสังกัดสธ.บางแห่งออกมาประกาศขาดแคลนแพทย์ว่า การขาดแคนแพทย์มีอยู่ 2-3 ประเด็นหลักๆคือความต้องการในการดูแลประชาชนมีสูงขึ้น อย่างการคัดกรองโรคติดต่อสำคัญๆ ก็ทำให้บุคลากรมีภาระงานมากขึ้น แต่เป็นเรื่องที่ดีซึ่งต้องดำเนินการ สิ่งที่ตามมาคือ ต้องหาบุคลากรให้สอดคล้องภาระงานมากขึ้น ทั้งแพทย์พยาบาลและวิชาชีพต่างๆ ซึ่งมีทั้ง 1.ผลิตบุคลากรเพิ่มขึ้น โดยร่วมมือกับสถาบันต่างๆ อย่างสธ.มีสถาบันพระบรมราชชนกในการดูแลผลิตบุคลากร ให้สอดคล้องกับความต้องการของกระทรวงสาธารณสุข

 

2. ทำอย่างไรให้บุคลากรอยู่ในระบบมากขึ้นโดยไม่ต้องลาออก ทั้งดูเรื่องต่างๆ คือ ค่าตอบแทน ความก้าวหน้า ก็ต้องยอมรับว่าภาคเอกชนดึงดูดให้บุคลากรของเราไปอยู่เอกชนมากขึ้น จริงๆไม่ได้กังวลเรื่องภาคเอกชนเพราะสุดท้ายเขาก็ดูแลประชาชนเหมือนกันดังนั้นเราต้องจัดการบริการให้สมดุลกัน เพราะ การที่ภาครัฐจะไปตั้งค่าตอบแทนให้เท่ากับเอกชนคงเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากภาครัฐก็มีข้อจำกัดเนื่องจากภาครัฐก็มีข้อจำกัดหลายอย่าง แต่เราพยายามดูแลให้ค่าตอบแทนไม่ให้ห่างจากภาคเอกชนเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มค่าตอบแทนเพิ่มในเรื่องของวิชาชีพเฉพาะ เรื่องค่าอยู่เวร เป็นต้น ที่ผ่านมาบุคลากรในหลากหลายวิชาชีพก็ค่อนข้างพอใจ

 

เรื่องสวัสดิการยังบุคลากรไปอยู่ในพื้นที่ห่างไกลก็จะมีสวัสดิการเรื่องบ้านพัก ซึ่งปีนี้มีบ้านพักให้กับบุคลากรเบื้องต้นตั้งเป้าไว้ 10,000 ยูนิต ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างทยอยลงนามก่อสร้าง ส่วนความก้าวหน้าที่มีปัญหามากที่สุดคือพยาบาล เนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นก็จะถูกจำกัดเนื่องจากเมื่ออายุมากขึ้นก็จะถูกจำกัดด้วยกรอบทางการเงินและกรอบตำแหน่งของบุคลากร ขณะนี้ได้ความกรุณาจากสำนักงาน ก.พ.และครม.เห็นชอบการเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นชำนาญการพิเศษ หรือซี8 ราว 1 หมื่นอัตราแล้ว นี่จะเป็นขวัญกำลังใจอย่างดีนี่จะเป็นขวัญกำลังใจอย่างดีทำให้บุคลากรของเราอยู่ในระบบมากขึ้น รวมถึงตำแหน่งรวมถึงตำแหน่งว่างต่างๆก็พยายามจัดสรรไปยังหน่วยบริการที่ขาดแคลน

 

"พยาบาลก็เป็นกลุ่มนึงที่ช่วยเรื่องภาระงานของแพทย์ได้เพราะถ้าไม่มีพยาบาลแพทย์ก็จะต้องมีภาระงานเพิ่มขึ้น" ปลัดสธ.กล่าว

 

ประเด็นสุดท้าย คือ ทำอย่างไรให้ภาระงานลดลงซึ่งเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นจึงต้องมามองว่าจะทำอย่างไรให้ภาระงานสอดคล้องกับบุคลากรที่มี ส่วนเรื่องอื่นๆเป็นเหตุผลส่วนตัว ซึ่งคงห้ามไม่ได้เช่นเรื่องของครอบครัวพ่อแม่ เป็นต้น

 

ส่วนเรื่องแยกออกจากก.พ.นั้นก็เป็นอีกทางเลือกที่ต้องมีการศึกษรต่อไป  เนื่องจากมีทั้งข้อดีข้อเสียจึงต้องพิจารณาภาพรวมทั้งหมด

ข่าวเกี่ยวข้อง : สธ.ชูแนวทางแก้ปัญหาระยะยาว กรณี รพ.อุ้มผาง หรือรพ.ชายแดน ใช้แพทย์จบใหม่หมุนเวียนงาน 3-4 เดือน